1. สถานการณ์การผลิต การใช้และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2543 ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้การส่งออกลดลง ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัว เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 1.4 เป็นการชะลอตัวลง ในทุกหมวดสินค้า ยกเว้น หมวด เครื่องดื่ม สิ่งทอ และการผลิตปิโตรเลียม อย่างไรก็ตามแม้ด้านการผลิตสินค้า จะชะลอตัว แต่ด้านการบริการ ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร การศึกษา สาธารณสุข และบริการอื่นๆ ยังคงมีศักยภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยว
ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 การใช้พลังงานเกือบทุกประเภทเพิ่มขึ้นยกเว้นผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่การใช้ ลดลงร้อยละ 7.3 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 1.4 สาเหตุจากการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลง เนื่องจากต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้ตามภาระที่ ปตท. ได้ทำสัญญาไว้ การผลิตคอนเดนเสทลดลงตามการผลิตก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งผลิตคอนเดนเสท เป็นแหล่งเดียวกับก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งในทะเลทั้งหมด แต่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โดยการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากแหล่งเบญจมาศเป็นสำคัญ ในขณะนี้แหล่งเบญจมาศผลิตได้จำนวน 26 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2544 สาเหตุสำคัญมาจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า การนำเข้าถ่านหินและน้ำมันดิบ ส่งผลให้สัดส่วนการ พึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 62 ในปีนี้ รายละเอียดมีดังนี้
ตารางที่ 1 การใช้ การผลิต และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์(1)
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง (%)
(ม.ค. - มิ.ย.) 2543 2544
การใช้ (2) 1144.4 1205 2.5 3
การผลิต 588.7 592.1
การนำเข้า (สุทธิ) 682.1 743.8 3.7 7.3
การเปลี่ยนแปลงสต็อก 41.3 74.5 - -
การใช้ที่ไม่เป็นพลังงาน (Non-Energy use) 85 89.8 12.5 -6
การนำเข้า/การใช้ (%) 59.6 61.7
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 4.3**
(1) พลังงานเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหิน/ลิกไนต์
(2) การใช้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงสต็อก และการใช้ที่ไม่เป็นพลังงาน (Non-Energy use) ได้แก่ การใช้ยางมะตอย NGL Condensate LPG และ Naptha เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
** ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1 การใช้ ปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 1,205 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน การใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.2 เป็นผลจาก กฟผ. เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากในปีนี้ราคาน้ำมันเตาสูงมาก นอกจากนั้น โรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ได้เริ่มผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบในช่วงปลายปี 2543 การใช้ลิกไนต์และถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ของอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าของ SPP ขณะที่การใช้น้ำมันปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 7.3 สาเหตุจาก กฟผ. ใช้น้ำมันเตาลดลง ประกอบกับการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียมร้อยละ 47.0 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 36.2 ลิกไนต์และถ่านหินร้อยละ 14.1 ไฟฟ้าพลังน้ำและนำเข้าร้อยละ 2.8
ตารางที่ 2 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%) การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป 578.8 566 47 -7.3
