กรุงเทพฯ--24 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งความคืบหน้ากรณีนายอุดม แซงอุ่น ถูกศาล สิงคโปร์ตัดสินประหารชีวิตในข้อหาฆ่าเพื่อนคนงานไทยจากสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้หารือกับนาย James Bahadur Masih ทนายความชาวสิงคโปร์ และนาย Ramli Salehkon ผู้ช่วยนาย Masih ได้ความว่า นายอุดมฯ จะต้องเป็นผู้ลงนามยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองภายใน 10 วัน หลังจากที่ศาลชั้นต้น (High Court) มีคำพิพากษาแล้ว จากนั้น ทางการสิงคโปร์จะส่งเรื่องให้ศาลสูง (Supreme Court) พิจารณา โดยศาลจะจัดหาทนายความให้กับจำเลยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถจ้างทนายเองได้ และโดยปกติศาลจะแต่งตั้งทนายที่เคยว่าความให้ในศาลชั้นต้น ซึ่งนาย Masih ก็ยินดีที่จะว่าความให้หากศาลแต่งตั้งตนอีกครั้ง
2. นาย Masih กล่าวว่า โดยทั่วไปเมื่อศาลสูง (Supreme Court) ได้รับสำนวนคดี แล้วจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 2 สัปดาห์ในกรณีของคนชาติสิงคโปร์ แต่โดยที่เรื่องนี้เป็นกรณีคน ต่างชาติ ศาลคงจะใช้เวลามากขึ้นเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ และหากศาลสูงตัดสินยืนคำพิพากษาตามศาลชั้นต้น นายอุดมฯ ก็ยังมีโอกาสยื่นฎีกาต่อประธานาธิบดีสิงคโปร์ได้อีกในขั้นสุดท้าย
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม ศกนี้ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปเยี่ยมนายอุดมฯ ที่เรือนจำ พร้อมนำจดหมาย ตลอดจนสิ่งของจำเป็นที่บิดาของนายอุดมฯ และเพื่อนคนงานที่ สิงคโปร์ฝากไปให้ผู้ต้องหาด้วย และทราบว่า นายอุดมฯ ได้ลงนามยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เจ้าหน้าที่เรือนจำแจ้งว่า ศาลสูงอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือนในการพิจารณาคำอุทธรณ์ และนายอุดมฯ จะต้องไปให้การต่อศาลเพื่อต่อสู้คดีอีกครั้งหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งความคืบหน้ากรณีนายอุดม แซงอุ่น ถูกศาล สิงคโปร์ตัดสินประหารชีวิตในข้อหาฆ่าเพื่อนคนงานไทยจากสถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้หารือกับนาย James Bahadur Masih ทนายความชาวสิงคโปร์ และนาย Ramli Salehkon ผู้ช่วยนาย Masih ได้ความว่า นายอุดมฯ จะต้องเป็นผู้ลงนามยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองภายใน 10 วัน หลังจากที่ศาลชั้นต้น (High Court) มีคำพิพากษาแล้ว จากนั้น ทางการสิงคโปร์จะส่งเรื่องให้ศาลสูง (Supreme Court) พิจารณา โดยศาลจะจัดหาทนายความให้กับจำเลยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถจ้างทนายเองได้ และโดยปกติศาลจะแต่งตั้งทนายที่เคยว่าความให้ในศาลชั้นต้น ซึ่งนาย Masih ก็ยินดีที่จะว่าความให้หากศาลแต่งตั้งตนอีกครั้ง
2. นาย Masih กล่าวว่า โดยทั่วไปเมื่อศาลสูง (Supreme Court) ได้รับสำนวนคดี แล้วจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 2 สัปดาห์ในกรณีของคนชาติสิงคโปร์ แต่โดยที่เรื่องนี้เป็นกรณีคน ต่างชาติ ศาลคงจะใช้เวลามากขึ้นเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่อาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ และหากศาลสูงตัดสินยืนคำพิพากษาตามศาลชั้นต้น นายอุดมฯ ก็ยังมีโอกาสยื่นฎีกาต่อประธานาธิบดีสิงคโปร์ได้อีกในขั้นสุดท้าย
3. ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มกราคม ศกนี้ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ไปเยี่ยมนายอุดมฯ ที่เรือนจำ พร้อมนำจดหมาย ตลอดจนสิ่งของจำเป็นที่บิดาของนายอุดมฯ และเพื่อนคนงานที่ สิงคโปร์ฝากไปให้ผู้ต้องหาด้วย และทราบว่า นายอุดมฯ ได้ลงนามยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เจ้าหน้าที่เรือนจำแจ้งว่า ศาลสูงอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือนในการพิจารณาคำอุทธรณ์ และนายอุดมฯ จะต้องไปให้การต่อศาลเพื่อต่อสู้คดีอีกครั้งหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-