1. ธปท.ติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.ในฐานะโฆษก ธปท.กล่าวว่า ธปท.มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วในระยะนี้ และพยายามวิเคราะห์เหตุผลต่างๆ โดยเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ได้มีการประชุมคณะกรรมการตลาดเงิน เพื่อหาวิธีการติดตามภาวะตลาดและการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับเรื่องที่สามารถสรุปได้ชัดเจนคือ ไม่เหมาะสมที่ธนาคารกลางจะออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นรายวัน เพราะอาจมีการตีความทำให้เกิดความสับสน ขณะเดียวกัน นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวว่า เรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนตัวนั้น ธปท.ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรงจะเป็นผู้ดูแล เพราะอยู่ในฐานะผู้ดำเนินการ ไม่ควรให้ฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาแทรกแซง เพราะจากเหตุการณ์เมื่อปี 40 ที่รัฐบาลลดค่าเงินบาทน่าจะเป็นบทเรียนพอสมควรแล้ว ดังนั้น ต้องยอมรับที่จะให้ ธปท.มีอิสระในการทำหน้าที่ดูแลตลาดเงิน (กรุงเทพธุรกิจ 25)
2. ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน
ก.ย.43 ธพ.ทั้งระบบมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 1.06 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.34 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือนก่อนที่มียอดคงค้าง 1.53 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.08 โดยปัจจัยหลักมาจากการโอนเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทย จำนวน 5 แสน ล.บาท ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) และ ธ.ไทย
ทนุได้ขายเอ็นพีแอลออกไปจำนวน 3 หมื่น ล.บาท ทั้งนี้ ยอดคงค้างเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยมีจำนวน1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.82 ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1.49 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.54 ของสินเชื่อรวม โดยเอ็นพีแอลของ ธพ.เอกชนมีจำนวน 5.26 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 20.11 และ ธพ.ของรัฐ 4.93 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 33.09 เทียบกับเดือน ส.ค.43 ที่จำนวน 5.74, 9.14 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 21.66 และ 55.11 ตามลำดับ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องของ ธพ.เอกชนมีจำนวนทั้งสิ้น 7.88 หมื่น ล.บาท หรือร้อยละ 3.01 (ไทยโพสต์,ผู้จัดการรายวัน 25)
3. รัฐบาลกำหนดเพดานการก่อหนี้ต่างประเทศในปี 44 รมว.คลังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการกำหนดเพดานแผนการก่อหนี้ต่างประเทศประจำปี งปม.44 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากต้องการลดภาระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ ครม.ได้เห็นชอบโครงการเงินกู้ 12 โครงการ วงเงิน 3,766.41 แยกเป็นโครงการของส่วนราชการ 625.66 ล.ดอลลาร์ และรัฐวิสาหกิจ 1,140.75 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 25)
4. ครม.มีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตรจำนวน 20,000 ล.บาท รมว.คลังเปิดเผยว่า ครม. มีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตรวงเงิน 20,000 ล.บาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 44 และเป็นทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ประชาชน รวมทั้งอนุมัติให้ ก.คลังอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 9,000 ล.บาท ซึ่งกู้จาก ธปท.เพื่อนำไปให้กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมกู้ยืม โดยมีกำหนดชำระคืนไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่กำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 (วัฏจักร 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. เกินดุลงบประมาณเป็นจำนวนถึง 237 พัน ล. ดอลลาร์ในปี งปม. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 43 ก. คลัง สรอ. เปิดเผยว่า ปี งปม. 43 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 สรอ. เกินดุล งปม. จำนวน 237 พัน ล. ดอลลาร์ โดยรัฐบาลเก็บรายได้มากกว่าการใช้จ่าย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง นับเป็นการเกินดุล งปม. ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 หลังจากที่เกินดุลจำนวน 124 พัน ล. ดอลลาร์ ใน ปี งปม. 42 และจำนวน 69 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี งปม. 41 ซึ่งเป็นปีแรกที่ สรอ. เกินดุลในรอบมากกว่า 50 ปี และเฉพาะเดือน ก.ย. 43 สรอ. เกินดุล งปม. จำนวน 65.82 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 42 ที่มีจำนวน 58.04 พัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้ ในปี งปม. 43 รายรับส่วนใหญ่ของรัฐบาลได้จากการจัดเก็บภาษี ซึ่งเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 2.025 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 1.827 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี งปม. 42 ขณะเดียวกัน รายจ่ายเพิ่มขึ้นที่จำนวน 1.788 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 1.703 ล้านล้านดอลลาร์ โดยรายได้จากภาษีส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 1.004 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 879.48 พัน ล. ดอลลาร์ และภาษีนิติบุคคล เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 207.29 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 184.68 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี งปม. 42 (รอยเตอร์ 24)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 24 ต.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ตามตัวเลขเบื้องต้น เทียบต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 จากระดับร้อยละ 2.5ในเดือน ก.ย.43 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 6 ปี ทั้งนี้ เทียบต่อเดือน CPI ลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย. 43 นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การลดลงของ CPI ในเดือน ต.ค.นี้ เป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบลดลงตั้งแต่เมื่อกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และเตือนว่า CPI มีแนวโน้มกลับสูงขึ้นได้อีกในเดือน พ.ย. 43 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง สำหรับในเดือน ก.ย.43 ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งเป็นเครื่องชี้แรงกดดันของ CPI เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี เมื่อเทียบต่อปี อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.3 จากที่ระดับร้อยละ 3.5 ในเดือน ส.ค.43 เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงเดือนดังกล่าว (รอยเตอร์ 24)
3. ยอดการค้าปลีกโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ(MITI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ยอดการค้าปลีกโดยรวมลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับระยะเดียวกันปี 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 42 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 ยอดการค้าปลีกของร้านค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 5 สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 ยอดการค้าปลีกฯ ลดลงร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 43 43.991 (43.401)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 43
