แท็ก
ธปท.
ข่าวในประเทศ
1. ตัวเลขเอ็นพีแอล ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้าง 8.58 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 17.91 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ซึ่งมีเอ็นพีแอลคงค้าง 1.11 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.70 ของสินเชื่อรวม สาเหตุสำคัญเนื่องจาก ธ.ไทยธนาคารนำลูกหนี้ด้อยคุณภาพออกจากการเป็นเอ็นพีแอลตามที่ ครม.มีมติค้ำประกันความเสียหาย สำหรับรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของเอ็นพีแอลในเดือน ธ.ค.43 มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 5.29 หมื่น ล.บาท แยกเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 2.45 หมื่น ล.บาท และเอ็นพีแอลที่เกิดจากรายที่ปรับโครงสร้างหนี้ 2.84 หมื่น ล.บาท ส่วนเอ็นพีแอลที่ลดลงจำนวน 3.08 แสน ล.บาท เป็นการลดลงเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ 7.6 หมื่น ล.บาท และจากเหตุผลอื่น 2.32 แสน ล.บาท สำหรับหนี้ดีของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ธ.ค.มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 3.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.09 ของสินเชื่อรวม (ไทยโพสต์, มติชน 6)
2. สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนในตั๋วเงินคลังมากขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท.ได้เปิดให้สถาบันการเงินแข่งขันประมูลตั๋วเงินคลังงวดแรกในเดือน ก.พ.44 จำนวน 2 รุ่น วงเงิน 3,000 ล.บาท โดยแบ่งเป็นรุ่นอายุ 28 วัน วงเงิน 2,000 ล.บาท และรุ่นอายุ 91 วัน อีก 1,000 ล.บาทนั้น ผลประมูลฯ รุ่น 28 วัน สถาบันการเงินที่เข้าร่วมประมูลกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างเฉลี่ยร้อยละ 1.98655 เทียบกับร้อยละ 2.0056 ในครั้งก่อน ส่วนผลประมูลฯ รุ่นอายุ 91 วัน สถาบันการเงินเสนออัตราผลตอบแทนสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 2.10071 ต่ำกว่าการประมูลครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.1595 ซึ่งในการประมูลครั้งนี้ สถาบันการเงินได้ให้ความสนใจมากกว่าทุกครั้ง โดยพิจารณาจากความต้องการลงทุนซึ่งสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 6.12 เท่า สำหรับรุ่นอายุ 28 วัน และ 9.17 เท่า สำหรับรุ่นอายุ 91 วัน แสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินต่างมีสภาพคล่องเหลือเป็นจำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน 6)
3. สศช.จะปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 4-4.5 ในปี 44 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ภายหลังที่ ธปท.ปรับลดตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 เหลือร้อยละ 3-4.5 ในส่วนของ สศช.ก็ได้ปรับลดเหลือร้อยละ 4-4.5 ซึ่งแม้ตัวเลขจะต่างกัน แต่เป็นมองทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจว่าเป็นปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกมากระทบเหมือนกัน โดย ธปท.มองว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะส่งผลกระทบรุนแรงและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยสูง (กรุงเทพธุรกิจ 6)
4. ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลูกค้าลงอีกร้อยละ 1 รวมทั้งปรับโครงสร้างเงินทุน รองผู้จัดการ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.จะดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนอีกรอบ หลังจากสิ้นสุดงวดบัญชี 2543 ในเดือน มี.ค.44 แล้ว เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถลดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าเกษตรกรได้อีก หลังจากที่คณะกรมการธนาคารมีมติให้ปรับลดแก่ลูกค้าไปแล้วร้อยละ 1 โดยมีผลวันที่ 6 ก.พ.44 สำหรับการปรับโครงสร้างต้นทุนการเงินที่ธนาคารกำลังศึกษาได้แก่ การขอชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศล่วงหน้า คิดเป็นเงินประมาณ 7,000-10,000 ล.บาท และขอแปลงหนี้เป็นทุนในส่วนของพันธบัตรรัฐบาล สรอ.(แยงกี้บอนด์) จำนวน 187 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 44จากการสำรวจของรอยเตอร์ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีภาวะธุรกิจภาคบริการ ที่ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 54.0ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน พ.ค. 42 เนื่องจากคำสั่งใหม่อยู่ในภาวะที่ชะงักงัน ขณะที่ธุรกิจภาคบริการมีการแข่งขันกันสูงมากทำให้บริษัทต่างๆไม่สามารถขึ้นราคาค่าบริการธุรกิจได้ NTC Research กล่าวว่า การที่ธุรกิจภาคบริการไม่มีการขยายตัว เนื่องจากอัตราการลงทุนที่โน้มต่ำลง ภาคการก่อสร้างที่ชะลอตัว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตกต่ำ (รอยเตอร์ 5)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจในเขตยูโรลดลงอยู่ที่ระดับ 0.95 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 5 ก.พ.44 คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร ลดลงอยู่ที่ระดับ 0.95 จากที่อยู่ที่ระดับ 1.23 ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับที่เคยอยู่ที่ระดับ 1.71 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี และเป็นการลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี นับแต่เดือน ม.