1) เดือนนี้ กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 57,562 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 24,715 ล้านบาท หรือร้อยละ
75.2
ภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ) โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
22,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 240.1 สาเหตุที่ทำให้การจัดเก็บรายได้สูงกว่าปีที่แล้วมากเนื่องจากปีที่แล้วรัฐบาลได้มีมาตรการให้ชะลอการยื่นชำระภาษี
จากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปี 2542 โดยให้มาชำระในเดือนภุมภาพันธ์ 2543 ในขณะที่ปีนี้ให้ยื่นชำระตามปกติ นอกจากนี้ภาษีที่จัดเก็บได้รองลงมา
คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2,039 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและผลกระทบจากมาตรการส่งเสริมการ
ฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ (4 ก.ค. 2543) จึงทำให้จัดเก็บรายได้ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 351 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 24.9
2) ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 (ตุลาคม 2542 - สิงหาคม 2543) กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวมได้ทั้งสิ้น
430,693 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7,751 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3)
ตารางที่ 3
ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร (สิงหาคม 2543)
หน่วย : ล้านบาท
___________________________________________________________________________________________________________________________________________
| เดือนนี้ | ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณถึงเดือนนี้ |
|______________________________________________________|______________________________________________________|
ประเภทรายได้ | ปีปัจจุบัน | ปีก่อน | เปรียบเทียบ | ปีปัจจุบัน | ปีก่อน | เปรียบเทียบ |
| | | จำนวน | ร้อยละ | | | จำนวน | ร้อยละ |
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | 6,949 | 6,794 | 155 | 2.3 | 84,696 | 98,963 | (14,267) | (14.4)|
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล | 32,137 | 9,449 | 22,688 | 240.1 | 140,011 | 103,711 | 36,300 | 35.0 |
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม | 16,943 | 14,904 | 2,039 | 13.7 | 175,898 | 186,704 | (10,806) | (5.8)|
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ | 1,060 | 1,411 | (351) | (24.9) | 16,051 | 19,758 | (3,707) | (18.8)|
5. ภาษีการค้า | 4 | 12 | (8) | (66.7) | 115 | 179 | (64) | (35.8)|
6. อากรแสตมป์ | 269 | 260 | 9 | 3.5 | 3,038 | 2,525 | 513 | 20.3 |
7. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม | 181 | - | 181 | - | 10,659 | 10,858 | (199) | (1.8)|
8. รายได้อื่น | 19 | 17 | 2 | 11.8 | 225 | 244 | (19) | (7.8)|
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
รวมทั้งสิ้น | 57,562 | 32,847 | 24,715 | 75.2 | 430,693 | 422,942 | 7,751 | 1.8 |
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
ที่มา : กรมสรรพากร
รวบรวมโดย : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
--ข่าวกระทรวงการคลัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 86/2543 29 กันยายน 2543--
-อน/สส-
|
75.2
ภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ) โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
22,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 240.1 สาเหตุที่ทำให้การจัดเก็บรายได้สูงกว่าปีที่แล้วมากเนื่องจากปีที่แล้วรัฐบาลได้มีมาตรการให้ชะลอการยื่นชำระภาษี
จากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปี 2542 โดยให้มาชำระในเดือนภุมภาพันธ์ 2543 ในขณะที่ปีนี้ให้ยื่นชำระตามปกติ นอกจากนี้ภาษีที่จัดเก็บได้รองลงมา
คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2,039 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7
ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะ อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและผลกระทบจากมาตรการส่งเสริมการ
ฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ (4 ก.ค. 2543) จึงทำให้จัดเก็บรายได้ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 351 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 24.9
2) ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2543 (ตุลาคม 2542 - สิงหาคม 2543) กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวมได้ทั้งสิ้น
430,693 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7,751 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3)
ตารางที่ 3
ผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร (สิงหาคม 2543)
หน่วย : ล้านบาท
___________________________________________________________________________________________________________________________________________
| เดือนนี้ | ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณถึงเดือนนี้ |
|______________________________________________________|______________________________________________________|
ประเภทรายได้ | ปีปัจจุบัน | ปีก่อน | เปรียบเทียบ | ปีปัจจุบัน | ปีก่อน | เปรียบเทียบ |
| | | จำนวน | ร้อยละ | | | จำนวน | ร้อยละ |
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | 6,949 | 6,794 | 155 | 2.3 | 84,696 | 98,963 | (14,267) | (14.4)|
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล | 32,137 | 9,449 | 22,688 | 240.1 | 140,011 | 103,711 | 36,300 | 35.0 |
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม | 16,943 | 14,904 | 2,039 | 13.7 | 175,898 | 186,704 | (10,806) | (5.8)|
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ | 1,060 | 1,411 | (351) | (24.9) | 16,051 | 19,758 | (3,707) | (18.8)|
5. ภาษีการค้า | 4 | 12 | (8) | (66.7) | 115 | 179 | (64) | (35.8)|
6. อากรแสตมป์ | 269 | 260 | 9 | 3.5 | 3,038 | 2,525 | 513 | 20.3 |
7. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม | 181 | - | 181 | - | 10,659 | 10,858 | (199) | (1.8)|
8. รายได้อื่น | 19 | 17 | 2 | 11.8 | 225 | 244 | (19) | (7.8)|
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
รวมทั้งสิ้น | 57,562 | 32,847 | 24,715 | 75.2 | 430,693 | 422,942 | 7,751 | 1.8 |
_____________________________|_______________|_______________|___________|__________|_______________|_______________|____________|_________|
ที่มา : กรมสรรพากร
รวบรวมโดย : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
--ข่าวกระทรวงการคลัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 86/2543 29 กันยายน 2543--
-อน/สส-
|