1. วันที่ 25 กันยายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์นโยบายอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1.1 ในภาวะเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวยังเปราะบางและไม่ครอบคลุมในวงกว้าง ประกอบกับอัตรา เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ธปท. จึงดำเนินการเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันให้อยู่ในระดับต่ำคือร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของระบบธนาคารโน้มลดลง ตามลำดับ นับจาก ครึ่งหลังของปี 2541 เป็นต้นมา และปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.75 ต่อปี และ ร้อยละ 3.0 ต่อปีตามลำดับ
1.2 ผลกระทบของนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้ายมีสาเหตุสำคัญจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมิใช่ดอกเบี้ยระยะสั้น และอัตรา ดอกเบี้ยระยะยาวเงินบาทแทบไม่แตกต่างจาก ต่างประเทศ ดังนั้นการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงมิได้เป็นตัวเร่งปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้าย ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเงินบาท ของไทยจะต่ำกว่า ต่างประเทศมาก ธปท.ก็มีกฎระเบียบห้ามมิให้นำเงินออกไปหาประโยชน์ส่วนต่างดอกเบี้ยในต่างประเทศ ส่วนด้านธนาคารพาณิชย์ก็มีระเบียบคุมยอดเกินดุลสุทธิในฐานะต่างประเทศเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนของแต่ละธนาคาร
ผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน จากการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลงอัตราเพิ่มการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอดอาทิ อัตราเพิ่มยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีแนวโน้มดีขึ้น การขยายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
รายย่อย สินเชื่ออุปโภคบริโภค และสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเดิมหดตัวในอัตราสูงได้ชะลอการหดตัวลง แสดง ให้เห็นว่ามีการปล่อยสินเชื่อใหม่มากขึ้น
ผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง ช่วยทำให้บรรยากาศในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ดีขึ้น และ เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการประนอมหนี้ของธุรกิจ
ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ มิได้สูงเท่าใดนักและกลับติดลบในช่วงปี 2541 เนื่องจาก (1) จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับสูง และ (2) ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในระดับสูงตามอายุของเงินฝาก สำหรับส่วนต่างล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2543 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 1.28 ต่อปี นั้น ก็ยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ตกประมาณร้อยละ 2 — 2.75 ของเงินฝาก
1.3 ผลกระทบหากขึ้นดอกเบี้ย ประกอบด้วย (1) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รายใหม่ (NEW NPL)อาจเร่งตัวขึ้น (2) ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วกลับมาเป็น NPL (Re-entry) อาจเร่งตัวขึ้น (3) การเจรจา NPL อาจชะงัก (4) ชะลอการลงทุนโครงการใหม่ และ (5) เพิ่มภาระดอกเบี้ยแก่รัฐบาลและเอกชน
1.4 มาตรการต่อไป ประกอบด้วย (1) กระตุ้นการแข่งขันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง (2) สร้างเครื่องมือช่วยการพิจารณา สินเชื่อและการเจรจาหนี้ อาทิ Credit Bureau (3) เร่งการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และลด NPL โดยการหาวิธีเร่งรัดกระบวนการทางศาล และ (4) เพิ่มทางเลือกในการออมแก่ประชาชน ทั้งในรูปตราสารหนี้ กองทุนรวม พันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาลโดยให้ primary dealer ของ ธปท. มีหน้าที่พัฒนาตลาด ผู้ลงทุนรายย่อยควบคู่ไปด้วย
2. วันที่ 18 กันยายน 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี2543 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรกโดยมีภาคการ ส่งออกเป็นปัจจัยนำที่สำคัญรวมทั้งมีการผลิตเพื่อสะสมสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทย ในช่วงครึ่งแรกของปีขยายตัวร้อยละ 5.9 สูงกว่า ร้อยละ 1.3 ของครึ่งแรกปีก่อน โดยภาคการผลิต มีการขยายตัวทั้งในสาขาเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ ขณะที่สาขาการก่อสร้างและการเงิน การธนาคารปรับตัวลดลง ส่วนการใช้จ่ายครัวเรือน ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัวสูงและการลงทุนภาคเอกชน มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะการใช้จ่ายของ ครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีมาก ส่งผลให้การสะสมสินค้าคงคลังสูงขึ้น
3. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะเวลา14 วันในตลาดซื้อคืนไว้ในอัตราเดิม คือร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายคือ ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคา น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลง
4. วันที่ 4 กันยายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานสรุปยอดคงค้าง NPL ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ทั้งสิ้น 1,597.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.28 ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงสุทธิ 18.5 พันล้านบาท จากสิ้นเดือนก่อน ดังรายละเอียด
หน่วย : พันล้านบาท
1. NPL คงค้าง ณ ก.ค. 43 1,615.9 2. NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. 43
2.1 จำนวนใหม่ 23.6
2.2 รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.1 41.7
3. NPL ที่ลดลง
3.1 ปรับโครงสร้างหนี้ (45.6)
