ขั้นตอนการดำเนินงาน
ออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งรูปแบบและลวดลาย
|
V
ติดลงบนภาชนะตามต้องการแล้วนำไป
|
V
ทำสติ๊กเกอร์ (จ้าง/ทำเอง)
|
V
เผาเพื่อให้ได้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ รูปแบบ
และสีตามต้องการ
| |
V V
นำตัวอย่างที่ได้ไปเสนอกับกลุ่มลูกค้า อาจ นำตัวอย่างที่ได้ไปให้โรงงานที่จะจ้าง
จะทำในรูปแผ่นพับ และควรมีผลิตภัณฑ์ ผลิตตีราคา เพื่อที่จะสามารถนำมา
อย่างน้อย 3-4 แบบ กำหนดราคาขายได้
|
V
ตกลงราคา แบบ และจำนวนในการสั่งซื้อ
|
V
จ้างผลิต ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน
|
V
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์และส่งมอบให้ลูกค้า
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
การลงทุนในลักษณะนี้ควรจะเน้นการออกแบบที่แปลกใหม่และหลากหลาย ควรมีการศึกษาแนวโน้มของรูปแบบซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้การผลิตเพื่อส่งออก จะได้รับอัตรากำไรโดยเฉลี่ยค่อนข้างสูงเพราะสามารถตั้งราคาสูงได้ถ้ารูปแบบเป็นที่ต้องการของตลาด แต่หากเป็นตลาดในประเทศจะมีอัตรากำไรโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้และตลาดในประเทศจะมีการลอกเลียนแบบเร็ว ดังนั้นควรหาผู้รับจ้างผลิตที่ให้ราคาต่ำและควรมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ต่างจากที่มีอยู่แล้วในตลาด นอกจากนี้ควรมีการจดลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและผลิตขึ้นมาด้วยภาคผนวก
ราคาซื้อขาย
ระดับราคามีหลากหลายขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ขนาด รูปแบบ การออกแบบในแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่วนสินค้าในระดับปานกลาง-สูง มักจะจำหน่ายเป็นชุด เช่น ชุดละ 16, 20, 40, 45 ชิ้น เป็นต้นโดยผลิตภัณฑ์ประเภท Bone China จะมีระดับราคาสูงที่สุด
แหล่งขายเครื่องจักร
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท อินเตอร์ คลินส์ อินดัสตรีส์ จำกัด 59/24 ซ.85 ถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร โทร.811-0604-5
โรงกลึงสมศักดิ์ 516 หมู่ที่ 10 ต. ชมพู อ. เมือง จ. ลำปาง
โทร. (054) 346433-4
บริษัท ตรีมูรติ แอสโซซิเอทส์ แอนด์ คอร์ปอเรชั่น 15/432 ถ. สุขุมวิท ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง
จ. สมุทรปราการ โทร. 749-2822
บริษัท เซรามิก คอนซัลแทนท์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 251 ถ.เสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว
กรุงเทพฯ โทร. 379-9677
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คินส์ แอนด์ อาร์ท 41/5 หมู่ที่ 9 ต. บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
โทร. (038) 770-052
บริษัท ทีมเทคแอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 78/ 6 หมู่ที่ 1 ถ. รามอินทรา ต. ท่าแร้ง อ. บางเขน
กรุงเทพฯ โทร. 900-5524
บริษัท ไท่หงอี้ จำกัด 66/ 36 หมู่ที่ 13 ต.บางปะกง อ.ฉะเชิงเทรา
จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 834-110
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำปาง เชน เซอร์วิส หมู่ที่ 6 ต. ทุ่งงาม อ. เสริมงาม จ. ลำปาง
แอ็คมี่-อินเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 49 /1 สุขุมวิท 91 กรุงเทพฯ โทร. 332-2270-2
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมเกียรติซัพพลาย 71 อ่อนนุช 64 สวนหลวง กรุงเทพฯ
โทร.721-0425-6 , 721-0653-4
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: 8 รายแรก เป็นรายชื่อผู้สร้างเตาและผู้จำหน่ายเตาในโครงการส่งเสริมเตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1.! ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งได้เป็น
- วัตถุดิบ
- ดินที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 สีและสารเคลือบ มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เถ้ากระดูกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 35
- เครื่องจักรและเตาเผา มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขใน
การขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ไว้คือ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทสโตนแวร์ปอร์ซเลน โบนไชน่า โดยมีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท โดยจะเน้นให้การส่งเสริมสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต 2 และ 3 (ถ้าตั้งอยู่ในเขต 1 จะต้องส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดขายทั้งสิ้น) และถ้าตั้งอยู่ในเขต 3 จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี เป็นต้น
4. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีหลายประเภทเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริโภคจึงควรจะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย
มาตรฐานที่เกี่ยวกับวัตถุดิบ ได้แก่ มอก.485-2526 - ดินขาวสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
มาตรฐานที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มอก. 564-2528 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: ปอร์ซเลนมอก. 601-2529 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: เออร์เทนแวร์ มอก. 602-2529 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: สโตนแวร์
5. การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร
ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบใหม่ ผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบควรจะมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ โดยจะต้องไปขอจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายคำขอละ 500 บาท และจะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่ยื่นแบบขอจดทะเบียนรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อโทร.547-4637
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047)เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. อุตสาหกรรมเซรามิก รวมถึงการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกนั้นมีโครงการส่งเสริมการใช้เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง ซึ่งบริหารงานและสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน(ประเทศไทย) (โทร.642-7090-6 ต่อ 211,220) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีกำหนดเวลาให้การส่งเสริม 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 และจากเดิมจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2542 แต่ได้ขยายระยะเวลาโครงการออกไปถึงประมาณเดือนกรกฎาคม 2543โดยกองทุนฯจะให้เงินสนับสนุนในการสร้างหรือซื้อเตาในอัตราไม่เกินร้อยละ 34 ของราคาเตาซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและประหยัดพลังงาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถรับเงินสนับสนุนจากการสร้างหรือซื้อเตาได้รายละไม่เกิน 2 เตานอกจากนี้ทางโครงการยังมีการส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในขบวนการเผาเซรามิกอย่างถูกวิธี และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยมีการจัดสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเซรามิกและผู้สร้างเตาที่ร่วมโครงการและผู้สนใจทั่วไปทั้งทางด้านการเตรียมวัตถุดิบ เทคนิคการควบคุมเตาเผาเซรามิก และการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง คือ เตาเผาเซรามิกที่บุผนังด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาไม่อมความร้อนและเป็นฉนวนที่กั้นความร้อนได้ดีทำให้ประหยัดพลังงานโดยเฉพาะแก๊สแอลพีจี ได้ประมาณร้อยละ 30-50เมื่อเทียบกับเตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งความสม่ำเสมอของสีและมีของเสียน้อยกว่า สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเนื่องจากใช้เวลาในการเผาสั้นกว่า
ราคาเตาในโครงการ และอัตราการประหยัดพลังงาน
ขนาดเตา ราคาในโครงการ เงินที่มูลนิธิฯสนับสนุน ผู้ร่วมโครงการจ่าย อัตราการประหยัด
(ลบม.) (บาท) ร้อยละ 34 ร้อยละ 66 พลังงานโดยเฉลี่ย
1.0 350,000 119,000 231,000 45.65%
1.5 450,000 153,000 297,000 Na.
2.5 650,000 221,000 429,000 45.88%
4.0 800,000 272,000 528,000 52.00%
5.5 หรือมาก ราคาที่ผู้ซื้อขายตกลง 289,000 ผลต่าง 44.22%
กว่า กัน
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: ราคาเตาในโครงการเมื่อค่าเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ!
อัตราการประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย คิดเป็นการประหยัดแก๊สแอล พี จี เมื่อเทียบกับการใช้เตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ)
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) จะให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดีขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
4. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกจัดตั้งสมาคมเซรามิกแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำทางด้านวิชาการทางด้านเซรามิก แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างโรงงานผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อการพัฒนาในอุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งรูปแบบและลวดลาย
|
V
ติดลงบนภาชนะตามต้องการแล้วนำไป
|
V
ทำสติ๊กเกอร์ (จ้าง/ทำเอง)
|
V
เผาเพื่อให้ได้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ รูปแบบ
และสีตามต้องการ
| |
V V
นำตัวอย่างที่ได้ไปเสนอกับกลุ่มลูกค้า อาจ นำตัวอย่างที่ได้ไปให้โรงงานที่จะจ้าง
จะทำในรูปแผ่นพับ และควรมีผลิตภัณฑ์ ผลิตตีราคา เพื่อที่จะสามารถนำมา
อย่างน้อย 3-4 แบบ กำหนดราคาขายได้
|
V
ตกลงราคา แบบ และจำนวนในการสั่งซื้อ
|
V
จ้างผลิต ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน
|
V
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์และส่งมอบให้ลูกค้า
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
การลงทุนในลักษณะนี้ควรจะเน้นการออกแบบที่แปลกใหม่และหลากหลาย ควรมีการศึกษาแนวโน้มของรูปแบบซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้การผลิตเพื่อส่งออก จะได้รับอัตรากำไรโดยเฉลี่ยค่อนข้างสูงเพราะสามารถตั้งราคาสูงได้ถ้ารูปแบบเป็นที่ต้องการของตลาด แต่หากเป็นตลาดในประเทศจะมีอัตรากำไรโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้และตลาดในประเทศจะมีการลอกเลียนแบบเร็ว ดังนั้นควรหาผู้รับจ้างผลิตที่ให้ราคาต่ำและควรมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ต่างจากที่มีอยู่แล้วในตลาด นอกจากนี้ควรมีการจดลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและผลิตขึ้นมาด้วยภาคผนวก
ราคาซื้อขาย
ระดับราคามีหลากหลายขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ขนาด รูปแบบ การออกแบบในแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่วนสินค้าในระดับปานกลาง-สูง มักจะจำหน่ายเป็นชุด เช่น ชุดละ 16, 20, 40, 45 ชิ้น เป็นต้นโดยผลิตภัณฑ์ประเภท Bone China จะมีระดับราคาสูงที่สุด
แหล่งขายเครื่องจักร
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บริษัท อินเตอร์ คลินส์ อินดัสตรีส์ จำกัด 59/24 ซ.85 ถนนเพชรเกษม ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน
จ.สมุทรสาคร โทร.811-0604-5
โรงกลึงสมศักดิ์ 516 หมู่ที่ 10 ต. ชมพู อ. เมือง จ. ลำปาง
โทร. (054) 346433-4
บริษัท ตรีมูรติ แอสโซซิเอทส์ แอนด์ คอร์ปอเรชั่น 15/432 ถ. สุขุมวิท ต. สำโรงเหนือ อ. เมือง
จ. สมุทรปราการ โทร. 749-2822
บริษัท เซรามิก คอนซัลแทนท์ แอนด์ ซัพพลาย จำกัด 251 ถ.เสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว
กรุงเทพฯ โทร. 379-9677
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คินส์ แอนด์ อาร์ท 41/5 หมู่ที่ 9 ต. บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
โทร. (038) 770-052
บริษัท ทีมเทคแอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 78/ 6 หมู่ที่ 1 ถ. รามอินทรา ต. ท่าแร้ง อ. บางเขน
กรุงเทพฯ โทร. 900-5524
บริษัท ไท่หงอี้ จำกัด 66/ 36 หมู่ที่ 13 ต.บางปะกง อ.ฉะเชิงเทรา
จ. ฉะเชิงเทรา โทร. (038) 834-110
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลำปาง เชน เซอร์วิส หมู่ที่ 6 ต. ทุ่งงาม อ. เสริมงาม จ. ลำปาง
แอ็คมี่-อินเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 49 /1 สุขุมวิท 91 กรุงเทพฯ โทร. 332-2270-2
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมเกียรติซัพพลาย 71 อ่อนนุช 64 สวนหลวง กรุงเทพฯ
โทร.721-0425-6 , 721-0653-4
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: 8 รายแรก เป็นรายชื่อผู้สร้างเตาและผู้จำหน่ายเตาในโครงการส่งเสริมเตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง
1.! ด้านภาษี ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งได้เป็น
- วัตถุดิบ
- ดินที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 สีและสารเคลือบ มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 10 เถ้ากระดูกมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 35
- เครื่องจักรและเตาเผา มีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีเงื่อนไขใน
การขอรับการส่งเสริมและสิทธิประโยชน์ไว้คือ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทสโตนแวร์ปอร์ซเลน โบนไชน่า โดยมีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านบาท โดยจะเน้นให้การส่งเสริมสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต 2 และ 3 (ถ้าตั้งอยู่ในเขต 1 จะต้องส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่ายอดขายทั้งสิ้น) และถ้าตั้งอยู่ในเขต 3 จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับการผลิตเพื่อส่งออกเป็นเวลา 5 ปี เป็นต้น
4. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
มาตรฐานสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีหลายประเภทเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริโภคจึงควรจะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย
มาตรฐานที่เกี่ยวกับวัตถุดิบ ได้แก่ มอก.485-2526 - ดินขาวสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