ก๊าซธรรมชาติ 379.7 435.7 36.2 17.2
ลิกไนต์และถ่านหิน 154.8 169.8 14 9.9
ไฟฟ้าพลังน้ำและนำเข้า 31.2 33.5 2.8 1.8
รวม 1144.4 1205 100 3
การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ลิกไนต์/ถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และไฟฟ้า (รวมไฟฟ้าที่ผลิตจาก SPP ด้วย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
1.2 การผลิต ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์มีจำนวน 592 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงเนื่องจาก ปตท. ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้ในโรงไฟฟ้าราชบุรีและโรงไฟฟ้าของ IPP ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ และมีผลทำให้การผลิตคอนเดนเสทลดลงเช่นเดียวกับการผลิตก๊าซธรรมชาติเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเดียวกัน การผลิตลิกไนต์ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการผลิตของภาคเอกชนลดลง แต่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีมาก และการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากแหล่งเบญจมาศที่สามารถผลิตได้อย่างเต็มที่ในปีนี้ การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 58.7 ลิกไนต์ร้อยละ 18.2 น้ำมันดิบ ร้อยละ 10.0 คอนเดนเสทร้อยละ 8.1 และไฟฟ้าพลังน้ำร้อยละ 5.0
ตารางที่ 3 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%) การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบ 57.9 59.3 10 9.3
ก๊าซธรรมชาติ 350.1 347.6 58.7 -3.5
คอนเดนเสท 47.5 48.2 8.1 -0.8
ถ่านลิกไนต์ 107 107.6 18.2 -1.3
ไฟฟ้าพลังน้ำ 26.1 29.5 5 2.9
รวม 588.7 592.1 100 -1.4
1.3 การนำเข้าสุทธิ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 744 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 สาเหตุสำคัญ จากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า โดย 6 เดือนแรกนี้ มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ จำนวน 491 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันกับปี 2543 นอกจากนั้นการนำเข้าถ่านหิน และน้ำมันดิบ ก็มีอัตราการเพิ่ม ในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในช่วง 6 เดือนแรกนี้ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากการผลิต สูงกว่าความต้องการภายในประเทศมาก
ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้า (ส่งออก) พลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบ 643.1 743.8 6
ก๊าซธรรมชาติ 29.6 88.3 665.3
น้ำมันสำเร็จรูป -43.4 -75.8 706.2
คอนเดนเสท -4.4 -4.7 -47.5
ถ่านหิน 52.2 59.7 20.6
ไฟฟ้า 5.1 4.1 -5.6
รวม 682.1 743.8 7.3
2. สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิด
2.1 ก๊าซธรรมชาติ การใช้ก๊าซธรรมชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 2,425 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.2 การใช้เพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรม เนื่องจากราคาน้ำมันเตาในปีนี้ สูงขึ้นมาก ทำให้ กฟผ. ลดการใช้น้ำมันเตาลง และใช้ก๊าซธรรมชาติแทน นอกจากนั้นยังมีโรงไฟฟ้า จากโครงการ IPP ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิง เริ่มผลิตไฟฟ้า จ่ายเข้าระบบของ กฟผ. ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี ที่เริ่มผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศ มีจำนวน 1,934 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ร้อยละ 80) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 เล็กน้อย แต่มีการนำเข้าจากแหล่งยาดานา และแหล่งเยตากุน จากประเทศพม่าจำนวน 491 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ร้อยละ 20) แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งบงกช เอราวัณ ไพลิน สตูล ฟูนาน จักรวาล และแหล่งเบญจมาศ เป็นต้น