ค.43 ที่อยู่ที่ระดับ 0.84 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.44 ยังนับว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่การที่ดัชนีฯ ลดลงแสดงให้เห็นว่าบริษัทอุตสาหกรรมในเขตยูโรมองแนวโน้มของธุรกิจไปในทางโน้มต่ำลง (รอยเตอร์ 5)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตในเขตยูโรลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 5 ก.พ.44 คระกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเงินเฟ้อล่วงหน้า ลดลงร้อยละ 0.4 ในอัตราเทียบต่อเดือน ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 สาเหตุหลักที่ทำให้ PPI ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงคือ การลดลงของราคาสินค้าขั้นกลางของการผลิต ซึ่งรวมถึงราคาพลังงาน ที่ลดลงร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตาม PPI ในเดือนดังกล่าวในอัตราเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 แต่เป็นระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์ 5)
4. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 50 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.พ. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเบื้องต้น (Leading Index) อยู่ที่ระดับ 50.0 จากตัวเลขปรับแล้ว ที่ระดับ 30.0 ในเดือน พ.ย. 43 ส่วนดัชนีอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) อยู่ที่ระดับ 71.4 จากระดับ 30.0 และดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่ที่ระดับ 50.0 จากระดับ 42.9 ในเดือน พ.ย.43(รอยเตอร์5)
5. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนลดลงต่ำที่สุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 44 ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.70 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนนับแต่วันที่ 4 ม.ค. 44 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนเกี่ยวกับเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวลง รวมทั้งนักลงทุนญี่ปุ่นได้ส่งเงินกลับประเทศก่อนที่จะปิดงวดบัญชีสิ้นปีในเดือน มี.ค. 44 (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.พ. 44 42.473 (42.292)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2338 (42.1150) ขาย 42.5482 (42.4216)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.56 (25.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ตัวเลขเอ็นพีแอล ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้าง 8.58 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 17.91 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือน พ.ย.43 ซึ่งมีเอ็นพีแอลคงค้าง 1.11 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.70 ของสินเชื่อรวม สาเหตุสำคัญเนื่องจาก ธ.ไทยธนาคารนำลูกหนี้ด้อยคุณภาพออกจากการเป็นเอ็นพีแอลตามที่ ครม.มีมติค้ำประกันความเสียหาย สำหรับรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของเอ็นพีแอลในเดือน ธ.ค.43 มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 5.29 หมื่น ล.บาท แยกเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 2.45 หมื่น ล.บาท และเอ็นพีแอลที่เกิดจากรายที่ปรับโครงสร้างหนี้ 2.84 หมื่น ล.บาท ส่วนเอ็นพีแอลที่ลดลงจำนวน 3.08 แสน ล.บาท เป็นการลดลงเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ 7.6 หมื่น ล.บาท และจากเหตุผลอื่น 2.32 แสน ล.บาท สำหรับหนี้ดีของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ธ.ค.มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 3.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.09 ของสินเชื่อรวม (ไทยโพสต์, มติชน 6)
2. สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนในตั๋วเงินคลังมากขึ้น รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท.ได้เปิดให้สถาบันการเงินแข่งขันประมูลตั๋วเงินคลังงวดแรกในเดือน ก.พ.44 จำนวน 2 รุ่น วงเงิน 3,000 ล.บาท โดยแบ่งเป็นรุ่นอายุ 28 วัน วงเงิน 2,000 ล.บาท และรุ่นอายุ 91 วัน อีก 1,000 ล.บาทนั้น ผลประมูลฯ รุ่น 28 วัน สถาบันการเงินที่เข้าร่วมประมูลกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างเฉลี่ยร้อยละ 1.98655 เทียบกับร้อยละ 2.0056 ในครั้งก่อน ส่วนผลประมูลฯ รุ่นอายุ 91 วัน สถาบันการเงินเสนออัตราผลตอบแทนสูงสุดเฉลี่ยร้อยละ 2.10071 ต่ำกว่าการประมูลครั้งก่อนที่ร้อยละ 2.1595 ซึ่งในการประมูลครั้งนี้ สถาบันการเงินได้ให้ความสนใจมากกว่าทุกครั้ง โดยพิจารณาจากความต้องการลงทุนซึ่งสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 6.12 เท่า สำหรับรุ่นอายุ 28 วัน และ 9.17 เท่า สำหรับรุ่นอายุ 91 วัน แสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินต่างมีสภาพคล่องเหลือเป็นจำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน 6)
