แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจ
ในเดือนมกราคม 2548 อุปสงค์ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2547 โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยแต่ยังคงลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวอีกครั้งหนึ่ง ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงขณะที่มูลค่าการนำเข้าเร่งตัวขึ้นมาก โดยเฉพาะในหมวดวัตถุดิบและสินค้าทุน ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณของการขายตัวของการผลิตพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และการลงทุนในระยะต่อไป
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง แต่รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวดีจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์และปัจจัยชั่วคราวที่มีการปิดซ่อมโรงงานขนาดใหญ่ในบางอุตสาหกรรม ในภาคบริการ การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากทั้งเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในฝั่งทะเลอันดามัน และเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชิตลดลงมาก
เสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัว อัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่ำและแม้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลจากการเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนนี้ แต่เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและความมั่นใจของนักลงทุนต่อปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยส่งผลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพต่อเนื่อง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(สินค้า 76 รายการ) เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ชะลอลงต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และการอ่อนตัวลงของอุตสหากรรมแผงวงจรในตลาดโลก รวมทั้งความต้องการในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศลดลง ประกอบกับในเดือนนี้มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดปิโตรเลียม อย่างไรก็ดีหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดสิ่งทอยังขยายตัวดี
อัตราการใช้กำลังการผลิต (สินค้า 69 รายการ) ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนนี้มีการขยายกำลังการผลิตในหลายหมวดอุตสาหกรรม เช่น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวร้อยะ 1.2 ในเดือนธันวาคม 2547 โดยเป็นการลดลงตามปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินในประเทศและปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งเป็นหลัก ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 7.4 ในเดือนธันวาคม 2547 โดยมีการขยายตัวของการลงทุนในหมวดการก่อสร้างเป็นปัจจัยสำคัญ
3. ภาคการคลัง ในเดือนมกราคม รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวปีก่อนร้อยละ 15.9 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษี ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 87.8 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานในเดือนนี้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 15.6 พันล้านบาท โดยนำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศจำนวน 12.3 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ในเดือนมกราคม ดุลการค้าขาดดุล 1,475 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากที่เกินดุล 813 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน จากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 9,170 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 33.6เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำมันซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นจากทั้งปัจจัยด้านราคาและปริมาณ เหล็ก ทองคำ และเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 7,695 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยสินค้าส่งออกสำคัญยังคงเป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ และผลิตภัณฑ์เคมี ดุลบริการ รายได้และเงินโอนเกินดุล 533 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงอย่างชัดเจนจากเจตุการณ์ภัยธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 และ 26.9 ตามลำดับ แต่เนื่องจากเงินบริการด้านจ่ายในเดือนนี้ก็ลดลงเพราะไม่ใด้อยู่ในช่วงตกงวดการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติทำให้สุทธิแล้วดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ยังคงเกินดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับดุลการค้าที่ขาดดุลในเดือนนี้ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 942 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 1,369 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 22 ล้านดอลลาร์ สรอ.เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ระดับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิม่ขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ส่วนราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 โดยยังเป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ไข่และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นสำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 โดยค่าเช่าบ้านไม่เปลี่ยนแปลง เมื่เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 ชะลอลงจากร้อยละ 10.1 ในเดือนก่อน เป็นผลจากราคาในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมกราคม 2548 ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 4.9 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคเอกชน โดยสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์เอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ในเดือนก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างเงินฝากในเดือนนี้จากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินแม้ว่าสภาพคล่องโดยรวมในเดือนนี้มีค่อนข้างสูงเนื่องจากมีเม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินก็ปรับสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกบเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปีตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคม สอดคล้องกับค่าเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคจากการที่ความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังอ่อนแอ เนื่องจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯกอปรกับกระแสข่าวการปรับค่าเงินหยวน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต้องการถือหลักทรัพย์ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น เช่น นำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากกองทุนต่างชาติยังนำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง กอปรกับความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง แต่รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวดีจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์และปัจจัยชั่วคราวที่มีการปิดซ่อมโรงงานขนาดใหญ่ในบางอุตสาหกรรม ในภาคบริการ การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากทั้งเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในฝั่งทะเลอันดามัน และเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชิตลดลงมาก
เสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัว อัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่ำและแม้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลจากการเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนนี้ แต่เงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและความมั่นใจของนักลงทุนต่อปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยส่งผลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพต่อเนื่อง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(สินค้า 76 รายการ) เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ชะลอลงต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และการอ่อนตัวลงของอุตสหากรรมแผงวงจรในตลาดโลก รวมทั้งความต้องการในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศลดลง ประกอบกับในเดือนนี้มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดปิโตรเลียม อย่างไรก็ดีหมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดสิ่งทอยังขยายตัวดี
อัตราการใช้กำลังการผลิต (สินค้า 69 รายการ) ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าโดยในเดือนนี้มีการขยายกำลังการผลิตในหลายหมวดอุตสาหกรรม เช่น หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ในเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวร้อยะ 1.2 ในเดือนธันวาคม 2547 โดยเป็นการลดลงตามปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินในประเทศและปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งเป็นหลัก ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 7.4 ในเดือนธันวาคม 2547 โดยมีการขยายตัวของการลงทุนในหมวดการก่อสร้างเป็นปัจจัยสำคัญ
3. ภาคการคลัง ในเดือนมกราคม รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวปีก่อนร้อยละ 15.9 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีและรายได้ที่มิใช่ภาษี ร้อยละ 7.9 และร้อยละ 87.8 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานในเดือนนี้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 15.6 พันล้านบาท โดยนำไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศจำนวน 12.3 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ในเดือนมกราคม ดุลการค้าขาดดุล 1,475 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากที่เกินดุล 813 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน จากการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 9,170 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 33.6เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำมันซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นจากทั้งปัจจัยด้านราคาและปริมาณ เหล็ก ทองคำ และเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 7,695 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยสินค้าส่งออกสำคัญยังคงเป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงได้แก่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะและชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ และผลิตภัณฑ์เคมี ดุลบริการ รายได้และเงินโอนเกินดุล 533 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงอย่างชัดเจนจากเจตุการณ์ภัยธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.0 และ 26.9 ตามลำดับ แต่เนื่องจากเงินบริการด้านจ่ายในเดือนนี้ก็ลดลงเพราะไม่ใด้อยู่ในช่วงตกงวดการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติทำให้สุทธิแล้วดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ยังคงเกินดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกับดุลการค้าที่ขาดดุลในเดือนนี้ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 942 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 1,369 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 22 ล้านดอลลาร์ สรอ.เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ระดับ 48.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิม่ขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ส่วนราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 โดยยังเป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ไข่และผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นสำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 โดยค่าเช่าบ้านไม่เปลี่ยนแปลง เมื่เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 ชะลอลงจากร้อยละ 10.1 ในเดือนก่อน เป็นผลจากราคาในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมกราคม 2548 ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 4.9 5.2 และ 5.9 ตามลำดับ ตามการชะลอตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคเอกชน โดยสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์เอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2548 ขยายตัวร้อยละ 9.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ในเดือนก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของยอดคงค้างเงินฝากในเดือนนี้จากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินแม้ว่าสภาพคล่องโดยรวมในเดือนนี้มีค่อนข้างสูงเนื่องจากมีเม็ดเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบหลังผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินก็ปรับสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกบเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปีตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2548 อยู่ที่ 38.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคม สอดคล้องกับค่าเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคจากการที่ความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังอ่อนแอ เนื่องจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯกอปรกับกระแสข่าวการปรับค่าเงินหยวน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต้องการถือหลักทรัพย์ในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น เช่น นำมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ในช่วงวันที่ 1-21 กุมภาพันธ์ 2548 เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากกองทุนต่างชาติยังนำเงินมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่อง กอปรกับความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--