กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture: USDA) ได้รายงานสถานการณ์ด้านประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของจีนในปี 2543 ไว้ใน GAIN Report
ฉบับประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2544 โดยเนื้อหาของรายงานที่จัดทำครอบคลุมสถานการณ์ด้านการผลิต การบริโภค การค้า การตลาดสำหรับสินค้าประมง ตลอดจนนโยบายด้านการประมงของจีน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- การผลิต ผลผลิตสัตว์น้ำของจีนในปี 2543 มีทั้งสิ้น 42.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปี 2542 ในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยง 25.4 ล้านตัน และจากแหล่งธรรมชาติ 17.4 ล้านตัน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 59:41 ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายอัตราส่วนผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเทียบกับผลผลิตจากแหล่งธรรมชาติที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ประมาณร้อยละ 60:40 นอกจากนี้ กฎหมายประมงฉบับใหม่ของจีนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 เน้นให้ความสำคัญกับการทำประมงด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเป็นหลักและเริ่มลดความสำคัญของการทำประมงจากแหล่งธรรมชาติลง โดยกำหนดอัตราขยายตัวของการทำประมงที่ได้จากแหล่งธรรมชาติทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มไว้ที่ร้อยละ 0 ต่อปี
- การบริโภค มาตรฐานการครองชีพของชาวจีนที่สูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารทะเลสดซึ่งปกติมักมีราคาสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น สำหรับสาระสำคัญของการบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงของจีนมีดังนี้ ปริมาณการบริโภค
- ชาวจีนในเขตเมืองบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงเพิ่มขึ้นจากคนละ 10.3 กิโลกรัมในปี 2542 เป็น 11.7 กิโลกรัมในปี 2543
- ชาวจีนในพื้นที่ชนบทบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงในปริมาณที่ต่ำกว่าในเขตเมือง กล่าวคือ มีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยคนละ 3.8 กิโลกรัมในปี 2542 เพิ่มเป็น 3.9 กิโลกรัมในปี 2543
- ชาวจีนบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงเฉลี่ยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากคนละ 5.8 กิโลกรัมในปี 2542 เป็น 6.7 กิโลกรัมในปี 2543 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นเฉลี่ยคนละ 7.8 กิโลกรัมในปี 2544 รสนิยมการบริโภค
- ชาวจีนนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงจากแหล่งน้ำเค็มมากกว่าแหล่งน้ำจืด
- ผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในจีน คือ ผลิตภัณฑ์ประมงกึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประมงพร้อมบริโภคเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ในปัจจุบันที่ต้องการประหยัดเวลาในการเตรียมอาหาร
- ผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าควบคู่ไปกับรสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
- การค้า ปริมาณการค้าผลิตภัณฑ์ประมงของจีนในปี 2543 มีทั้งสิ้น 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 42.3 ในจำนวนนี้ประกอบด้วยปริมาณนำเข้าประมาณ 1.3 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 99.9) และปริมาณส่งออกประมาณ 1.5 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 14.6)
- การนำเข้า
- สินค้าประมงสำคัญที่จีนนำเข้ามากที่สุด คือ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง รองลงมา คือ สินค้าประเภทหอยและสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้งหรือปู
- แหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของจีน ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และไทย
- การนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อแปรรูปและส่งออกต่อ ขณะที่การนำเข้าเพื่อใช้บริโภคในประเทศยังมีไม่มากนัก เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูง
การส่งออก
- ผลิตภัณฑ์ประมงเพื่อการส่งออกที่สำคัญของจีน ได้แก่ ปลาไหล (ทั้งที่มีชีวิต แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป) ปลาหมึกกระดอง (แช่แข็งและแปรรูป) เนื้อปลาแล่ และกุ้ง โดยผลิตภัณฑ์กุ้งและปลาไหลส่งออกส่วนใหญ่ได้จากการจับหรือการเพาะเลี้ยงในจีน ขณะที่เนื้อปลาแล่ส่วนใหญ่ได้จากการนำเข้าเป็นสำคัญ
- ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของจีน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ
- การตลาด งานแสดงสินค้าเป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญสำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของจีน โดยบริษัทผู้ค้าอาหารทะเลหรือบริษัทแปรรูปอาหารทะเลในจีนนิยมทำธุรกิจกับชาวเอเชียด้วยกัน อาทิ เกาหลีและญี่ปุ่น เนื่องจากคู่ค้าในประเทศดังกล่าวมักให้ข้อเสนอเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระเงินดีกว่าคู่ค้าจากประเทศอื่น นอกจากนี้ คู่ค้าจากเกาหลีและญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการทำการค้ากับจีนโดยใช้พนักงานที่สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาจีนได้
- นโยบายด้านการประมง กฎหมายประมงฉบับใหม่ของจีนที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ได้ให้อำนาจแก่หน่วยงานของรัฐทั้งในเขตเทศบาลและในเขตจังหวัดในการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศ กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมงของจีนควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การควบคุมจำนวนเรือจับปลาในเขตน่านน้ำเศรษฐกิจ (Exclusive Economic Zone: EEZ) การกำหนดระยะเวลาห้ามทำการประมงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกันยายนในเขตน่านน้ำทะเลจีน 4 แห่ง คือ Bohai Sea, East China Sea, Yellow Sea และ South China Sea ตลอดจนการกำหนดให้ใช้เครื่องมือจับปลาที่เหมาะสมกับการทำประมง เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-
ฉบับประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2544 โดยเนื้อหาของรายงานที่จัดทำครอบคลุมสถานการณ์ด้านการผลิต การบริโภค การค้า การตลาดสำหรับสินค้าประมง ตลอดจนนโยบายด้านการประมงของจีน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- การผลิต ผลผลิตสัตว์น้ำของจีนในปี 2543 มีทั้งสิ้น 42.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปี 2542 ในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยง 25.4 ล้านตัน และจากแหล่งธรรมชาติ 17.4 ล้านตัน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 59:41 ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายอัตราส่วนผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเทียบกับผลผลิตจากแหล่งธรรมชาติที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ที่ประมาณร้อยละ 60:40 นอกจากนี้ กฎหมายประมงฉบับใหม่ของจีนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 เน้นให้ความสำคัญกับการทำประมงด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเป็นหลักและเริ่มลดความสำคัญของการทำประมงจากแหล่งธรรมชาติลง โดยกำหนดอัตราขยายตัวของการทำประมงที่ได้จากแหล่งธรรมชาติทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มไว้ที่ร้อยละ 0 ต่อปี
- การบริโภค มาตรฐานการครองชีพของชาวจีนที่สูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารทะเลสดซึ่งปกติมักมีราคาสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น สำหรับสาระสำคัญของการบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงของจีนมีดังนี้ ปริมาณการบริโภค
- ชาวจีนในเขตเมืองบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงเพิ่มขึ้นจากคนละ 10.3 กิโลกรัมในปี 2542 เป็น 11.7 กิโลกรัมในปี 2543
- ชาวจีนในพื้นที่ชนบทบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงในปริมาณที่ต่ำกว่าในเขตเมือง กล่าวคือ มีปริมาณการบริโภคเฉลี่ยคนละ 3.8 กิโลกรัมในปี 2542 เพิ่มเป็น 3.9 กิโลกรัมในปี 2543
- ชาวจีนบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงเฉลี่ยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากคนละ 5.8 กิโลกรัมในปี 2542 เป็น 6.7 กิโลกรัมในปี 2543 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นเฉลี่ยคนละ 7.8 กิโลกรัมในปี 2544 รสนิยมการบริโภค
- ชาวจีนนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงจากแหล่งน้ำเค็มมากกว่าแหล่งน้ำจืด
- ผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในจีน คือ ผลิตภัณฑ์ประมงกึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประมงพร้อมบริโภคเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ในปัจจุบันที่ต้องการประหยัดเวลาในการเตรียมอาหาร
- ผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าควบคู่ไปกับรสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น
- การค้า ปริมาณการค้าผลิตภัณฑ์ประมงของจีนในปี 2543 มีทั้งสิ้น 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 42.3 ในจำนวนนี้ประกอบด้วยปริมาณนำเข้าประมาณ 1.3 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 99.9) และปริมาณส่งออกประมาณ 1.5 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 14.6)
- การนำเข้า
- สินค้าประมงสำคัญที่จีนนำเข้ามากที่สุด คือ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง รองลงมา คือ สินค้าประเภทหอยและสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้งหรือปู
- แหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของจีน ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และไทย
- การนำเข้าผลิตภัณฑ์ประมงส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อแปรรูปและส่งออกต่อ ขณะที่การนำเข้าเพื่อใช้บริโภคในประเทศยังมีไม่มากนัก เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูง
การส่งออก
- ผลิตภัณฑ์ประมงเพื่อการส่งออกที่สำคัญของจีน ได้แก่ ปลาไหล (ทั้งที่มีชีวิต แช่เย็นแช่แข็ง และแปรรูป) ปลาหมึกกระดอง (แช่แข็งและแปรรูป) เนื้อปลาแล่ และกุ้ง โดยผลิตภัณฑ์กุ้งและปลาไหลส่งออกส่วนใหญ่ได้จากการจับหรือการเพาะเลี้ยงในจีน ขณะที่เนื้อปลาแล่ส่วนใหญ่ได้จากการนำเข้าเป็นสำคัญ
- ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของจีน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ
- การตลาด งานแสดงสินค้าเป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญสำหรับผู้นำเข้าและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงของจีน โดยบริษัทผู้ค้าอาหารทะเลหรือบริษัทแปรรูปอาหารทะเลในจีนนิยมทำธุรกิจกับชาวเอเชียด้วยกัน อาทิ เกาหลีและญี่ปุ่น เนื่องจากคู่ค้าในประเทศดังกล่าวมักให้ข้อเสนอเกี่ยวกับเงื่อนไขการชำระเงินดีกว่าคู่ค้าจากประเทศอื่น นอกจากนี้ คู่ค้าจากเกาหลีและญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการทำการค้ากับจีนโดยใช้พนักงานที่สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาจีนได้
- นโยบายด้านการประมง กฎหมายประมงฉบับใหม่ของจีนที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ได้ให้อำนาจแก่หน่วยงานของรัฐทั้งในเขตเทศบาลและในเขตจังหวัดในการบังคับใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศ กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมงของจีนควบคู่ไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การควบคุมจำนวนเรือจับปลาในเขตน่านน้ำเศรษฐกิจ (Exclusive Economic Zone: EEZ) การกำหนดระยะเวลาห้ามทำการประมงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกันยายนในเขตน่านน้ำทะเลจีน 4 แห่ง คือ Bohai Sea, East China Sea, Yellow Sea และ South China Sea ตลอดจนการกำหนดให้ใช้เครื่องมือจับปลาที่เหมาะสมกับการทำประมง เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-