ตารางที่ 5 การผลิตก๊าซธรรมชาติ
หน่วย : ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%)
แหล่งอ่าวไทย ผู้ผลิต 1,818 1,817 75
เอราวัณ Unocal 278 272 11.2
สตูล Unocal 125 126 5.2
ฟูนานและจักรวาล Unocal 208 200 8.2
สตูลใต้ Unocal 53 49 2
กะพงและปลาทอง Unocal 74 57 2.4
บรรพต Unocal 14 13 0.5
สุราษฎร์ Unocal 1 - -
โกมินทร์ Unocal 24 11 0.5
ปลาหมึก Unocal 3 - -
ปลาแดง Unocal 31 21 0.9
ไพลิน Unocal 234 247 10.2
ตราด Unocal 71 82 3.4
บงกช PTT E&P 548 577 23.8
ทานตะวัน Chevron 57 53 2.2
เบญจมาศ Chevron 97 109 4.5
แหล่งบนบก 130 117 4.8
น้ำพอง Esso 71 60 2.5
สิริกิติ์ Thai Shell 59 57 2.4
แหล่งนำเข้า * 164 491 20.2
ยาดานา สหภาพพม่า 128 380 15.7
เยตากุน สหภาพพม่า 36 111 4.6
รวม 2,112 2,425 100
* ค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติจากพม่า = 1,000 btu/ลบ.ฟุต
2.2 ก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) ปริมาณการผลิตอยู่ที่ระดับ 10,066 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ปริมาณการใช้ในประเทศอยู่ในระดับ 8,441 บาร์เรล/วัน ประกอบด้วย การใช้ในอุตสาหกรรมตัวทำละลาย (Solvent) 6,909 บาร์เรล/วัน และใช้ในโรงกลั่น 1,532 บาร์เรล/วัน อีกส่วนหนึ่งส่งออกไปจำหน่าย ยังประเทศ สิงคโปร์ จำนวน 1,636 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 50.5 เมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี 2543
ตารางที่ 6 การผลิต การส่งออกและการใช้ NGL
หน่วย : บาร์เรล/วัน
รายการ 2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ การเปลี่ยนแปลง (%) สัดส่วน(%)
การผลิต 8,797 10,066 10.3
การส่งออก 2,563 1,636 -50.5
การใช้ 6,080 8,441 68 100
- กลั่นน้ำมัน 399 1,532 876.4 18.1
- SOLVENT 5,681 6,909 27.4 81.9
2.3 น้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับ 59,283 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 9.4 แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ แหล่งเบญจมาศ ของบริษัทเชฟรอน ปริมาณการผลิตได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ผลิตที่ระดับ 26,213 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของการผลิตทั้งหมด และ แหล่งสิริกิติ์ผลิตได้ 22,528 บาร์เรล/วัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.0 นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำมัน ของบริษัทไทยเชลล์ เริ่มทำการผลิตอีกครั้ง คือ แหล่งหนองตูม โดยมีปริมาณการผลิตเป็น 283 บาร์เรล/วัน ในครึ่งแรกของปีนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของความต้องการน้ำมันดิบ ที่ใช้ในการกลั่น (Crude Intake) เท่านั้น จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 706 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 146,400 ล้านบาท
ตารางที่ 7 การผลิตน้ำมันดิบแยกตามแหล่ง
หน่วย : บาร์เรล/วัน แหล่ง ผู้ผลิต 2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน(%)
1. สิริกิติ์ Thai Shell 23,483 22,528 38
2. ปรือกระเทียม Thai Shell 102 96 0.2
3. หนองตูม Thai Shell 262 283 0.5
4. ทานตะวัน Chevron 7,454 7,839 13.2
5. เบญจมาศ Chevron 24,354 26,213 44.2
6. ฝาง กรมการพลังงานทหาร 878 585 1
7. หนึ่งและสอง ปตท. สผ. (BP เดิม) 548 634 1.1
8. บึงหญ้าและบึงม่วง North Central 635 927 1.5
9. วิเชียรบุรี Pacific Tiger Energy 200 161 0.3
(Thailand) Ltd.