ซื้อ 43.8188 (43.1501) ขาย 44.1290 (43.4602)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.06 (30.76)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
2. ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน
ก.ย.43 ธพ.ทั้งระบบมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 1.06 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.34 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือนก่อนที่มียอดคงค้าง 1.53 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.08 โดยปัจจัยหลักมาจากการโอนเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทย จำนวน 5 แสน ล.บาท ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) และ ธ.ไทย
ทนุได้ขายเอ็นพีแอลออกไปจำนวน 3 หมื่น ล.บาท ทั้งนี้ ยอดคงค้างเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยมีจำนวน1.02 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.82 ลดลงจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1.49 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.54 ของสินเชื่อรวม โดยเอ็นพีแอลของ ธพ.เอกชนมีจำนวน 5.26 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 20.11 และ ธพ.ของรัฐ 4.93 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 33.09 เทียบกับเดือน ส.ค.43 ที่จำนวน 5.74, 9.14 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 21.66 และ 55.11 ตามลำดับ สำหรับการปล่อยสินเชื่อให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องของ ธพ.เอกชนมีจำนวนทั้งสิ้น 7.88 หมื่น ล.บาท หรือร้อยละ 3.01 (ไทยโพสต์,ผู้จัดการรายวัน 25)
3. รัฐบาลกำหนดเพดานการก่อหนี้ต่างประเทศในปี 44 รมว.คลังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการกำหนดเพดานแผนการก่อหนี้ต่างประเทศประจำปี งปม.44 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากต้องการลดภาระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ ครม.ได้เห็นชอบโครงการเงินกู้ 12 โครงการ วงเงิน 3,766.41 แยกเป็นโครงการของส่วนราชการ 625.66 ล.ดอลลาร์ และรัฐวิสาหกิจ 1,140.75 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 25)
4. ครม.มีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตรจำนวน 20,000 ล.บาท รมว.คลังเปิดเผยว่า ครม. มีมติให้ ก.คลังออกพันธบัตรวงเงิน 20,000 ล.บาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี 44 และเป็นทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ประชาชน รวมทั้งอนุมัติให้ ก.คลังอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 9,000 ล.บาท ซึ่งกู้จาก ธปท.เพื่อนำไปให้กิจการขนาดกลางและขนาดย่อมกู้ยืม โดยมีกำหนดชำระคืนไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่กำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 (วัฏจักร 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. เกินดุลงบประมาณเป็นจำนวนถึง 237 พัน ล. ดอลลาร์ในปี งปม. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 43 ก. คลัง สรอ. เปิดเผยว่า ปี งปม. 43 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 สรอ. เกินดุล งปม. จำนวน 237 พัน ล. ดอลลาร์ โดยรัฐบาลเก็บรายได้มากกว่าการใช้จ่าย เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง นับเป็นการเกินดุล งปม. ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 หลังจากที่เกินดุลจำนวน 124 พัน ล. ดอลลาร์ ใน ปี งปม. 42 และจำนวน 69 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี งปม. 41 ซึ่งเป็นปีแรกที่ สรอ. เกินดุลในรอบมากกว่า 50 ปี และเฉพาะเดือน ก.ย. 43 สรอ. เกินดุล งปม. จำนวน 65.82 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 42 ที่มีจำนวน 58.04 พัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้ ในปี งปม. 43 รายรับส่วนใหญ่ของรัฐบาลได้จากการจัดเก็บภาษี ซึ่งเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 2.025 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 1.827 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี งปม. 42 ขณะเดียวกัน รายจ่ายเพิ่มขึ้นที่จำนวน 1.788 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 1.703 ล้านล้านดอลลาร์ โดยรายได้จากภาษีส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 1.004 ล้านล้านดอลลาร์ จากจำนวน 879.48 พัน ล. ดอลลาร์ และภาษีนิติบุคคล เพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 207.29 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 184.68 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี งปม. 42 (รอยเตอร์ 24)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 24 ต.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ตามตัวเลขเบื้องต้น เทียบต่อปีลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 จากระดับร้อยละ 2.5ในเดือน ก.ย.43 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 6 ปี ทั้งนี้ เทียบต่อเดือน CPI ลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.ย. 43 นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การลดลงของ CPI ในเดือน ต.ค.นี้ เป็นผลมาจากการที่ราคาน้ำมันดิบลดลงตั้งแต่เมื่อกลางเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และเตือนว่า CPI มีแนวโน้มกลับสูงขึ้นได้อีกในเดือน พ.ย. 43 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งจากเหตุการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง สำหรับในเดือน ก.ย.43 ดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งเป็นเครื่องชี้แรงกดดันของ CPI เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี เมื่อเทียบต่อปี อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.3 จากที่ระดับร้อยละ 3.5 ในเดือน ส.ค.43 เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในช่วงเดือนดังกล่าว (รอยเตอร์ 24)
3. ยอดการค้าปลีกโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ(MITI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ยอดการค้าปลีกโดยรวมลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับระยะเดียวกันปี 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 42 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 ยอดการค้าปลีกของร้านค้าขนาดใหญ่ ซึ่งอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 5 สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 ยอดการค้าปลีกฯ ลดลงร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 43 43.991 (43.401)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 43
ซื้อ 43.8188 (43.1501) ขาย 44.1290 (43.4602)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,550) ขาย 5,650 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.06 (30.76)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-