กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--พรรคประชาธิปัตย์
เมื่อเวลา 10.30 น. ได้มีการประชุม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งว่าจะรับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้ง 2 สภา หรือร่างของสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 ชั่วโมง ภายหลังการประชุม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคแถลง ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา 3 เรื่อง คือ
1. วัตถุประสงค์ของการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ซึ่งพรรคเห็นว่าเรื่องจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพราะเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของกฎหมายเลือกตั้งเดิม ซึ่งใช้ในการเลือกตั้ง ส.ว. ดังนั้นพรรคจึงเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวควรเป็นกฎหมายที่มีอำนาจเพื่อให้กกต.ซึ่งเป็นหน่วยงาน ในการจัดการเลือกตั้งมีความสะดวกในการปฏิบัติงาน
2. ประเด็นข้อกฎหมายของคณะกรรมาธิการร่วมติดเพียงประเด็นเดียวคือมาตรา 113/1 ที่ระบุให้ส.ส.แบบเขตที่เป็นรัฐมนตรีต้องออกค่าใช้จ่ายเลือกตั้งซ่อมเอง พรรคเห็นว่ากรณีนี้มีปัญหาในข้อกฎหมายอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ และหากจะให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมจริง กกต. ต้องมีอำนาจในการออกใบแดง
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า จากนั้นได้มีการหารือถึงมติของกรรมาธิการร่วมว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือการเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่ต้องพิจารณาคดีอาญาทุกคดี เท่าที่ฟังการสัมภาษณ์ของ กกต. มีความพอใจ แต่ถ้าหากทำตามร่าง ส.ส. แล้ว กกต. จะมีปัญหาในการทำงานและอาจจะกลับไปให้ใบเหลืองเหมือนการเลือกตั้ง ส.ว. ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้ว พรรคจึงจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจระหว่างรับร่างของกรรมาธิการร่วมกับไม่เห็นด้วย และยกร่างของส.ส.ขึ้นมายืนยัน ขณะเดียวกันก่อนตัดสินใจ พรรคได้พิจารณาถึงประเด็นปัญหาในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่าการตัดสินใจของพรรคเป็นไปเพราะปัญหาการสร้างกระแสกดดันนอกสภาหรือไม่จึงขอเรียนให้ทราบว่า มติพรรควันนี้ไม่ได้ตัดสินใจบทพื้นฐานของปัญหา การสร้างกระแสกดดันนอกสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่จะต้องตัดสินใจให้รอบคอบ
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่าดังนั้นพรรคจึงมีมติรับร่างของคณะกรรมาธิการร่วม เพราะกกต. สะดวกใจมากกว่าแม้จะติดขัดในเรื่องข้อกฎหมายบ้างก็ตามจึงรับเพื่อให้ กกต. มีอำนาจในการจัดการแท้จริงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง แต่สำหรับมาตรา 113/1 พรรคเห็นด้วยว่าควรให้มีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเห็นว่าไม่มีข้อแตกต่างระหว่าง ส.ส. ที่มาจากระบบเขตกับ ส.ส.ที่มาบัญชีรายชื่อเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ปิดกั้นโอกาสของการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีนี่คือจุดยืนของพรรคทั่งนี้ในเบื้องต้น นายปรีชา สุวรรณทัต ส.ส. กทม. จะเป็นผู้ประสานกับ ส.ส.ภายในพรรคและส.ส.พรรคอื่น เพื่อให้ร่วมลงชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป คาดว่าทันทีที่ร่างกฎหมายผ่านสภาก็จะมีการยื่นเรื่องให้ศาลตีความ ซึ่งทางพรรคชาติไทย และพรรคเสรีธรรมก็แจ้งมาว่าจะร่วมลงชื่อด้วย ส่วนพรรคชาติพัฒนายังไม่ได้ประสานมา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีของพรรค 4 คนที่ว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบตลอดเวลา หากมีความไม่ถูกต้อง กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ยื่นสามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่ายิ่งใกล้การเลือกตั้งมากเท่าไหร่ จะมีความพยายามยื่นเรื่องในลักษณะนี้ สำหรับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลา ตนไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นการเมืองสร้างขึ้นมาหรือไม่ .--จบ--
