กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
เมื่อเดือนตุลาคม 2543 ยางรถยนต์ที่ผลิตจากบริษัท Firestone ในสหรัฐอเมริกามีปัญหาด้านความปลอดภัย และถูกทางการของประเทศตะวันตกหลายประเทศสั่งห้ามจำหน่ายในท้องตลาด และคูเวตเป็นประเทศแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีคำสั่งห้ามนำเข้า จัดแสดง หรือจำหน่ายยางรถยนต์ทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นยางที่ใช้แล้วหรือยางที่อยู่ในสต็อก หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2544 เป็นต้นไป สำหรับยางรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่นั้น จะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ผลิต ประเทศ วันที่ผลิต ชนิด น้ำหนัก และขนาดของยาง ซึ่งจัดทำเป็นภาษาอารบิกแนบมาด้วย
จากมาตรการดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้แก่สถานทูตไทยในคูเวต จึงได้เตือนผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางรถยนต์ของไทย เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการห้ามนำเข้ายางรถยนต์ของคูเวต ทั้งนี้คูเวตได้ออกคำสั่งห้ามนำเข้ายางรถยนต์ หลังจากที่มีข่าวแพร่ออกไปทั่วโลกว่ารถยนต์ที่ใช้ยาง Firestone ประสบอุบัติเหตุหลายราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคูเวตมีความเข้มงวดกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศมาก โดยยึดมาตรฐานเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ใส่ใจความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยควรตระหนักว่า การที่จะส่งสินค้าของเราออกไปแข่งขันในตลาดโลกนั้น นอกจากสินค้าไทยจะต้องได้มาตรฐานสากลแล้ว การคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค-อุปโภค เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญควบคู่ไปกับคุณภาพของสินค้าด้วย มิฉะนั้น หากเกิดความผิดพลาดขึ้นเพียงครั้งเดียว ชื่อเสียงของบริษัทที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ก็จะพลอยสูญหายไปในชั่วพริบตา ดังตัวอย่างของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ได้กล่าวมาแล้ว
สำหรับการส่งออกยางรถยนต์ของไทย ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) มูลค่าเฉลี่ยปีละ 293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกยางรถยนต์มูลค่า 323.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น พม่า ฮ่องกง และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่า 41.0, 32.4, 18.8, 18.1 และ 15.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ขณะที่ตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่ไทยส่งออกไป ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซีเรีย ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และเลบานอน โดยมีมูลค่า 7.4, 1.8, 1.1, 1.1 และ 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ส่วนคูเวตไทยส่งออกไปเป็นลำดับที่ 10 ในกลุ่มตะวันออกกลาง โดยใน 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) ไทยส่งยางรถยนต์ไปคูเวตเฉลี่ยปีละ .08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกไปแล้ว 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับ บริษัท ไฟร์สโตน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับทราบว่า บริษัทฯ ได้ส่งออกยางรถยนต์ไปคูเวตมีมูลค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ได้ส่งออกไปดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และมาตรการดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบกับทางบริษัท เพราะทางบริษัทได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ผลิต ประเทศ วันที่ผลิต ชนิด น้ำหนัก และขนาดของยาง ซึ่งจัดทำเป็นภาษาอารบิกแนบไปด้วย อีกทั้งบริษัทยังได้มีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมคุณภาพ (Quality Control - QC) มากยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
เมื่อเดือนตุลาคม 2543 ยางรถยนต์ที่ผลิตจากบริษัท Firestone ในสหรัฐอเมริกามีปัญหาด้านความปลอดภัย และถูกทางการของประเทศตะวันตกหลายประเทศสั่งห้ามจำหน่ายในท้องตลาด และคูเวตเป็นประเทศแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีคำสั่งห้ามนำเข้า จัดแสดง หรือจำหน่ายยางรถยนต์ทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นยางที่ใช้แล้วหรือยางที่อยู่ในสต็อก หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2544 เป็นต้นไป สำหรับยางรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่นั้น จะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ผลิต ประเทศ วันที่ผลิต ชนิด น้ำหนัก และขนาดของยาง ซึ่งจัดทำเป็นภาษาอารบิกแนบมาด้วย
จากมาตรการดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้แก่สถานทูตไทยในคูเวต จึงได้เตือนผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางรถยนต์ของไทย เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการห้ามนำเข้ายางรถยนต์ของคูเวต ทั้งนี้คูเวตได้ออกคำสั่งห้ามนำเข้ายางรถยนต์ หลังจากที่มีข่าวแพร่ออกไปทั่วโลกว่ารถยนต์ที่ใช้ยาง Firestone ประสบอุบัติเหตุหลายราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคูเวตมีความเข้มงวดกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศมาก โดยยึดมาตรฐานเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ใส่ใจความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยควรตระหนักว่า การที่จะส่งสินค้าของเราออกไปแข่งขันในตลาดโลกนั้น นอกจากสินค้าไทยจะต้องได้มาตรฐานสากลแล้ว การคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค-อุปโภค เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญควบคู่ไปกับคุณภาพของสินค้าด้วย มิฉะนั้น หากเกิดความผิดพลาดขึ้นเพียงครั้งเดียว ชื่อเสียงของบริษัทที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ก็จะพลอยสูญหายไปในชั่วพริบตา ดังตัวอย่างของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ได้กล่าวมาแล้ว
สำหรับการส่งออกยางรถยนต์ของไทย ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) มูลค่าเฉลี่ยปีละ 293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งออกยางรถยนต์มูลค่า 323.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น พม่า ฮ่องกง และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่า 41.0, 32.4, 18.8, 18.1 และ 15.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ขณะที่ตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่ไทยส่งออกไป ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซีเรีย ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และเลบานอน โดยมีมูลค่า 7.4, 1.8, 1.1, 1.1 และ 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ส่วนคูเวตไทยส่งออกไปเป็นลำดับที่ 10 ในกลุ่มตะวันออกกลาง โดยใน 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) ไทยส่งยางรถยนต์ไปคูเวตเฉลี่ยปีละ .08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 ส่งออกไปแล้ว 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับ บริษัท ไฟร์สโตน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับทราบว่า บริษัทฯ ได้ส่งออกยางรถยนต์ไปคูเวตมีมูลค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับที่ได้ส่งออกไปดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และมาตรการดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบกับทางบริษัท เพราะทางบริษัทได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ผลิต ประเทศ วันที่ผลิต ชนิด น้ำหนัก และขนาดของยาง ซึ่งจัดทำเป็นภาษาอารบิกแนบไปด้วย อีกทั้งบริษัทยังได้มีมาตรการเข้มงวดในการควบคุมคุณภาพ (Quality Control - QC) มากยิ่งขึ้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-