บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Wednesday June 6, 2001 15:19 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เนื่องจาก พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา ติดราชการ เมื่อสมาชิกฯ
มาครบองค์ประชุมแล้ว นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง
รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ได้กล่าวเปิดประชุม
แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับทั่วไป เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๔๙ ง วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ แล้ว และมีผลใช้บังคับตั้งแต่
วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตาม
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายเดช บุญ-หลง) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการการแรงงานและ
สวัสดิการสังคมพิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง
ตามระเบียบวาระเรื่องด่วนลำดับที่ ๘ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนต่อไป
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ลำดับที่ ๘)
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายเดช บุญ-หลง) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระ
ที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม
พิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และเนื่องจากที่ประชุม
ได้ลงมติอนุมัติให้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาตามที่สมาชิกฯ เสนอ ที่ประชุมจึงได้พิจารณาใน
วาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓
เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งและรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
เป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำร่างพระราชบัญญัติ
รวม ๓ ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนลำดับที่ ๕ ถึงลำดับที่ ๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วนต่อไป ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ลำดับที่ ๕)
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓ เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
๒. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ลำดับที่ ๖)
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
สาธารณสุข (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และลงมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๓ คน ประกอบด้วย
๑. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๒. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ
๓. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๔. นายถาวร เกียรติไชยากร
๕. นายจำเจน จิตรธร ๖. นายเด่น โต๊ะมีนา
๗. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ ๘. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๙. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๐. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๑๑. นายประเกียรติ นาสิมมา ๑๒. นายทวี แก้วคง
๑๓. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๑๔. นายอำนาจ เธียรประมุข
๑๕. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ๑๖. นายผ่อง เล่งอี้
๑๗. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๘. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๑๙. นายปัญญา กีรติหัตถยากร ๒๐. นางอาภาพรรณ ทองบุญรอด
๒๑. นายพูนศักดิ์ พรหมสุวรรณศิริ ๒๒. นายพิพัฒน์ ทองผดุงโรจน์
๒๓. นายประเวศ อรรถศุภผล
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลท่าม่วง ตำบลทุ่งทอง
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน
ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ….
(ลำดับที่ ๗) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมมีมติในวาระที่ ๑ รับร่าง
พระราชบัญญัติไว้พิจารณา และลงมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๓ คน
ประกอบด้วย
๑. นายแก้วสรร อติโพธิ ๒. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์
๓. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๔. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๕. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ๖. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
๗. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๘. นายปรีชา ปิตานนท์
๙. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ ๑๐. นายฟัครุดดีน บอตอ
๑๑. นายมนตรี สินทวิชัย ๑๒. นายมนู วณิชชานนท์
๑๓. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ ๑๔. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
๑๕. พลเอก ยุทธนา คำดี ๑๖. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช
๑๗. นายสุพร สุภสร ๑๘. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๙. นายอนันต์ ผลอำนวย ๒๐. ร้อยตรี อนุกูล สุภาไชยกิจ
๒๑. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๒๒. นายอุดร ตันติสุนทร
๒๓. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง
ตามระเบียบวาระเรื่องด่วนต่อไป ตามลำดับ ดังนี้
๑. การเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพิ่มเติมอีก ๒ คน
โดยที่คณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับ
การเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร้องขอให้มีการประชุมลับ
เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามข้อบังคับฯข้อ ๑๐๓ วรรคสอง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
ประธานวุฒิสภาจึงได้ดำเนินการประชุมลับเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อคณะกรรมาธิการ
เสนอรายงานและมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเลือก
นายสุทิน นพเกตุ และนางสุนี ไชยรส ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๒. การเลือกกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ โดยที่คณะกรรมาธิการสามัญ
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ
ตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร้องขอให้มีการประชุมลับ เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๑๐๓ วรรคสอง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานวุฒิสภาจึงได้ดำเนินการประชุมลับเพื่อพิจารณา
เรื่องดังกล่าว เมื่อคณะกรรมาธิการเสนอรายงานและมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้มีมติเลือก
นายสุรเจตน์ วิชิตชลชัย และนายจำนง เฉลิมฉัตร ดำรงตำแหน่งกรรมการตุลาการศาลปกครอง
ผู้ทรงคุณวุฒิ
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งและรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
เป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้ดำเนินการประชุมต่อโดยเปิดเผย และเสนอให้
ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนต่อไป ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอรายชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่ง
กรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา จำนวน ๑๑ คน ประกอบด้วย
(๑) นายแก้วสรร อติโพธิ (๒) นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
