กรุงเทพฯ--10 ต.ค.--พรรคประชาธิปัตย์
นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะบอร์ด อสย. ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการการบริหารองค์การสวนยางว่าคณะกรรมการ อสย. มีมติให้จัดตั้งคณะทำงานนิคมอุตสาหกรรมยางครบวงจร ที่กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 โดยคณะทำงานชุดดังกล่าว ประกอบด้วยหน่วยงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิจัยยาง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนภาคเอกชนนครศรีธรรมราชมหาวิทยาลัยท้องถิ่น และอสย. เป็นเลขานุการ ทั้งนี้ให้คณะทำงานจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการใช้เงิน 520 ล้านบาท จากคณะกรรมการปรับโครงการสร้างอุตสาหกรรม เพื่อวางโครงการสร้างพื้นฐาน ตลอดจนถึงการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่
นายอาคม ฯ กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมยางที่จะเกิดขึ้นจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20-25 ของยางทั้งประเทศ จากการพูดคุยกับนักลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยางได้รับการสนับสนุนที่จะให้เป็นนิคมที่ผลิตยางรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ เช่น ถุงมือแพทย์ ถุงยางอนามัย ฯลฯ อนึ่ง สถานที่ตั้งโครงการมีความสะดวกทางด้านคมนาคมมากเช่นห่างจากท่าเรือน้ำลึกสงขลา ประมาณ 150 กิโลเมตร สถานีรถไฟนาบอน 6 กิโลเมตร ถนนสี่เลนประมาณ 10 กิโลเมตร มีความพร้อมทางด้านไฟฟ้า โทรศัพท์ และน้ำประปา ขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณยางประมาณร้อยละ 10 ของยางทั้งหมด ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตได้อย่างดี จะทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น 2,000-3,000 งาน
นายอาคม ฯ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหายางของประเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจรปี 2542-2546 ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่เดินทางมาถูกทางแล้ว และจะเป็นแนวทางในการทำยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจอีก 12 ชนิด ที่จะตามมา เช่น ปาล์มน้ำมัน ข้าว มันสำปะหลัง ลำไย กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ ฯลฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาหมดแล้วอยู่ระหว่างการดำเนินการ.--จบ--
-วว-
นายอาคม เอ่งฉ้วน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะบอร์ด อสย. ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการการบริหารองค์การสวนยางว่าคณะกรรมการ อสย. มีมติให้จัดตั้งคณะทำงานนิคมอุตสาหกรรมยางครบวงจร ที่กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2543 โดยคณะทำงานชุดดังกล่าว ประกอบด้วยหน่วยงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิจัยยาง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนภาคเอกชนนครศรีธรรมราชมหาวิทยาลัยท้องถิ่น และอสย. เป็นเลขานุการ ทั้งนี้ให้คณะทำงานจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการใช้เงิน 520 ล้านบาท จากคณะกรรมการปรับโครงการสร้างอุตสาหกรรม เพื่อวางโครงการสร้างพื้นฐาน ตลอดจนถึงการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนในพื้นที่
นายอาคม ฯ กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมยางที่จะเกิดขึ้นจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20-25 ของยางทั้งประเทศ จากการพูดคุยกับนักลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยางได้รับการสนับสนุนที่จะให้เป็นนิคมที่ผลิตยางรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ เช่น ถุงมือแพทย์ ถุงยางอนามัย ฯลฯ อนึ่ง สถานที่ตั้งโครงการมีความสะดวกทางด้านคมนาคมมากเช่นห่างจากท่าเรือน้ำลึกสงขลา ประมาณ 150 กิโลเมตร สถานีรถไฟนาบอน 6 กิโลเมตร ถนนสี่เลนประมาณ 10 กิโลเมตร มีความพร้อมทางด้านไฟฟ้า โทรศัพท์ และน้ำประปา ขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณยางประมาณร้อยละ 10 ของยางทั้งหมด ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการผลิตได้อย่างดี จะทำให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น 2,000-3,000 งาน
นายอาคม ฯ กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหายางของประเทศ โดยใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจรปี 2542-2546 ถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่เดินทางมาถูกทางแล้ว และจะเป็นแนวทางในการทำยุทธศาสตร์พืชเศรษฐกิจอีก 12 ชนิด ที่จะตามมา เช่น ปาล์มน้ำมัน ข้าว มันสำปะหลัง ลำไย กล้วยไม้ กุ้งกุลาดำ ฯลฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาหมดแล้วอยู่ระหว่างการดำเนินการ.--จบ--
-วว-