ข่าวในประเทศ
1. ธปท. ระบุลูกหนี้ที่ย้อนกลับเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้งส่วนใหญ่เกิดจากสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้เอง ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ใหม่หรือรีเอ็นทรีอีกครั้งนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่สถาบันการเงินดำเนินการเอง และใช้วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพียงอย่างเดียว ซึ่งเมื่อประมาณการที่วางไว้เกี่ยวกับการหมุนเวียนของกระแสเงิน หรือด้านการตลาดของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ จึงส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ได้ง่าย ทำให้กลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วย้อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่มีสัดส่วนน้อยที่ผ่านมามีประมาณ 7,000 ล.บาท จากมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วประมาณ 1 ล้านล้านบาท(กรุงเทพธุรกิจ 26)
2. ธปท. เลื่อนระยะเวลาบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ธปท. ตัดสินใจเลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 ซึ่งกำหนด ธพ. ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดของลูกหนี้แทนการใช้หลักประกัน จากต้นปี 44 เป็นต้นปี 45 ตามที่ ธพ. เสนอขอเลื่อนระยะเวลา เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่กำหนดเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อให้ต้องประเมินและคำนวณหาความเสี่ยง ซึ่ง ธพ.ไม่มีความชำนาญ และอาจส่งผลกระทบให้การปล่อยสินเชื่อลดลงไปอีก สำหรับสาเหตุที่ ธปท.เปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาสินเชื่อของระบบ ธพ.ใหม่ เนื่องจากการขอสินเชื่อที่ผ่านมาใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน และเมื่อมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเสื่อมค่าลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ ธพ.ต้องถือหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่คุ้มมูลหนี้เดิม นอกจากนี้ ธปท.ยังต้องการให้ระบบ ธพ.ดำเนินการตามมาตรฐานสากลที่กำหนด โดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับเปลี่ยนวิธีการกำกับดูแล สถาบันการเงิน ธปท.จะเน้นการกำกับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง การจัดองค์กรแบบธรรมาภิบาล มีคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ เพื่อทำให้องค์กรมีระบบที่ดีมากกว่าการมุ่งแสวงหากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลัก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 26)
3. ที่ปรึกษา รมว.คลังเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดทุน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเมอร์ริลลินธ์ภัทรและที่ปรึกษา รมว.คลัง (นายศุภวุฒิ สายเชื้อ) เปิดเผยถึงแนวทางการกระตุ้นตลาดทุนด้วยการจัดตั้งกองทุนปิดมูลค่า 20,000 ล.บาท เพื่อนำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปีว่า โดยการจัดตั้งกองทุนเป็นรูปแบบการนำภาษีที่จัดเก็บจากประชาชนร้อยละ 50 มาลงทุนในตลาดหุ้น โดยประชาชนที่เสียภาษีสามารถนำเงินเข้าสมทบอีกส่วนหนึ่ง ด้านการบริหารกองทุนจะมีลักษณะเป็นมืออาชีพ โดยรัฐบาลอาจให้ประชาชนเลือกได้ว่าจะลงทุนในบริษัทใด ซึ่งประเมินว่าจะได้รับผลตอบแทนภายใน 5 ปี สอดคล้องกับกระแสความต้องการระดมทุนในประเทศ ตลอดจนช่วยให้บริษัทจดทะเบียนได้เงินทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจเพิ่มมากขึ้น(เดลินิวส์ 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ26 ก.พ.44 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 การค้าปลีกโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 1 ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือน มี.ค.40 และพลิกความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่เคยคาดไว้ว่าจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากอากาศไม่ดี ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวง่ายต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือน ม.ค. 43 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 5.5 ในเดือน ธ.ค.43 ทั้งนี้ ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นได้ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่รัฐบาลได้ขึ้นภาษีการบริโภคเป็นร้อยละ 5 เมื่อเดือน เม.ย.40(รอยเตอร์26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ23 ก.พ.44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.44 จะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.2 จากเดือน ธ.ค.43 ต่ำกว่าที่ ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ0.7 เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ได้ฉุดรั้งการขยายตัวของผลผลิตฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า เมื่อคิดเป็นรายไตรมาส (ม.ค.-มี.ค.44) ผลผลิตอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน และเห็นว่าการอ่อนตัวลงของผลผลิตดังกล่าวนั้น มีสาเหตุจากบริษัทผู้ผลิตต่างๆ กำลังพยายามลดสินค้าคงคลังที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์เพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในระยะยาว(รอยเตอร์ 23)
