ภาคเอกชนของสหรัฐอเมริการ้องเรียน USTR เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาโดย USTR ได้จัดทำ National Trade Estimate (NTE) เป็นประจำทุกปี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดรายชื่อประเทศที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กฎหมายการค้ามาตรา 301 Special ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามอง (Watch List) สำหรับในปี พ.ศ. 2543 USTR ได้เปิดให้มีการรับฟังคำร้องและความคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำ NTE ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่ามีเอกชนยื่นข้อ ร้องเรียนเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยรวม 3 หน่วยงาน ด้วยกัน คือ สมาคม International Intellectual Property Alliance (IIPA) สมาคม Pharmaceutical Research and Manufacturers of America (PhRMA) และสมาคม International Anti-Counterfeiting Coalition (IACC) สาระสำคัญของข้อร้องเรียนที่เอกชนดังกล่าวยื่นต่อ USTR มุ่งไปที่การให้ความ คุ้มครองลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า โดยได้ร้องเรียนว่าปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์ ซีดี (Optical Media) มีเพิ่มขึ้น และการปราบปรามการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไม่มี ประสิทธิภาพเพียงพอ ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ชี้แจงว่า เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับ การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ ปัญหาสำคัญของการปราบปราม การละเมิดลิขสิทธิ์จึงอยู่ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการจับกุมหรือฟ้องร้องผู้กระทำความผิดได้ หากเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน นอกจากนี้ การปราบปรามการละเมิดจะมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เสียหายในการชี้เบาะแสของแหล่งกำเนิดและแหล่งเก็บสินค้าตลอดจน นำชี้ว่าสินค้าใดเป็นสินค้าที่ละเมิด ดังนั้น หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การ ปราบปรามย่อมไม่ได้ผลเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี กรมทรัพย์สินทางปัญญาโดยคณะทำงานพิเศษ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้สิทธิและเจ้าของสิทธิทั้งไทยและต่างประเทศได้ดำเนิน การศึกษายกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีโดยวางหลักเกณฑ์ควบคุมการ นำเข้าเครื่องจักรและการขออนุญาตประกอบธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมและป้องปรามการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า กรม ทรัพย์สินทางปัญญาได้ชี้แจงว่า เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่ (พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2543) ได้เพิ่มเติม บทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าตรวจค้นและยึดของกลางตลอดจนพยานหลักฐานได้ทั้งในเวลา กลางวันและกลางคืน ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาทบทวนกฎหมาย ประกาศและคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสกัดกั้นการส่งออกและนำเข้าสินค้า ที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อให้การดำเนินการกับสินค้าละเมิด ณ จุดผ่านแดนให้มีประสิทธิภาพ และเป็นสากลยิ่งขึ้น รวมทั้งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีบทบาทผลักดัน ให้กลุ่มเอกชนเจ้าของสิทธิทั้งไทยและต่างประเทศจัดตั้งกองทุนพิเศษเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการปราบปรามการ ละเมิด พัฒนาความรู้และสมรรถนะของผู้บังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนเพื่อสร้างเสริมความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาแก่ประชาชนโดยทั่วไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤษภาคม 2544--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤษภาคม 2544--
-ปส-