(๓) พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ (๔) นายสันติ์ เทพมณี
(๕) นางนันทนา สงฆ์ประชา (๖) พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
(๗) พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์ (๘) พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
(๙) นายสมบูรณ์ ทองบุราณ (๑๐) พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
(๑๑) นายปราโมทย์ ไพชนม์
๒. ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิก
วุฒิสภาและกรรมาธิการ จำนวน ๑๗ คน ประกอบด้วย
(๑) นายปราโมทย์ ไม้กลัด (๒) นายณรงค์ นุ่นทอง
(๓) นายมนัส รุ่งเรือง (๔) นายสหัส พินทุเสนีย์
(๕) นายสม ต๊ะยศ (๖) นายเสรี สุวรรณภานนท์
(๗) พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช (๘) พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
(๙) พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ (๑๐) นายสมควร จิตแสง
(๑๑) นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ (๑๒) นายลำพอง พิลาสมบัติ
(๑๓) นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ (๑๔) นายอิมรอน มะลูลีม
(๑๕) นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี (๑๖) พลเอก พนม จีนะวิจารณะ
(๑๗) ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์
โดยมีกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติภารกิจให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน อนึ่ง ได้มีสมาชิกขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้นำเรื่องการตั้งกรรมาธิการ
แทนตำแหน่งที่ว่าง ในคณะกรรมาธิการสามัญและคณะกรรมาธิการวิสามัญคณะต่าง ๆ ให้ที่ประชุม
พิจารณาในโอกาสเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการการคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่าง ๕ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติ
ให้ตั้งนายโกเมศ ฑีฆธนานนท์ นายประโภชฌ์ สภาวสุ นายสนิท จันทรวงศ์ นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
และนายวิกรม อัยศิริ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๒. ตั้งกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง
ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายชงค์ วงษ์ขันธ์ และนายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๓. ตั้งกรรมาธิการการสาธารณสุข แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง
นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๔. ตั้งกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงินแทน ตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายสงวน นันทชาติ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๕. ตั้งกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม แทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายชิต เจริญประเสริฐ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๖. ตั้งกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง
นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๗. ตั้งกรรมาธิการการทหาร แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง
ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ และนายวิกรม อัยศิริ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๘. ตั้งกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน แทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายอนันต์ ดาโลดม เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๙. ตั้งกรรมาธิการการปกครอง แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง
นายสนิท จันทรวงศ์ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑๐. ตั้งกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุม
มีมติให้ตั้ง นายชงค์ วงษ์ขันธ์ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑๑. ตั้งกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา และนายอุทัยพันธุ์
สงวนเสริมศรี เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑๒. ตั้งกรรมาธิการการต่างประเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติ
ให้ตั้งนายสงวน นันทชาติ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑๓. ตั้งนายณรงค์ นุ่นทอง และนายวิชิต พูลลาภ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. …. แทนนางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ และนายเกษม รุ่งธนเกียรติ
ซึ่งลาออกในที่ประชุม ตามลำดับ
๑๔. ตั้งนายจำเจน จิตรธร เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. แทนพลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ
ซึ่งลาออกในที่ประชุม
๑๕. ตั้งนายชิต เจริญประเสริฐ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แทนนายนภินทร ศรีสรรพางค์ ซึ่งลาออกในที่ประชุม
๑๖. ตั้งนายประโภชฌ์ สภาวสุ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ความลับทางการค้า พ.ศ. …. แทนนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ซึ่งลาออกในที่ประชุม
๑๗. ตั้งนายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. แทนนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ซึ่งลาออกในที่ประชุม
๑๘. ตั้งนายอนันตชัย คุณานันทกุล เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แทนนายพากเพียร วิริยะพันธุ์ ซึ่งลาออกในที่ประชุม
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยขอปรึกษาที่ประชุมขอนำเรื่องตามระเบียบวาระที่ ๔.๒
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง
ตามระเบียบวาระดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
๑. พิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับของวุฒิสภา เรื่อง การเลือกตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง และเรื่อง การเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งคณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับพิจารณา
เสร็จแล้ว หลังจากประธานคณะกรรมาธิการได้แถลงรายงานแล้ว ที่ประชุมมีมติไม่ให้เปิดเผยรายงาน
ดังกล่าว
๒. รายงานการพิจารณาศึกษาโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัด
สมุทรปราการ ซึ่งคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสร็จแล้ว หลังจากคณะกรรมาธิการแถลงรายงาน
และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ
เพื่อส่งไปยังคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
๓. รายงานการพิจารณาศึกษาปัญหาและตรวจสอบการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว หลังจากคณะกรรมาธิการแถลงรายงานแล้ว ที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบกับข้อเสนอแนะในรายงานของคณะกรรมาธิการ เพื่อส่งไปยังคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่านพระบรมราชโองการประกาศ
พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ที่ประชุมรับทราบ
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลท่าม่วง ตำบลทุ่งทอง
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และตำบลทุ่งบัว ตำบลกำแพงแสน ตำบลดอนข่อย
อำเภอกำแพงแสน ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม ตำบลดอนตูม ตำบลบางเลน
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลจังหวัดปากพนัง พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