3. เดือน ม.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 23ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือน ธ.ค. 43 ที่ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 43 ในวันเดียวกัน สำนักงานสถิติฯ รายงานว่า เดือน ก.พ. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค ก่อนปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 6 ปี และเกื้อหนุนแนวคิดว่า ธ.กลางยุโรปจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ชั่วคราว (รอยเตอร์23)
4. ธ. กลางเยอรมนีทบทวนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ23 ก.พ.44 ธ.กลางเยอรมนี (Bundesbank) เปิดเผยว่าได้ทบทวนตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสหกรรมหลังปรับฤดูกาล ในเดือน ธ.ค.43 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบเดือนต่อเดือน จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และเทียบปีต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ขณะเดียวกันได้ปรับตัวเลขการคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเป็นเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับรายงานเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 การปรับเปลี่ยนตัวเลขดังกล่าวสนับสนุนความเห็นที่ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนี จะเติบโตลดลงในเดือนสุดท้ายของปี 43 (รอยเตอร์ 23)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 ก.พ. 44 43.116 (43.058) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 ก.พ. 44ซื้อ 42.9112 (42.7927) ขาย 43.1067 (43.1067)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,250) ขาย 5,400 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.64 (23.66)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ระบุลูกหนี้ที่ย้อนกลับเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้งส่วนใหญ่เกิดจากสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้เอง ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วย้อนกลับมาเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ใหม่หรือรีเอ็นทรีอีกครั้งนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่สถาบันการเงินดำเนินการเอง และใช้วิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพียงอย่างเดียว ซึ่งเมื่อประมาณการที่วางไว้เกี่ยวกับการหมุนเวียนของกระแสเงิน หรือด้านการตลาดของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามที่ประมาณการไว้ จึงส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนของลูกหนี้ได้ง่าย ทำให้กลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกครั้ง สำหรับลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วย้อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่มีสัดส่วนน้อยที่ผ่านมามีประมาณ 7,000 ล.บาท จากมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จไปแล้วประมาณ 1 ล้านล้านบาท(กรุงเทพธุรกิจ 26)
2. ธปท. เลื่อนระยะเวลาบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ธปท. ตัดสินใจเลื่อนระยะเวลาการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 ซึ่งกำหนด ธพ. ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ โดยพิจารณาจากกระแสเงินสดของลูกหนี้แทนการใช้หลักประกัน จากต้นปี 44 เป็นต้นปี 45 ตามที่ ธพ. เสนอขอเลื่อนระยะเวลา เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่กำหนดเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อให้ต้องประเมินและคำนวณหาความเสี่ยง ซึ่ง ธพ.ไม่มีความชำนาญ และอาจส่งผลกระทบให้การปล่อยสินเชื่อลดลงไปอีก สำหรับสาเหตุที่ ธปท.เปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาสินเชื่อของระบบ ธพ.ใหม่ เนื่องจากการขอสินเชื่อที่ผ่านมาใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน และเมื่อมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันเสื่อมค่าลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ ธพ.ต้องถือหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่คุ้มมูลหนี้เดิม นอกจากนี้ ธปท.ยังต้องการให้ระบบ ธพ.ดำเนินการตามมาตรฐานสากลที่กำหนด โดยธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ(บีไอเอส) ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับเปลี่ยนวิธีการกำกับดูแล สถาบันการเงิน ธปท.จะเน้นการกำกับดูแลด้านการบริหารความเสี่ยง การจัดองค์กรแบบธรรมาภิบาล มีคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ เพื่อทำให้องค์กรมีระบบที่ดีมากกว่าการมุ่งแสวงหากำไรจากการดำเนินงานเป็นหลัก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 26)