มาตรฐานที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มอก. 564-2528 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: ปอร์ซเลนมอก. 601-2529 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: เออร์เทนแวร์ มอก. 602-2529 - ภาชนะเซรามิกส์ที่ใช้กับอาหาร: สโตนแวร์
5. การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร
ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบใหม่ ผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบควรจะมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ โดยจะต้องไปขอจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายคำขอละ 500 บาท และจะได้รับความคุ้มครองตั้งแต่ยื่นแบบขอจดทะเบียนรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อโทร.547-4637
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1.!หน่วยงานสนับสนุนและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม(SMEs) ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนหลายหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะงานคือ
1.1 หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ เช่น บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมขนาดย่อม-บอย. (โทร.642-5207) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(โทร.253-7111) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม-บสย. (โทร.308-2741) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (โทร.271-3700, 278-0047)เป็นต้น
1.2 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี และการจัดการ เช่นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (โทร.202-4405-50) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (โทร.248-3393) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (โทร.202-3300-3304) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (โทร.271-2939)
1.3 หน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุนและการตลาด เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (โทร. 537-8111) กรมส่งเสริมการส่งออก (โทร. 511-5066-77)
2. อุตสาหกรรมเซรามิก รวมถึงการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกนั้นมีโครงการส่งเสริมการใช้เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง ซึ่งบริหารงานและสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน(ประเทศไทย) (โทร.642-7090-6 ต่อ 211,220) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีกำหนดเวลาให้การส่งเสริม 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2539 และจากเดิมจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม 2542 แต่ได้ขยายระยะเวลาโครงการออกไปถึงประมาณเดือนกรกฎาคม 2543โดยกองทุนฯจะให้เงินสนับสนุนในการสร้างหรือซื้อเตาในอัตราไม่เกินร้อยละ 34 ของราคาเตาซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในโครงการและผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและประหยัดพลังงาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถรับเงินสนับสนุนจากการสร้างหรือซื้อเตาได้รายละไม่เกิน 2 เตานอกจากนี้ทางโครงการยังมีการส่งเสริมในการพัฒนาบุคลากร ถ่ายทอดความรู้ ความสามารถในขบวนการเผาเซรามิกอย่างถูกวิธี และการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยมีการจัดสัมมนาและฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบการเซรามิกและผู้สร้างเตาที่ร่วมโครงการและผู้สนใจทั่วไปทั้งทางด้านการเตรียมวัตถุดิบ เทคนิคการควบคุมเตาเผาเซรามิก และการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์
เตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูง คือ เตาเผาเซรามิกที่บุผนังด้วยไฟเบอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาไม่อมความร้อนและเป็นฉนวนที่กั้นความร้อนได้ดีทำให้ประหยัดพลังงานโดยเฉพาะแก๊สแอลพีจี ได้ประมาณร้อยละ 30-50เมื่อเทียบกับเตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ) นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งความสม่ำเสมอของสีและมีของเสียน้อยกว่า สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตเนื่องจากใช้เวลาในการเผาสั้นกว่า
ราคาเตาในโครงการ และอัตราการประหยัดพลังงาน
ขนาดเตา ราคาในโครงการ เงินที่มูลนิธิฯสนับสนุน ผู้ร่วมโครงการจ่าย อัตราการประหยัด
(ลบม.) (บาท) ร้อยละ 34 ร้อยละ 66 พลังงานโดยเฉลี่ย
1.0 350,000 119,000 231,000 45.65%
1.5 450,000 153,000 297,000 Na.
2.5 650,000 221,000 429,000 45.88%
4.0 800,000 272,000 528,000 52.00%
5.5 หรือมาก ราคาที่ผู้ซื้อขายตกลง 289,000 ผลต่าง 44.22%
กว่า กัน
ที่มา: มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย)
หมายเหตุ: ราคาเตาในโครงการเมื่อค่าเงินบาทอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ!
อัตราการประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย คิดเป็นการประหยัดแก๊สแอล พี จี เมื่อเทียบกับการใช้เตาเผาแบบเก่า (อิฐทนไฟ)
3. ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (โทร.644-8150) จะให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นที่ปรึกษาและช่วยวิเคราะห์ปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อการจัดการที่ดีขึ้น ให้บริการในการวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
4. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกจัดตั้งสมาคมเซรามิกแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานให้คำแนะนำทางด้านวิชาการทางด้านเซรามิก แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างโรงงานผู้ผลิตและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเพื่อการพัฒนาในอุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--