การจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
ค.ร.ม. เห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาเป็นองค์การมหาชนตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยมีที่ทำการอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและฝึกอบรมด้านการค้า การเงิน การลงทุนและพัฒนาบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซีย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสนาและวัฒนธรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่ของสถาบัน กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินสถาบันเป็นเงินที่รัฐบาลจ่ายเป็นทุนประเดิมและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ โดยรายได้ไม่ต้องส่งกระทรวงการคลัง และแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของสถาบัน
การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติของไทย
ค.ร.ม. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ผู้แทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกระดับประเทศในการประสานงานกับคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และผ่านแดนของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit)
การพักชำระหนี้และลดหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพิ่มเติม
ค.ร.ม. เห็นชอบกับหลักการและแนวทางการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม คือ เกษตรกรที่มีวงเงินกู้เกิน 100,000 บาท แต่ไม่ประสงค์จะใช้เงินกู้เกิน 100,000 บาท ตลอด 3 ปี ของการดำเนินโครงการ ซึ่งมีเกษตรกรอยู่จำนวน 267,656 ราย มีหนี้เงินกู้ไม่เกิน 19,025 ล้านบาท ทำให้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544 มีเกษตรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. มีหนี้เงินกู้คงเหลือไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 2,379,788 ราย โดยมีแนวทางและระยะเวลาการดำเนินการจะเป็นรูปแบบเดียวกับโครงการพักชำระหนี้ฯ ที่ ค.ร.ม. เห็นชอบแล้ว
ส่วนความก้าวหน้าการพักชำระหนี้และลดหนี้ผ่าน ธ.ก.ส. ณ วันที่ 18 เมษายน 2544 มีเกษตรกรประสงค์เข้าร่วมโครงการขอพักชำระหนี้ จำนวน 51,939 ราย เป็นเงิน 2,241.27 ล้านบาท และขอลดภาระหนี้ จำนวน 92,229 ราย เป็นเงิน 3,206.76 ล้านบาท
แหล่งเงินทุนที่จะใช้ในโครงการนี้ ให้ใช้เงินงบประมาณที่กำหนดไว้เดิมก่อน หากไม่เพียงพอก็จะพิจารณาจัดสรรเพิ่มเติมให้ ธ.ก.ส.ต่อไปนี้
มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ที่ผูกพันไว้ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการต้องมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการเงินกู้ต่างประเทศที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีทั้งหมด 99 โครงการเป็นของส่วนราชการ 45 โครงการ รัฐวิสาหกิจ 54 โครงการ เป็นเงิน 531,127 ล้านบาท และเป็นวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย 311,759 ล้านบาท
เป็นโครงการที่สามารถเร่งเบิกจ่ายได้ ใน 2 ไตรมาสหลังปีงบประมาณ 2544 จำนวน 20 โครงการ เป็นเงิน 38,393 ล้านบาท โดยเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและงานโยธา 17 โครงการ เป็นส่วนราชการ 9 โครงการ รัฐวิสาหกิจ 8 โครงการ และโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรและโครงการลงทุนเพื่อสังคมโดยเป็นเงินกู้ในลักษณะ Program Loan อีก 3 โครงการ
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินมาตรการดังกล่าว โดยติดตามเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และให้มีคณะกรรมการติดตามแก้ไขปัญหาอุปสรรคและรายงานความคืบหน้าเป็นรายโครงการ
สำหรับโครงการการลงทุนของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูงจากต่างประเทศนั้นให้ชะลอการนำเข้า และหันมาใช้วัสดุภายในประเทศแทน ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้หารือกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและรายงานให้ ค.ร.ม. อนุมัติต่อไป
การแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบการแก้ปัญหาภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออก และระเบียบขั้นตอนการส่งออก ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารของรัฐบาลพิจารณาวงเงินสินเชื่อจากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออกตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ หรือให้สินเชื่อเต็มจำนวนตามเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ขาดสภาพคล่อง โดยให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ให้กรมสรรพากรพิจารณาแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก และการซื้อวัตถุดิบในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อส่งออกให้ผู้ส่งออกใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และให้จัดทำระบบการชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทางบัญชีแทนการชำระด้วยเงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรง
ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกต้องไม่สูงกว่าคู่แข่ง มอบให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันแก้ไขปัญหา
ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตหรือเอกสารประกอบการส่งออกดำเนินการให้รวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งออก และเปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ค.ร.ม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา นำข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุง และนำกลับมาเสนอ ค.ร.ม. อีกครั้ง ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และปรับโครงสร้างหนี้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและความมั่นคงแก่ประเทศ
ให้มีคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของ ค.ร.ม.แต่งตั้งผู้แทนซึ่งรวมถึงผู้แทนสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ และสมาคมธนาคารไทยแห่งละ 1 คน และให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและอื่นๆ รวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบอีก 5 คน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของบสท. และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐและเอกชนโดยแบ่งเป็นชั้น สำหรับสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนจะมีทรัพย์สินค้ำประกัน มีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล และมีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไป มีหนี้ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป และเป็นสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างหนี้และยังไม่มีคำสั่งศาลเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ กรณีสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน หรือไม่มีหลักประกันให้มีราคาตามที่ บสท. กำหนด กรณีของเอกชนไม่รวมการค้ำประกันบุคคล แต่ไม่เกินมูลค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีหักเงินสำรองตามกฎหมาย และให้ บสท.ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแก่สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยออกเป็นตราสารหนี้เปลี่ยนมือไม่ได้ในกำหนดเวลา 10 ปี
มีการกำหนดการแบ่งผลกำไร ขาดทุนให้กับสถาบันการเงินและ บสท.
การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บสท. จะดำเนินการในกรณีปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ และจำหน่ายสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ โดยการขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่จะเป็นประโยชน์มากกว่า
การกำกับ การดำเนินงานและควบคุมจะกระทำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอาจมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของ บสท. ได้ และเมื่อครบ 2 ปี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินงาน และเสนอ. ได้ ค.ร.ม. พิจารณาว่าเห็นควรยุบ หรือปรับปรุง บสท. หรือไม่
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อรายงานผลการตรวจสอบบัญชีและเสนอรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
ให้กระทรวงการคลังชดเชยค่าเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูนำรายได้ส่งคลังตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
กรรมการ พนักงานของ บสท. ไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตน ยกเว้น ผิดกฎหมาย ทุจริตและประมาท และไม่ให้นำกฎหมายการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีมาใช้กับการดำเนินงานของบสท.
มีการกำหนดบทลงโทษผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างที่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
การยุบ บสท. ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และตั้งคณะกรรมการจัดการชำระบัญชี โอนทรัพย์สินและหนี้สินให้ บสท. ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.ก. ประกาศใช้ และทรัพย์สิน บสท. ที่เหลือให้โอนให้กระทรวงการคลังภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการชำระบัญชี
ร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน
ค.ร.ม. เห็นชอบกับหลักการร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กในชุมชน โดยออกกฎหมายให้ชุมชนมีวิสาหกิจของตนเอง บริหารจัดการเอง โดยรัฐสนับสนุนด้านความรู้ การบริหารจัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวิจัยต้นแบบเกี่ยวกับการเกษตรไปสู่ผลิตภัณฑ์ จัดหาตลาดภายในและภายนอกประเทศ และสนับสนุนแหล่งเงินทุนโดยมีการดำเนินการ ดังนี้
เพื่อให้ธุรกิจชุมชนที่พึ่งวัตถุดิบการเกษตรได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นดีขึ้น โดยที่ทางราชการและเอกชนพร้อมให้ความช่วยเหลือในการวิจัยต้นแบบ
มีองค์กรในการบริหารและพัฒนาวิสาหกิจตั้งแต่เริ่มแรกจนสามารถแข่งขันได้ด้วยตนเอง
มีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างถาวรและยั่งยืน
มีกลไกควบคุมคุณภาพมาตรฐานและปริมาณของผลิตภัณฑ์ได้อย่างถาวรและต่อเนื่อง
ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ค.ร.ม. เห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาเป็นองค์การมหาชนตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ โดยมีที่ทำการอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและฝึกอบรมด้านการค้า การเงิน การลงทุนและพัฒนาบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเซีย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศาสนาและวัฒนธรรมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์อำนาจหน้าที่ของสถาบัน กำหนดให้ทุนและทรัพย์สินสถาบันเป็นเงินที่รัฐบาลจ่ายเป็นทุนประเดิมและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ โดยรายได้ไม่ต้องส่งกระทรวงการคลัง และแต่งตั้งคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของสถาบัน
การแต่งตั้งคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติของไทย
ค.ร.ม. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนและขนส่งข้ามแดนแห่งชาติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ผู้แทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกระดับประเทศในการประสานงานกับคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า และผ่านแดนของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit)
การพักชำระหนี้และลดหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพิ่มเติม
ค.ร.ม. เห็นชอบกับหลักการและแนวทางการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม คือ เกษตรกรที่มีวงเงินกู้เกิน 100,000 บาท แต่ไม่ประสงค์จะใช้เงินกู้เกิน 100,000 บาท ตลอด 3 ปี ของการดำเนินโครงการ ซึ่งมีเกษตรกรอยู่จำนวน 267,656 ราย มีหนี้เงินกู้ไม่เกิน 19,025 ล้านบาท ทำให้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544 มีเกษตรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. มีหนี้เงินกู้คงเหลือไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 2,379,788 ราย โดยมีแนวทางและระยะเวลาการดำเนินการจะเป็นรูปแบบเดียวกับโครงการพักชำระหนี้ฯ ที่ ค.ร.ม. เห็นชอบแล้ว
ส่วนความก้าวหน้าการพักชำระหนี้และลดหนี้ผ่าน ธ.ก.ส. ณ วันที่ 18 เมษายน 2544 มีเกษตรกรประสงค์เข้าร่วมโครงการขอพักชำระหนี้ จำนวน 51,939 ราย เป็นเงิน 2,241.27 ล้านบาท และขอลดภาระหนี้ จำนวน 92,229 ราย เป็นเงิน 3,206.76 ล้านบาท
แหล่งเงินทุนที่จะใช้ในโครงการนี้ ให้ใช้เงินงบประมาณที่กำหนดไว้เดิมก่อน หากไม่เพียงพอก็จะพิจารณาจัดสรรเพิ่มเติมให้ ธ.ก.ส.ต่อไปนี้
มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดดำเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ที่ผูกพันไว้ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการต้องมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการเงินกู้ต่างประเทศที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีทั้งหมด 99 โครงการเป็นของส่วนราชการ 45 โครงการ รัฐวิสาหกิจ 54 โครงการ เป็นเงิน 531,127 ล้านบาท และเป็นวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย 311,759 ล้านบาท
เป็นโครงการที่สามารถเร่งเบิกจ่ายได้ ใน 2 ไตรมาสหลังปีงบประมาณ 2544 จำนวน 20 โครงการ เป็นเงิน 38,393 ล้านบาท โดยเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและงานโยธา 17 โครงการ เป็นส่วนราชการ 9 โครงการ รัฐวิสาหกิจ 8 โครงการ และโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรและโครงการลงทุนเพื่อสังคมโดยเป็นเงินกู้ในลักษณะ Program Loan อีก 3 โครงการ
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินมาตรการดังกล่าว โดยติดตามเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และให้มีคณะกรรมการติดตามแก้ไขปัญหาอุปสรรคและรายงานความคืบหน้าเป็นรายโครงการ
สำหรับโครงการการลงทุนของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่นำเข้าวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูงจากต่างประเทศนั้นให้ชะลอการนำเข้า และหันมาใช้วัสดุภายในประเทศแทน ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้หารือกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและรายงานให้ ค.ร.ม. อนุมัติต่อไป
การแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก
ค.ร.ม. ให้ความเห็นชอบการแก้ปัญหาภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก โดยเฉพาะปัญหาสภาพคล่องของผู้ส่งออก และระเบียบขั้นตอนการส่งออก ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารของรัฐบาลพิจารณาวงเงินสินเชื่อจากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออกตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ หรือให้สินเชื่อเต็มจำนวนตามเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกที่ขาดสภาพคล่อง โดยให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยกับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
ให้กรมสรรพากรพิจารณาแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก และการซื้อวัตถุดิบในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อส่งออกให้ผู้ส่งออกใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และให้จัดทำระบบการชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทางบัญชีแทนการชำระด้วยเงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรง
ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกต้องไม่สูงกว่าคู่แข่ง มอบให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันแก้ไขปัญหา
ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตหรือเอกสารประกอบการส่งออกดำเนินการให้รวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งออก และเปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ค.ร.ม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา นำข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุง และนำกลับมาเสนอ ค.ร.ม. อีกครั้ง ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทยจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และปรับโครงสร้างหนี้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและความมั่นคงแก่ประเทศ
ให้มีคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของ ค.ร.ม.แต่งตั้งผู้แทนซึ่งรวมถึงผู้แทนสภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ และสมาคมธนาคารไทยแห่งละ 1 คน และให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและอื่นๆ รวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบอีก 5 คน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของบสท. และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐและเอกชนโดยแบ่งเป็นชั้น สำหรับสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชนจะมีทรัพย์สินค้ำประกัน มีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล และมีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไป มีหนี้ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป และเป็นสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้ปรับโครงสร้างหนี้และยังไม่มีคำสั่งศาลเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ กรณีสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐเท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน หรือไม่มีหลักประกันให้มีราคาตามที่ บสท. กำหนด กรณีของเอกชนไม่รวมการค้ำประกันบุคคล แต่ไม่เกินมูลค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีหักเงินสำรองตามกฎหมาย และให้ บสท.ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแก่สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยออกเป็นตราสารหนี้เปลี่ยนมือไม่ได้ในกำหนดเวลา 10 ปี
มีการกำหนดการแบ่งผลกำไร ขาดทุนให้กับสถาบันการเงินและ บสท.
การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บสท. จะดำเนินการในกรณีปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ และจำหน่ายสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ โดยการขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่จะเป็นประโยชน์มากกว่า
การกำกับ การดำเนินงานและควบคุมจะกระทำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอาจมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของ บสท. ได้ และเมื่อครบ 2 ปี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินงาน และเสนอ. ได้ ค.ร.ม. พิจารณาว่าเห็นควรยุบ หรือปรับปรุง บสท. หรือไม่
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อรายงานผลการตรวจสอบบัญชีและเสนอรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
ให้กระทรวงการคลังชดเชยค่าเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูนำรายได้ส่งคลังตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
กรรมการ พนักงานของ บสท. ไม่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตน ยกเว้น ผิดกฎหมาย ทุจริตและประมาท และไม่ให้นำกฎหมายการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีมาใช้กับการดำเนินงานของบสท.
มีการกำหนดบทลงโทษผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างที่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
การยุบ บสท. ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และตั้งคณะกรรมการจัดการชำระบัญชี โอนทรัพย์สินและหนี้สินให้ บสท. ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.ก. ประกาศใช้ และทรัพย์สิน บสท. ที่เหลือให้โอนให้กระทรวงการคลังภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการชำระบัญชี
ร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน
ค.ร.ม. เห็นชอบกับหลักการร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2544 ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กในชุมชน โดยออกกฎหมายให้ชุมชนมีวิสาหกิจของตนเอง บริหารจัดการเอง โดยรัฐสนับสนุนด้านความรู้ การบริหารจัดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวิจัยต้นแบบเกี่ยวกับการเกษตรไปสู่ผลิตภัณฑ์ จัดหาตลาดภายในและภายนอกประเทศ และสนับสนุนแหล่งเงินทุนโดยมีการดำเนินการ ดังนี้
เพื่อให้ธุรกิจชุมชนที่พึ่งวัตถุดิบการเกษตรได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นดีขึ้น โดยที่ทางราชการและเอกชนพร้อมให้ความช่วยเหลือในการวิจัยต้นแบบ
มีองค์กรในการบริหารและพัฒนาวิสาหกิจตั้งแต่เริ่มแรกจนสามารถแข่งขันได้ด้วยตนเอง
มีแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างถาวรและยั่งยืน
มีกลไกควบคุมคุณภาพมาตรฐานและปริมาณของผลิตภัณฑ์ได้อย่างถาวรและต่อเนื่อง
ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-