3. ที่ปรึกษา รมว.คลังเสนอแนวทางการพัฒนาตลาดทุน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเมอร์ริลลินธ์ภัทรและที่ปรึกษา รมว.คลัง (นายศุภวุฒิ สายเชื้อ) เปิดเผยถึงแนวทางการกระตุ้นตลาดทุนด้วยการจัดตั้งกองทุนปิดมูลค่า 20,000 ล.บาท เพื่อนำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปีว่า โดยการจัดตั้งกองทุนเป็นรูปแบบการนำภาษีที่จัดเก็บจากประชาชนร้อยละ 50 มาลงทุนในตลาดหุ้น โดยประชาชนที่เสียภาษีสามารถนำเงินเข้าสมทบอีกส่วนหนึ่ง ด้านการบริหารกองทุนจะมีลักษณะเป็นมืออาชีพ โดยรัฐบาลอาจให้ประชาชนเลือกได้ว่าจะลงทุนในบริษัทใด ซึ่งประเมินว่าจะได้รับผลตอบแทนภายใน 5 ปี สอดคล้องกับกระแสความต้องการระดมทุนในประเทศ ตลอดจนช่วยให้บริษัทจดทะเบียนได้เงินทุนไปใช้หมุนเวียนในธุรกิจเพิ่มมากขึ้น(เดลินิวส์ 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ26 ก.พ.44 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 การค้าปลีกโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 1 ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เดือน มี.ค.40 และพลิกความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่เคยคาดไว้ว่าจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากอากาศไม่ดี ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวง่ายต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือน ม.ค. 43 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 5.5 ในเดือน ธ.ค.43 ทั้งนี้ ยอดการค้าปลีกของญี่ปุ่นได้ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่รัฐบาลได้ขึ้นภาษีการบริโภคเป็นร้อยละ 5 เมื่อเดือน เม.ย.40(รอยเตอร์26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นอาจเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ23 ก.พ.44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.44 จะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.2 จากเดือน ธ.ค.43 ต่ำกว่าที่ ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ0.7 เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ได้ฉุดรั้งการขยายตัวของผลผลิตฯ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า เมื่อคิดเป็นรายไตรมาส (ม.ค.-มี.ค.44) ผลผลิตอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน และเห็นว่าการอ่อนตัวลงของผลผลิตดังกล่าวนั้น มีสาเหตุจากบริษัทผู้ผลิตต่างๆ กำลังพยายามลดสินค้าคงคลังที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุการณ์เพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในระยะยาว(รอยเตอร์ 23)
3. เดือน ม.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 23ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เทียบต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือน ธ.ค. 43 ที่ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 43 ในวันเดียวกัน สำนักงานสถิติฯ รายงานว่า เดือน ก.พ. 44 ดัชนีราคาผู้บริโภค ก่อนปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 6 ปี และเกื้อหนุนแนวคิดว่า ธ.กลางยุโรปจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ชั่วคราว (รอยเตอร์23)
4. ธ. กลางเยอรมนีทบทวนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ23 ก.พ.44 ธ.กลางเยอรมนี (Bundesbank) เปิดเผยว่าได้ทบทวนตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสหกรรมหลังปรับฤดูกาล ในเดือน ธ.ค.43 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบเดือนต่อเดือน จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และเทียบปีต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ขณะเดียวกันได้ปรับตัวเลขการคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเป็นเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับรายงานเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 การปรับเปลี่ยนตัวเลขดังกล่าวสนับสนุนความเห็นที่ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนี จะเติบโตลดลงในเดือนสุดท้ายของปี 43 (รอยเตอร์ 23)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 ก.พ. 44 43.116 (43.058) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 ก.พ. 44ซื้อ 42.9112 (42.7927) ขาย 43.1067 (43.1067)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,250) ขาย 5,400 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.64 (23.66)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-