กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันนี้ (16 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์นว่า วันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ในระหว่าง การประชุม Human Security ที่นคร Luzern ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้พบปะเจรจากับนาง Benita Ferrero-Waldner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ออสเตรียสรุปผลการเจรจาได้ดังนี้
1. เรื่องทั่วไป ดร. สุรินทร์ฯ ได้ฝากความระลึกผ่านนาง Ferrero-Waldner ถึงนายกรัฐมนตรีของ ออสเตรีย เนื่องจากได้มีโอกาสพบที่ ฟิลิปปินส์เมื่อปี 1998 โดยนาง Ferrero-Waldner แจ้งว่า ตนมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีของออสเตรียและ จะนำเรียนความระลึกถึงของ ดร.สุรินทร์ฯ ให้นายกรัฐมนตรีของออสเตรียทราบ
2. การติดต่อระหว่าง ASEAN Regional Forum (ARF) กับ Organization for Security Cooperation in Europe (OSCE) ดร.สุรินทร์ฯ แจ้งว่า ในฐานะประธาน ARF ซึ่งได้รับ mandate จากที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี ARF ที่สิงคโปร์เมื่อปี 1999 ในการเสริมสร้างการติดต่อกับองค์การระหว่างประเทศอื่น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการติดต่อกับ Organization of American States (OAS) แล้ว ในการพบเจรจาครั้งนี้จึงขอแจ้งความสนใจที่จะมีการติดต่อกับ OSCE และในเดือนมิถุนายนนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนพิเศษของตนเดินทางไปเจรจา ติดตามผลที่ ออสเตรีย
นาง Ferrero-Waldner แจ้งว่า ตนได้รับทราบความสนใจของ ARF ที่ประสงค์จะมีการติดต่อกับ OSCE บ้างแล้ว ซึ่งตน เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การทั้งสองและโดยส่วนตัวแล้ว จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก OSCE มีหลักการทำงานโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกทั้งหมด (consensus) ดังนั้น ตนจึงขอรับ จะไปหารือกับประเทศสมาชิกต่อไป ทั้งนี้ มีความยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศที่จะเดินทางเยือนออสเตรีย
3. การสมัครเข้าเป็น Partner for Cooperation ใน OSCE ของไทย
ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีบทบาทและกิจกรรมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงประสงค์ จะสมัครเข้าเป็น Partner for Cooperation ของ OSCE เช่นเดียวกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นาง Ferrero-Waldner แนะนำให้ไทยเริ่มต้นด้วยการเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) ของ OSCE ก่อน
4. การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
นาง Ferrero-Waldner กล่าวว่า ออสเตรียและไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในการนี้ จึงขอเชิญให้ ดร.สุรินทร์ฯ เดินทางไปเยือนออสเตรียอย่างเป็นทางการ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ฯ ได้ตอบขอบคุณและได้เชิญ นาง Ferrero-Waldner ให้เดินทางไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการเช่นกัน 5. กิจกรรมและโครงการด้านสิทธิมนุษยชน
ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีกิจกรรมและโครงการด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เอเชียตะวันออก เฉียงใต้มากมาย ทั้งนี้ ในระดับ ASEAN และโครงการของประเทศในภูมิภาคแต่ละประเทศ จึงประสงค์ จะขอความร่วมมือจากออสเตรียและ OSCE
นาง Ferrero-Waldner แสดงความสนใจและตอบรับจะให้ ความร่วมมือโดยขอเชิญให้ไทยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปศึกษาด้าน Human Rights Education
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ในวันนี้ (16 พฤษภาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์นว่า วันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ในระหว่าง การประชุม Human Security ที่นคร Luzern ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้พบปะเจรจากับนาง Benita Ferrero-Waldner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ออสเตรียสรุปผลการเจรจาได้ดังนี้
1. เรื่องทั่วไป ดร. สุรินทร์ฯ ได้ฝากความระลึกผ่านนาง Ferrero-Waldner ถึงนายกรัฐมนตรีของ ออสเตรีย เนื่องจากได้มีโอกาสพบที่ ฟิลิปปินส์เมื่อปี 1998 โดยนาง Ferrero-Waldner แจ้งว่า ตนมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีของออสเตรียและ จะนำเรียนความระลึกถึงของ ดร.สุรินทร์ฯ ให้นายกรัฐมนตรีของออสเตรียทราบ
2. การติดต่อระหว่าง ASEAN Regional Forum (ARF) กับ Organization for Security Cooperation in Europe (OSCE) ดร.สุรินทร์ฯ แจ้งว่า ในฐานะประธาน ARF ซึ่งได้รับ mandate จากที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี ARF ที่สิงคโปร์เมื่อปี 1999 ในการเสริมสร้างการติดต่อกับองค์การระหว่างประเทศอื่น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการติดต่อกับ Organization of American States (OAS) แล้ว ในการพบเจรจาครั้งนี้จึงขอแจ้งความสนใจที่จะมีการติดต่อกับ OSCE และในเดือนมิถุนายนนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนพิเศษของตนเดินทางไปเจรจา ติดตามผลที่ ออสเตรีย
นาง Ferrero-Waldner แจ้งว่า ตนได้รับทราบความสนใจของ ARF ที่ประสงค์จะมีการติดต่อกับ OSCE บ้างแล้ว ซึ่งตน เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การทั้งสองและโดยส่วนตัวแล้ว จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก OSCE มีหลักการทำงานโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกทั้งหมด (consensus) ดังนั้น ตนจึงขอรับ จะไปหารือกับประเทศสมาชิกต่อไป ทั้งนี้ มีความยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศที่จะเดินทางเยือนออสเตรีย
3. การสมัครเข้าเป็น Partner for Cooperation ใน OSCE ของไทย
ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ประเทศไทยได้มีบทบาทและกิจกรรมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงประสงค์ จะสมัครเข้าเป็น Partner for Cooperation ของ OSCE เช่นเดียวกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นาง Ferrero-Waldner แนะนำให้ไทยเริ่มต้นด้วยการเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) ของ OSCE ก่อน
4. การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
นาง Ferrero-Waldner กล่าวว่า ออสเตรียและไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในการนี้ จึงขอเชิญให้ ดร.สุรินทร์ฯ เดินทางไปเยือนออสเตรียอย่างเป็นทางการ ซึ่ง ดร.สุรินทร์ฯ ได้ตอบขอบคุณและได้เชิญ นาง Ferrero-Waldner ให้เดินทางไปเยือนไทยอย่างเป็นทางการเช่นกัน 5. กิจกรรมและโครงการด้านสิทธิมนุษยชน
ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีกิจกรรมและโครงการด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เอเชียตะวันออก เฉียงใต้มากมาย ทั้งนี้ ในระดับ ASEAN และโครงการของประเทศในภูมิภาคแต่ละประเทศ จึงประสงค์ จะขอความร่วมมือจากออสเตรียและ OSCE
นาง Ferrero-Waldner แสดงความสนใจและตอบรับจะให้ ความร่วมมือโดยขอเชิญให้ไทยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปศึกษาด้าน Human Rights Education
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-