ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนมิถุนายน 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 65 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้าน ต้นทุนการประกอบการ และด้านแนวโน้มการส่งออกแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการจ้างงานดีขึ้น สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนหน้าคาดว่าจะทรงตัว โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.6 และปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.2 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 และร้อยละ 50.0 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการควบคุมค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้าโดยไม่สั่งสินค้ามาเก็บไว้เป็นจำนวนมากแต่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.9 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 40.9 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 44 ผู้ประกอบการมีการให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องทางธุรกิจจะทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน มิ.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มทรงตัว และค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรเร่งสร้างงานและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
3.2 ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากราคาไม่คุ้มทุนและส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร รวมทั้งควรหาตลาดสินค้าเกษตรให้มากขึ้น
3.3 ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมัน ที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
3.4 ภาครัฐควรมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน และดึงเม็ดเงิน ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
3.5 รัฐควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละ 5 เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนให้สูงขึ้น
3.6 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชะลอการลงทุน และยังคงประคองธุรกิจต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้าน ต้นทุนการประกอบการ และด้านแนวโน้มการส่งออกแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านการจ้างงานดีขึ้น สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนหน้าคาดว่าจะทรงตัว โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.6 และปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.2 ในช่วง ส.ค.-ต.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 และร้อยละ 50.0 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการควบคุมค่าใช้จ่ายในการสต๊อกสินค้าโดยไม่สั่งสินค้ามาเก็บไว้เป็นจำนวนมากแต่มีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไปเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.9 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 40.9 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน มิ.ย. 44 ผู้ประกอบการมีการให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องทางธุรกิจจะทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ส.ค.-ต.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน มิ.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มทรงตัว และค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ทั้งนี้จะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรเร่งสร้างงานและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่น
3.2 ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจากราคาไม่คุ้มทุนและส่งผลต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร รวมทั้งควรหาตลาดสินค้าเกษตรให้มากขึ้น
3.3 ภาครัฐควรให้ความสนใจเรื่องค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานและราคาน้ำมัน ที่สูงขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น
3.4 ภาครัฐควรมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ประชาชนผู้ฝากเงิน และดึงเม็ดเงิน ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น
3.5 รัฐควรลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหลือร้อยละ 5 เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนให้สูงขึ้น
3.6 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ชะลอการลงทุน และยังคงประคองธุรกิจต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-