10. ศรีเทพ Pacific Tiger Energy (Thailand) Ltd. 21 17 0
รวม 57937 59283 100
2.4 ลิกไนต์/ถ่านหิน ปริมาณการผลิตลิกไนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 8,955 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 โดยร้อยละ 78.4 เป็นการผลิตจากเหมืองแม่เมาะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เหลือร้อยละ 21.6 ผลิตจากเหมืองเอกชน ทั้งนี้มีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) สัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ 13.4 และบริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด (มหาชน) สัดส่วนร้อยละ 5.3 ลิกไนต์ที่ผลิตได้นำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จำนวน 7,520 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การใช้ถ่านหินนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 2,367 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 การใช้เพิ่มขึ้นทั้งภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้าของ SPP
-ยังมีต่อ-
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2543 ตามการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้การส่งออกลดลง ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัว เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 1.4 เป็นการชะลอตัวลง ในทุกหมวดสินค้า ยกเว้น หมวด เครื่องดื่ม สิ่งทอ และการผลิตปิโตรเลียม อย่างไรก็ตามแม้ด้านการผลิตสินค้า จะชะลอตัว แต่ด้านการบริการ ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร การศึกษา สาธารณสุข และบริการอื่นๆ ยังคงมีศักยภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยว
ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ของไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 การใช้พลังงานเกือบทุกประเภทเพิ่มขึ้นยกเว้นผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปที่การใช้ ลดลงร้อยละ 7.3 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 1.4 สาเหตุจากการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลง เนื่องจากต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้ตามภาระที่ ปตท. ได้ทำสัญญาไว้ การผลิตคอนเดนเสทลดลงตามการผลิตก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งผลิตคอนเดนเสท เป็นแหล่งเดียวกับก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งในทะเลทั้งหมด แต่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น โดยการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากแหล่งเบญจมาศเป็นสำคัญ ในขณะนี้แหล่งเบญจมาศผลิตได้จำนวน 26 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ทั้งหมด ขณะที่การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2544 สาเหตุสำคัญมาจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า การนำเข้าถ่านหินและน้ำมันดิบ ส่งผลให้สัดส่วนการ พึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 62 ในปีนี้ รายละเอียดมีดังนี้
ตารางที่ 1 การใช้ การผลิต และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์(1)
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 การเปลี่ยนแปลง (%)
(ม.ค. - มิ.ย.) 2543 2544
การใช้ (2) 1144.4 1205 2.5 3
การผลิต 588.7 592.1
การนำเข้า (สุทธิ) 682.1 743.8 3.7 7.3
การเปลี่ยนแปลงสต็อก 41.3 74.5 - -
การใช้ที่ไม่เป็นพลังงาน (Non-Energy use) 85 89.8 12.5 -6
การนำเข้า/การใช้ (%) 59.6 61.7
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%) 4.3**
(1) พลังงานเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหิน/ลิกไนต์
(2) การใช้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงสต็อก และการใช้ที่ไม่เป็นพลังงาน (Non-Energy use) ได้แก่ การใช้ยางมะตอย NGL Condensate LPG และ Naptha เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
** ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
1.1 การใช้ ปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 1,205 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน การใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.2 เป็นผลจาก กฟผ. เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตาเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากในปีนี้ราคาน้ำมันเตาสูงมาก นอกจากนั้น โรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ได้เริ่มผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบในช่วงปลายปี 2543 การใช้ลิกไนต์และถ่านหินนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ของอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าของ SPP ขณะที่การใช้น้ำมันปิโตรเลียมลดลงร้อยละ 7.3 สาเหตุจาก กฟผ. ใช้น้ำมันเตาลดลง ประกอบกับการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี สัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย น้ำมันปิโตรเลียมร้อยละ 47.0 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 36.2 ลิกไนต์และถ่านหินร้อยละ 14.1 ไฟฟ้าพลังน้ำและนำเข้าร้อยละ 2.8
