กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะประธานคณะทำงานเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ภายใต้คณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก ได้จัดประชุมคณะทำงานการค้าและสิ่งแวดล้อมเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2544 เพื่อพิจารณากำหนดท่าทีเบื้องต้นของไทยเรื่องสิ่งแวดล้อมในการประชุม รัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ที่กาตาร์ และประเด็นที่จะมีการพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2544 ณ นครเจนีวา ซึ่งจะพิจารณาในเรื่องการตีความความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติทางการค้าภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ( MEAs) และ WTO การกำหนด guidelines เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้ Precaution Principle และการจัดทำ guidelines ในข้อกำหนดการติดฉลาก (Labelling) ซึ่งเป็นข้อเสนอของสหภาพยุโรป
ท่าทีไทยในเรื่องสิ่งแวดล้อมในการเจรจารอบใหม่
ประธานคณะมนตรีใหญ่ได้จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 เพื่อพิจารณาเตรียมการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสมาชิกยังมีความเห็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่เห็นว่า ให้มีมติเพื่อให้มีเรื่องการตีความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติทางการค้าภายใต้ MEAs และ WTO การทบทวนและตีความรวมทั้งจัดทำ guidelines เกี่ยวกับมาตรการ Precaution ภายใต้ความตกลง SPS และ ความตกลง TBT และเรื่องจัดทำ guidelines การติดฉลากโดยเฉพาะ Eco-labelling guidelines นำโดยสหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ฮังการี ญี่ปุ่น นอร์เว และสาธารณรัฐเช็กสนับสนุน โดยมีนอร์เวสนับสนุน (2) กลุ่มที่คัดค้านทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เช่น อาร์เจนตินา ชิลี บราซิล เม็กซิโก มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น โดยเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีการหารือ ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม หรือ CTE อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการตัดสินใจจาก รัฐมนตรีเพิ่มเติมในที่ประชุมที่กาตาร์
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ไม่สนับสนุน ให้ใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันการค้า ควรมีความสมดุลระหว่างการค้าและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนองตอบทั้งความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการด้านการค้า และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ guidelines ในเรื่องเกี่ยวกับมาตรการ Precaution และการติดฉลากเขียว หรือ Eco-labelling ใน WTO ซึ่งจะกลายเป็นมาตรการบังคับต่อไป
การตีความความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติทางการค้าภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ( MEAs) และ WTO
สหภาพยุโรปผลักดันที่จะให้มีการตีความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความตกลงทั้งสองให้ชัดเจน โดยเห็นว่า ในหลักการ WTO และ MEAs ควรดำเนินการในแนวทางที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และให้มีความ ร่วมมือระหว่าง WTO และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ MEAs เช่น UNEP นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังเสนอให้มีการแก้ไข Article XX ของแกตต์ โดยผลักภาระการพิสูจน์ให้แก่ประเทศซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศหนึ่งๆ โดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผู้พิสูจน์ว่าเหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผลอย่างไร
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสหภาพยุโรป เนื่องจาก จะเปิดโอกาสให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าโดยอ้างเหตุผลสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องมีการเจรจาแก้ไขมาตรา XX แล้ว ไทยควรใช้กลยุทธ์ในเชิงรุกบ้าง โดยการเสนอประเด็นที่ไทยและประเทศกำลัง-พัฒนาให้ความสำคัญ เช่น การแก้ไขบทบัญญัติอื่นๆ ของ WTO เพื่อให้ประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
หลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle)
สหภาพยุโรปเสนอให้มีการทบทวนและตีความเกี่ยวกับหลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) ในความตกลง SPS และ TBT โดยเสนอให้จัดทำ guidelines เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้ Precautionary Principle เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถดำเนินการในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้มีความโปร่งใสในการประเมินและบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่เลือกปฏิบัติต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติต่างๆที่มีอยู่ คำนึงถึงต้นทุนของการใช้มาตรการดังกล่าว และทบทวนได้เมื่อมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ เห็นว่าไม่ควรให้มีการเปิดให้แก้ไขความตกลง SPS และ TBT เพื่อกำหนด guidelines เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้หลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) แต่ให้เจรจาในเวทีองค์การระหว่างประเทศ เช่น Codex Committee on General Principle และ UNEP ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่
การติดฉลาก (Labelling)
สหภาพยุโรปได้เสนอให้มี guidelines ในข้อกำหนดการติดฉลาก (Labelling)ภายใต้ความตกลง TBT โดยไม่เกี่ยวกับตัวสินค้า เช่น การติดฉลากเขียว เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งได้ขยายขอบเขตความต้องการรับรู้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมากกว่าข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ทำให้มาตรการติดฉลากมีหลายรูปแบบ เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับการรับรองให้ติดฉลากดังกล่าว ทั้งนี้ สหภาพยุโรปพร้อมจะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนากฎระเบียบและวิธีการในการกำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการติดฉลากดังกล่าว
