กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งการประชุมเตรียมการที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี คณะผู้แทนไทยประกอบด้วย ฯพณฯ นายเดช บุญหลง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ประชุมรับทราบถ้อยแถลงของ Dato'Seri Abdullah Ahmad Badawi รองนายก รัฐมนตรีของมาเลเซีย ซึ่งได้กล่าวเปิดประชุม โดยสรุปว่า ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคกำลังเผชิญกับ ผลกระทบของโลกาภิวัติน์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของประเทศสมาชิก อาเซียน ในขณะที่ประเทศอาเซียนต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology-ICT) การค้าเสรี และการผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ ประเทศอาเซียนจะต้องเตรียมพร้อมที่จะรับกับสิ่งท้าทายต่างๆ และมีแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น กล่าวคือต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพของแรงงาน โดยปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) ให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ (training and retraining) ตลอดจนต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและองค์กรลูกจ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานอาเซียนสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมของโลกได้
ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการดำเนินงานด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง โดยให้มี การหารือระหว่างกันมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการจัดทำโครงการและนโยบายเพื่อให้เกิดการจ้างงาน โดยเน้นแรงงานที่อยู่ในความต้องการของตลาดและการให้แรงงานได้รับการฝึกอบรม อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อาทิ เรียกร้องให้ ILO ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้การดำเนินการตามสัตยาบันบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ และขอให้ ILO พิจารณาทบทวนการจัดทำมาตรฐานแรงงานและ กลไกการตรวจสอบให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิก โดยให้ความสำคัญต่อกลไกที่มีความโปร่งใส มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และเอื้อประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก
ที่ประชุมยังได้แสดงความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ตกต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบ โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ที่ประชุมรับทราบพัฒนาการเกี่ยวกับการห้ามใช้แรงงานบังคับในพม่า ทั้งนี้ รัฐบาลพม่า ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทางด้านกฎหมาย การบริหารและการจัดการ รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับชาติเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาเกี่ยวกับแรงงานบังคับ ฉบับที่ 29 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ขอให้ ILO รับทราบถึงความพยายามของรัฐบาลพม่าในเรื่องดังกล่าว
สำหรับการหารือระหว่างรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี นั้น ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านแรงงานและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ประชุมยังประสงค์ที่จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานในเวที ระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
มาเลเซียได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งการประชุมเตรียมการที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2544 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ การประชุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี คณะผู้แทนไทยประกอบด้วย ฯพณฯ นายเดช บุญหลง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ประชุมรับทราบถ้อยแถลงของ Dato'Seri Abdullah Ahmad Badawi รองนายก รัฐมนตรีของมาเลเซีย ซึ่งได้กล่าวเปิดประชุม โดยสรุปว่า ปัจจุบันประเทศในภูมิภาคกำลังเผชิญกับ ผลกระทบของโลกาภิวัติน์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของประเทศสมาชิก อาเซียน ในขณะที่ประเทศอาเซียนต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology-ICT) การค้าเสรี และการผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ ประเทศอาเซียนจะต้องเตรียมพร้อมที่จะรับกับสิ่งท้าทายต่างๆ และมีแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้น กล่าวคือต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพของแรงงาน โดยปรับปรุงมาตรฐานการศึกษา สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) ให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ (training and retraining) ตลอดจนต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและองค์กรลูกจ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานอาเซียนสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมของโลกได้
ที่ประชุมได้พิจารณาแผนการดำเนินงานด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง โดยให้มี การหารือระหว่างกันมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการจัดทำโครงการและนโยบายเพื่อให้เกิดการจ้างงาน โดยเน้นแรงงานที่อยู่ในความต้องการของตลาดและการให้แรงงานได้รับการฝึกอบรม อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) อาทิ เรียกร้องให้ ILO ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้การดำเนินการตามสัตยาบันบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ และขอให้ ILO พิจารณาทบทวนการจัดทำมาตรฐานแรงงานและ กลไกการตรวจสอบให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศสมาชิก โดยให้ความสำคัญต่อกลไกที่มีความโปร่งใส มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน และเอื้อประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก
ที่ประชุมยังได้แสดงความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ตกต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบ โดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ที่ประชุมรับทราบพัฒนาการเกี่ยวกับการห้ามใช้แรงงานบังคับในพม่า ทั้งนี้ รัฐบาลพม่า ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ทางด้านกฎหมาย การบริหารและการจัดการ รวมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับชาติเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาเกี่ยวกับแรงงานบังคับ ฉบับที่ 29 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ขอให้ ILO รับทราบถึงความพยายามของรัฐบาลพม่าในเรื่องดังกล่าว
สำหรับการหารือระหว่างรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนกับรัฐมนตรีแรงงานของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี นั้น ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านแรงงานและการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ประชุมยังประสงค์ที่จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานในเวที ระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-