ตารางที่ 2 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%) การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป 578.8 566 47 -7.3
ก๊าซธรรมชาติ 379.7 435.7 36.2 17.2
ลิกไนต์และถ่านหิน 154.8 169.8 14 9.9
ไฟฟ้าพลังน้ำและนำเข้า 31.2 33.5 2.8 1.8
รวม 1144.4 1205 100 3
การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ลิกไนต์/ถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และไฟฟ้า (รวมไฟฟ้าที่ผลิตจาก SPP ด้วย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
1.2 การผลิต ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์มีจำนวน 592 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 การผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงเนื่องจาก ปตท. ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้ในโรงไฟฟ้าราชบุรีและโรงไฟฟ้าของ IPP ตามสัญญาที่ได้ทำไว้ และมีผลทำให้การผลิตคอนเดนเสทลดลงเช่นเดียวกับการผลิตก๊าซธรรมชาติเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเดียวกัน การผลิตลิกไนต์ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการผลิตของภาคเอกชนลดลง แต่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีมาก และการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากแหล่งเบญจมาศที่สามารถผลิตได้อย่างเต็มที่ในปีนี้ การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 58.7 ลิกไนต์ร้อยละ 18.2 น้ำมันดิบ ร้อยละ 10.0 คอนเดนเสทร้อยละ 8.1 และไฟฟ้าพลังน้ำร้อยละ 5.0
ตารางที่ 3 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%) การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบ 57.9 59.3 10 9.3
ก๊าซธรรมชาติ 350.1 347.6 58.7 -3.5
คอนเดนเสท 47.5 48.2 8.1 -0.8
ถ่านลิกไนต์ 107 107.6 18.2 -1.3
ไฟฟ้าพลังน้ำ 26.1 29.5 5 2.9
รวม 588.7 592.1 100 -1.4
1.3 การนำเข้าสุทธิ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 744 พันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 สาเหตุสำคัญ จากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า โดย 6 เดือนแรกนี้ มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ จำนวน 491 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันกับปี 2543 นอกจากนั้นการนำเข้าถ่านหิน และน้ำมันดิบ ก็มีอัตราการเพิ่ม ในระดับที่สูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในช่วง 6 เดือนแรกนี้ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป เนื่องจากการผลิต สูงกว่าความต้องการภายในประเทศมาก
ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้า (ส่งออก) พลังงานเชิงพาณิชย์
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบ/วัน
2543 2544 (ม.ค. - มิ.ย.)
ปริมาณ การเปลี่ยนแปลง (%)
น้ำมันดิบ 643.1 743.8 6
ก๊าซธรรมชาติ 29.6 88.3 665.3
น้ำมันสำเร็จรูป -43.4 -75.8 706.2
คอนเดนเสท -4.4 -4.7 -47.5
ถ่านหิน 52.2 59.7 20.6
ไฟฟ้า 5.1 4.1 -5.6
รวม 682.1 743.8 7.3
2. สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิด
2.1 ก๊าซธรรมชาติ การใช้ก๊าซธรรมชาติในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 2,425 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.2 การใช้เพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตไฟฟ้า และอุตสาหกรรม เนื่องจากราคาน้ำมันเตาในปีนี้ สูงขึ้นมาก ทำให้ กฟผ. ลดการใช้น้ำมันเตาลง และใช้ก๊าซธรรมชาติแทน นอกจากนั้นยังมีโรงไฟฟ้า จากโครงการ IPP ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิง เริ่มผลิตไฟฟ้า จ่ายเข้าระบบของ กฟผ. ได้แก่ โรงไฟฟ้าราชบุรี ที่เริ่มผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศ มีจำนวน 1,934 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ร้อยละ 80) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 เล็กน้อย แต่มีการนำเข้าจากแหล่งยาดานา และแหล่งเยตากุน จากประเทศพม่าจำนวน 491 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน (ร้อยละ 20) แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งบงกช เอราวัณ ไพลิน สตูล ฟูนาน จักรวาล และแหล่งเบญจมาศ เป็นต้น