3.2 เหตุผลอื่น (14.6) (60.2) 4. NPL ลดลงสุทธิ (18.5) 5. NPL คงค้าง ณ ก.ค. 43 1,597.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1.1 ในภาวะเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวยังเปราะบางและไม่ครอบคลุมในวงกว้าง ประกอบกับอัตรา เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ธปท. จึงดำเนินการเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันให้อยู่ในระดับต่ำคือร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของระบบธนาคารโน้มลดลง ตามลำดับ นับจาก ครึ่งหลังของปี 2541 เป็นต้นมา และปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.75 ต่อปี และ ร้อยละ 3.0 ต่อปีตามลำดับ
1.2 ผลกระทบของนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้ายมีสาเหตุสำคัญจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวมิใช่ดอกเบี้ยระยะสั้น และอัตรา ดอกเบี้ยระยะยาวเงินบาทแทบไม่แตกต่างจาก ต่างประเทศ ดังนั้นการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงมิได้เป็นตัวเร่งปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้าย ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเงินบาท ของไทยจะต่ำกว่า ต่างประเทศมาก ธปท.ก็มีกฎระเบียบห้ามมิให้นำเงินออกไปหาประโยชน์ส่วนต่างดอกเบี้ยในต่างประเทศ ส่วนด้านธนาคารพาณิชย์ก็มีระเบียบคุมยอดเกินดุลสุทธิในฐานะต่างประเทศเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนของแต่ละธนาคาร
ผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน จากการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลงอัตราเพิ่มการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอดอาทิ อัตราเพิ่มยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีแนวโน้มดีขึ้น การขยายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
รายย่อย สินเชื่ออุปโภคบริโภค และสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเดิมหดตัวในอัตราสูงได้ชะลอการหดตัวลง แสดง ให้เห็นว่ามีการปล่อยสินเชื่อใหม่มากขึ้น
ผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง ช่วยทำให้บรรยากาศในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ดีขึ้น และ เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการประนอมหนี้ของธุรกิจ
ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ มิได้สูงเท่าใดนักและกลับติดลบในช่วงปี 2541 เนื่องจาก (1) จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับสูง และ (2) ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในระดับสูงตามอายุของเงินฝาก สำหรับส่วนต่างล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2543 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 1.28 ต่อปี นั้น ก็ยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ตกประมาณร้อยละ 2 — 2.75 ของเงินฝาก
1.3 ผลกระทบหากขึ้นดอกเบี้ย ประกอบด้วย (1) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รายใหม่ (NEW NPL)อาจเร่งตัวขึ้น (2) ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วกลับมาเป็น NPL (Re-entry) อาจเร่งตัวขึ้น (3) การเจรจา NPL อาจชะงัก (4) ชะลอการลงทุนโครงการใหม่ และ (5) เพิ่มภาระดอกเบี้ยแก่รัฐบาลและเอกชน
1.4 มาตรการต่อไป ประกอบด้วย (1) กระตุ้นการแข่งขันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลง (2) สร้างเครื่องมือช่วยการพิจารณา สินเชื่อและการเจรจาหนี้ อาทิ Credit Bureau (3) เร่งการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และลด NPL โดยการหาวิธีเร่งรัดกระบวนการทางศาล และ (4) เพิ่มทางเลือกในการออมแก่ประชาชน ทั้งในรูปตราสารหนี้ กองทุนรวม พันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาลโดยให้ primary dealer ของ ธปท. มีหน้าที่พัฒนาตลาด ผู้ลงทุนรายย่อยควบคู่ไปด้วย
2. วันที่ 18 กันยายน 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี2543 ขยายตัวร้อยละ 6.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรกโดยมีภาคการ ส่งออกเป็นปัจจัยนำที่สำคัญรวมทั้งมีการผลิตเพื่อสะสมสินค้าคงคลังมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจไทย ในช่วงครึ่งแรกของปีขยายตัวร้อยละ 5.9 สูงกว่า ร้อยละ 1.3 ของครึ่งแรกปีก่อน โดยภาคการผลิต มีการขยายตัวทั้งในสาขาเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ ขณะที่สาขาการก่อสร้างและการเงิน การธนาคารปรับตัวลดลง ส่วนการใช้จ่ายครัวเรือน ขยายตัวในอัตราชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังขยายตัวสูงและการลงทุนภาคเอกชน มีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภาวะการใช้จ่ายของ ครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีมาก ส่งผลให้การสะสมสินค้าคงคลังสูงขึ้น
3. การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะเวลา14 วันในตลาดซื้อคืนไว้ในอัตราเดิม คือร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือการส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ขณะที่แนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายคือ ต่ำกว่าร้อยละ 5 ต่อปี แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคา น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนตัวลง
4. วันที่ 4 กันยายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานสรุปยอดคงค้าง NPL ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ทั้งสิ้น 1,597.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.28 ของสินเชื่อรวม ซึ่งลดลงสุทธิ 18.5 พันล้านบาท จากสิ้นเดือนก่อน ดังรายละเอียด
หน่วย : พันล้านบาท
1. NPL คงค้าง ณ ก.ค. 43 1,615.9 2. NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. 43
2.1 จำนวนใหม่ 23.6
2.2 รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.1 41.7
3. NPL ที่ลดลง
3.1 ปรับโครงสร้างหนี้ (45.6)
3.2 เหตุผลอื่น (14.6) (60.2) 4. NPL ลดลงสุทธิ (18.5) 5. NPL คงค้าง ณ ก.ค. 43 1,597.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-