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ ไม่เห็นด้วยกับการเจรจากำหนด guidelines เกี่ยวกับฉลากเขียว (Eco-labelling) ในความ ตกลง TBT เพราะไม่ต้องการแก้ไขความตกลง การกำหนด guidelines ควรพิจารณาในองค์กรกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันหน่วยงานในประเทศก็ได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานภายในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมของไทยในการส่งออก
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ท่าทีไทยในเรื่องสิ่งแวดล้อมในการเจรจารอบใหม่
ประธานคณะมนตรีใหญ่ได้จัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 เพื่อพิจารณาเตรียมการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งสมาชิกยังมีความเห็นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่เห็นว่า ให้มีมติเพื่อให้มีเรื่องการตีความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติทางการค้าภายใต้ MEAs และ WTO การทบทวนและตีความรวมทั้งจัดทำ guidelines เกี่ยวกับมาตรการ Precaution ภายใต้ความตกลง SPS และ ความตกลง TBT และเรื่องจัดทำ guidelines การติดฉลากโดยเฉพาะ Eco-labelling guidelines นำโดยสหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ฮังการี ญี่ปุ่น นอร์เว และสาธารณรัฐเช็กสนับสนุน โดยมีนอร์เวสนับสนุน (2) กลุ่มที่คัดค้านทั้ง 3 เรื่อง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เช่น อาร์เจนตินา ชิลี บราซิล เม็กซิโก มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น โดยเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีการหารือ ภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม หรือ CTE อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการตัดสินใจจาก รัฐมนตรีเพิ่มเติมในที่ประชุมที่กาตาร์
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ไม่สนับสนุน ให้ใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันการค้า ควรมีความสมดุลระหว่างการค้าและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนองตอบทั้งความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการด้านการค้า และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำ guidelines ในเรื่องเกี่ยวกับมาตรการ Precaution และการติดฉลากเขียว หรือ Eco-labelling ใน WTO ซึ่งจะกลายเป็นมาตรการบังคับต่อไป
การตีความความสัมพันธ์ระหว่างบทบัญญัติทางการค้าภายใต้ความตกลงสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ( MEAs) และ WTO
สหภาพยุโรปผลักดันที่จะให้มีการตีความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความตกลงทั้งสองให้ชัดเจน โดยเห็นว่า ในหลักการ WTO และ MEAs ควรดำเนินการในแนวทางที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และให้มีความ ร่วมมือระหว่าง WTO และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ MEAs เช่น UNEP นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังเสนอให้มีการแก้ไข Article XX ของแกตต์ โดยผลักภาระการพิสูจน์ให้แก่ประเทศซึ่งได้รับความเสียหายจากการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศหนึ่งๆ โดยอ้างเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผู้พิสูจน์ว่าเหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผลอย่างไร
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสหภาพยุโรป เนื่องจาก จะเปิดโอกาสให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าโดยอ้างเหตุผลสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องมีการเจรจาแก้ไขมาตรา XX แล้ว ไทยควรใช้กลยุทธ์ในเชิงรุกบ้าง โดยการเสนอประเด็นที่ไทยและประเทศกำลัง-พัฒนาให้ความสำคัญ เช่น การแก้ไขบทบัญญัติอื่นๆ ของ WTO เพื่อให้ประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
หลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle)
สหภาพยุโรปเสนอให้มีการทบทวนและตีความเกี่ยวกับหลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) ในความตกลง SPS และ TBT โดยเสนอให้จัดทำ guidelines เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้ Precautionary Principle เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถดำเนินการในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้มีความโปร่งใสในการประเมินและบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่เลือกปฏิบัติต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติต่างๆที่มีอยู่ คำนึงถึงต้นทุนของการใช้มาตรการดังกล่าว และทบทวนได้เมื่อมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ เห็นว่าไม่ควรให้มีการเปิดให้แก้ไขความตกลง SPS และ TBT เพื่อกำหนด guidelines เกี่ยวกับเงื่อนไขการใช้หลักการป้องกันล่วงหน้า (Precautionary Principle) แต่ให้เจรจาในเวทีองค์การระหว่างประเทศ เช่น Codex Committee on General Principle และ UNEP ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่
การติดฉลาก (Labelling)
สหภาพยุโรปได้เสนอให้มี guidelines ในข้อกำหนดการติดฉลาก (Labelling)ภายใต้ความตกลง TBT โดยไม่เกี่ยวกับตัวสินค้า เช่น การติดฉลากเขียว เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคซึ่งได้ขยายขอบเขตความต้องการรับรู้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมากกว่าข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ทำให้มาตรการติดฉลากมีหลายรูปแบบ เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับการรับรองให้ติดฉลากดังกล่าว ทั้งนี้ สหภาพยุโรปพร้อมจะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนากฎระเบียบและวิธีการในการกำหนดข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการติดฉลากดังกล่าว
ที่ประชุมคณะทำงานไทยฯ ไม่เห็นด้วยกับการเจรจากำหนด guidelines เกี่ยวกับฉลากเขียว (Eco-labelling) ในความ ตกลง TBT เพราะไม่ต้องการแก้ไขความตกลง การกำหนด guidelines ควรพิจารณาในองค์กรกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันหน่วยงานในประเทศก็ได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานภายในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเข้า เพื่อเตรียมความพร้อมของไทยในการส่งออก
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-