ตารางที่ 5 การผลิตก๊าซธรรมชาติ
หน่วย : ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน (%)
แหล่งอ่าวไทย ผู้ผลิต 1,818 1,817 75
เอราวัณ Unocal 278 272 11.2
สตูล Unocal 125 126 5.2
ฟูนานและจักรวาล Unocal 208 200 8.2
สตูลใต้ Unocal 53 49 2
กะพงและปลาทอง Unocal 74 57 2.4
บรรพต Unocal 14 13 0.5
สุราษฎร์ Unocal 1 - -
โกมินทร์ Unocal 24 11 0.5
ปลาหมึก Unocal 3 - -
ปลาแดง Unocal 31 21 0.9
ไพลิน Unocal 234 247 10.2
ตราด Unocal 71 82 3.4
บงกช PTT E&P 548 577 23.8
ทานตะวัน Chevron 57 53 2.2
เบญจมาศ Chevron 97 109 4.5
แหล่งบนบก 130 117 4.8
น้ำพอง Esso 71 60 2.5
สิริกิติ์ Thai Shell 59 57 2.4
แหล่งนำเข้า * 164 491 20.2
ยาดานา สหภาพพม่า 128 380 15.7
เยตากุน สหภาพพม่า 36 111 4.6
รวม 2,112 2,425 100
* ค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติจากพม่า = 1,000 btu/ลบ.ฟุต
2.2 ก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) ปริมาณการผลิตอยู่ที่ระดับ 10,066 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ปริมาณการใช้ในประเทศอยู่ในระดับ 8,441 บาร์เรล/วัน ประกอบด้วย การใช้ในอุตสาหกรรมตัวทำละลาย (Solvent) 6,909 บาร์เรล/วัน และใช้ในโรงกลั่น 1,532 บาร์เรล/วัน อีกส่วนหนึ่งส่งออกไปจำหน่าย ยังประเทศ สิงคโปร์ จำนวน 1,636 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 50.5 เมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี 2543
ตารางที่ 6 การผลิต การส่งออกและการใช้ NGL
หน่วย : บาร์เรล/วัน
รายการ 2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ การเปลี่ยนแปลง (%) สัดส่วน(%)
การผลิต 8,797 10,066 10.3
การส่งออก 2,563 1,636 -50.5
การใช้ 6,080 8,441 68 100
- กลั่นน้ำมัน 399 1,532 876.4 18.1
- SOLVENT 5,681 6,909 27.4 81.9
2.3 น้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ในระดับ 59,283 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 9.4 แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ แหล่งเบญจมาศ ของบริษัทเชฟรอน ปริมาณการผลิตได้เพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ผลิตที่ระดับ 26,213 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 44.2 ของการผลิตทั้งหมด และ แหล่งสิริกิติ์ผลิตได้ 22,528 บาร์เรล/วัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.0 นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำมัน ของบริษัทไทยเชลล์ เริ่มทำการผลิตอีกครั้ง คือ แหล่งหนองตูม โดยมีปริมาณการผลิตเป็น 283 บาร์เรล/วัน ในครึ่งแรกของปีนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของความต้องการน้ำมันดิบ ที่ใช้ในการกลั่น (Crude Intake) เท่านั้น จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 706 พันบาร์เรล/วัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 146,400 ล้านบาท
ตารางที่ 7 การผลิตน้ำมันดิบแยกตามแหล่ง
หน่วย : บาร์เรล/วัน แหล่ง ผู้ผลิต 2543 2544 (ม.ค. | มิ.ย.)
ปริมาณ สัดส่วน(%)
1. สิริกิติ์ Thai Shell 23,483 22,528 38
2. ปรือกระเทียม Thai Shell 102 96 0.2
3. หนองตูม Thai Shell 262 283 0.5
4. ทานตะวัน Chevron 7,454 7,839 13.2
5. เบญจมาศ Chevron 24,354 26,213 44.2
6. ฝาง กรมการพลังงานทหาร 878 585 1
7. หนึ่งและสอง ปตท. สผ. (BP เดิม) 548 634 1.1
8. บึงหญ้าและบึงม่วง North Central 635 927 1.5
9. วิเชียรบุรี Pacific Tiger Energy 200 161 0.3
(Thailand) Ltd.
10. ศรีเทพ Pacific Tiger Energy (Thailand) Ltd. 21 17 0
รวม 57937 59283 100
2.4 ลิกไนต์/ถ่านหิน ปริมาณการผลิตลิกไนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 8,955 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2543 โดยร้อยละ 78.4 เป็นการผลิตจากเหมืองแม่เมาะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เหลือร้อยละ 21.6 ผลิตจากเหมืองเอกชน ทั้งนี้มีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) สัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ 13.4 และบริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด (มหาชน) สัดส่วนร้อยละ 5.3 ลิกไนต์ที่ผลิตได้นำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จำนวน 7,520 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การใช้ถ่านหินนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 มีจำนวน 2,367 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 การใช้เพิ่มขึ้นทั้งภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้าของ SPP
-ยังมีต่อ-
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-