ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป : เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.1) เนื่องจากปริมาณผลผลิตผักบางชนิดลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน และกะหล่ำปลี ในขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -0.6) ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 0.8) เป็นผลจากการขึ้น ค่าตรวจรักษา และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล รองลงมา ได้แก่หมวดเคหสถาน (ร้อยละ 0.4) และหมวดพาหนะการ ขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.2) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่หมวดย่อยอื่น ๆ ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 1.1 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตจากการประมงลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.5) เนื่องจากปริมาณปลาและสัตว์น้ำเข้าสู่ตลาดมาก อาทิ ปลาอินทรี ปลากระพง ปูและกุ้ง หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -3.3) เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด และน้ำมันเตาลดลง มีผลให้วัตถุพลาสติกบางชนิดราคาลดลง หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียมและ ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 7.6)
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.1) เนื่องจากปริมาณผลผลิตผักบางชนิดลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน และกะหล่ำปลี ในขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -0.6) ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 0.8) เป็นผลจากการขึ้น ค่าตรวจรักษา และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล รองลงมา ได้แก่หมวดเคหสถาน (ร้อยละ 0.4) และหมวดพาหนะการ ขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.2) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่หมวดย่อยอื่น ๆ ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มชะลอตัวลง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนพฤศจิกายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.8 แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 1.1 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตจากการประมงลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.5) เนื่องจากปริมาณปลาและสัตว์น้ำเข้าสู่ตลาดมาก อาทิ ปลาอินทรี ปลากระพง ปูและกุ้ง หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ราคาหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -3.3) เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าด และน้ำมันเตาลดลง มีผลให้วัตถุพลาสติกบางชนิดราคาลดลง หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียมและ ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 7.6)
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-