3. สศช.จะปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 4-4.5 ในปี 44 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ภายหลังที่ ธปท.ปรับลดตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 เหลือร้อยละ 3-4.5 ในส่วนของ สศช.ก็ได้ปรับลดเหลือร้อยละ 4-4.5 ซึ่งแม้ตัวเลขจะต่างกัน แต่เป็นมองทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจว่าเป็นปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกมากระทบเหมือนกัน โดย ธปท.มองว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะส่งผลกระทบรุนแรงและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยสูง (กรุงเทพธุรกิจ 6)
4. ธ.ก.ส.ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลูกค้าลงอีกร้อยละ 1 รวมทั้งปรับโครงสร้างเงินทุน รองผู้จัดการ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.จะดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนอีกรอบ หลังจากสิ้นสุดงวดบัญชี 2543 ในเดือน มี.ค.44 แล้ว เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถลดดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าเกษตรกรได้อีก หลังจากที่คณะกรมการธนาคารมีมติให้ปรับลดแก่ลูกค้าไปแล้วร้อยละ 1 โดยมีผลวันที่ 6 ก.พ.44 สำหรับการปรับโครงสร้างต้นทุนการเงินที่ธนาคารกำลังศึกษาได้แก่ การขอชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศล่วงหน้า คิดเป็นเงินประมาณ 7,000-10,000 ล.บาท และขอแปลงหนี้เป็นทุนในส่วนของพันธบัตรรัฐบาล สรอ.(แยงกี้บอนด์) จำนวน 187 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจภาคบริการของเยอรมนีลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 44จากการสำรวจของรอยเตอร์ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีภาวะธุรกิจภาคบริการ ที่ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 54.0ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน พ.ค. 42 เนื่องจากคำสั่งใหม่อยู่ในภาวะที่ชะงักงัน ขณะที่ธุรกิจภาคบริการมีการแข่งขันกันสูงมากทำให้บริษัทต่างๆไม่สามารถขึ้นราคาค่าบริการธุรกิจได้ NTC Research กล่าวว่า การที่ธุรกิจภาคบริการไม่มีการขยายตัว เนื่องจากอัตราการลงทุนที่โน้มต่ำลง ภาคการก่อสร้างที่ชะลอตัว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตกต่ำ (รอยเตอร์ 5)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจในเขตยูโรลดลงอยู่ที่ระดับ 0.95 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 5 ก.พ.44 คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร ลดลงอยู่ที่ระดับ 0.95 จากที่อยู่ที่ระดับ 1.23 ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับที่เคยอยู่ที่ระดับ 1.71 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 15 ปี และเป็นการลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบปี นับแต่เดือน ม.ค.43 ที่อยู่ที่ระดับ 0.84 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.44 ยังนับว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่การที่ดัชนีฯ ลดลงแสดงให้เห็นว่าบริษัทอุตสาหกรรมในเขตยูโรมองแนวโน้มของธุรกิจไปในทางโน้มต่ำลง (รอยเตอร์ 5)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตในเขตยูโรลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 5 ก.พ.44 คระกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเงินเฟ้อล่วงหน้า ลดลงร้อยละ 0.4 ในอัตราเทียบต่อเดือน ลดลงมากกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 สาเหตุหลักที่ทำให้ PPI ในเดือน ธ.ค.43 ลดลงคือ การลดลงของราคาสินค้าขั้นกลางของการผลิต ซึ่งรวมถึงราคาพลังงาน ที่ลดลงร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตาม PPI ในเดือนดังกล่าวในอัตราเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 แต่เป็นระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์ 5)
4. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 50 ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.พ. 44 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเบื้องต้น (Leading Index) อยู่ที่ระดับ 50.0 จากตัวเลขปรับแล้ว ที่ระดับ 30.0 ในเดือน พ.ย. 43 ส่วนดัชนีอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) อยู่ที่ระดับ 71.4 จากระดับ 30.0 และดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่ที่ระดับ 50.0 จากระดับ 42.9 ในเดือน พ.ย.43(รอยเตอร์5)
5. ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนลดลงต่ำที่สุดในรอบ 1 เดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 44 ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.70 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนนับแต่วันที่ 4 ม.ค. 44 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนเกี่ยวกับเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวลง รวมทั้งนักลงทุนญี่ปุ่นได้ส่งเงินกลับประเทศก่อนที่จะปิดงวดบัญชีสิ้นปีในเดือน มี.ค. 44 (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.พ. 44 42.473 (42.292)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2338 (42.1150) ขาย 42.5482 (42.4216)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.56 (25.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-