-วว-
เมื่อเวลา 10.30 น. ได้มีการประชุม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้งว่าจะรับร่างของคณะกรรมาธิการร่วมกันทั้ง 2 สภา หรือร่างของสภาผู้แทนราษฎร โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 2 ชั่วโมง ภายหลังการประชุม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคแถลง ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา 3 เรื่อง คือ
1. วัตถุประสงค์ของการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ซึ่งพรรคเห็นว่าเรื่องจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพราะเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของกฎหมายเลือกตั้งเดิม ซึ่งใช้ในการเลือกตั้ง ส.ว. ดังนั้นพรรคจึงเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวควรเป็นกฎหมายที่มีอำนาจเพื่อให้กกต.ซึ่งเป็นหน่วยงาน ในการจัดการเลือกตั้งมีความสะดวกในการปฏิบัติงาน
2. ประเด็นข้อกฎหมายของคณะกรรมาธิการร่วมติดเพียงประเด็นเดียวคือมาตรา 113/1 ที่ระบุให้ส.ส.แบบเขตที่เป็นรัฐมนตรีต้องออกค่าใช้จ่ายเลือกตั้งซ่อมเอง พรรคเห็นว่ากรณีนี้มีปัญหาในข้อกฎหมายอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ และหากจะให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรมจริง กกต. ต้องมีอำนาจในการออกใบแดง
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า จากนั้นได้มีการหารือถึงมติของกรรมาธิการร่วมว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือการเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่ต้องพิจารณาคดีอาญาทุกคดี เท่าที่ฟังการสัมภาษณ์ของ กกต. มีความพอใจ แต่ถ้าหากทำตามร่าง ส.ส. แล้ว กกต. จะมีปัญหาในการทำงานและอาจจะกลับไปให้ใบเหลืองเหมือนการเลือกตั้ง ส.ว. ดังนั้นเมื่อพิจารณาแล้ว พรรคจึงจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจระหว่างรับร่างของกรรมาธิการร่วมกับไม่เห็นด้วย และยกร่างของส.ส.ขึ้นมายืนยัน ขณะเดียวกันก่อนตัดสินใจ พรรคได้พิจารณาถึงประเด็นปัญหาในทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่าการตัดสินใจของพรรคเป็นไปเพราะปัญหาการสร้างกระแสกดดันนอกสภาหรือไม่จึงขอเรียนให้ทราบว่า มติพรรควันนี้ไม่ได้ตัดสินใจบทพื้นฐานของปัญหา การสร้างกระแสกดดันนอกสภา เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่จะต้องตัดสินใจให้รอบคอบ
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่าดังนั้นพรรคจึงมีมติรับร่างของคณะกรรมาธิการร่วม เพราะกกต. สะดวกใจมากกว่าแม้จะติดขัดในเรื่องข้อกฎหมายบ้างก็ตามจึงรับเพื่อให้ กกต. มีอำนาจในการจัดการแท้จริงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง แต่สำหรับมาตรา 113/1 พรรคเห็นด้วยว่าควรให้มีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเห็นว่าไม่มีข้อแตกต่างระหว่าง ส.ส. ที่มาจากระบบเขตกับ ส.ส.ที่มาบัญชีรายชื่อเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ปิดกั้นโอกาสของการเข้ามาเป็นรัฐมนตรีนี่คือจุดยืนของพรรคทั่งนี้ในเบื้องต้น นายปรีชา สุวรรณทัต ส.ส. กทม. จะเป็นผู้ประสานกับ ส.ส.ภายในพรรคและส.ส.พรรคอื่น เพื่อให้ร่วมลงชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป คาดว่าทันทีที่ร่างกฎหมายผ่านสภาก็จะมีการยื่นเรื่องให้ศาลตีความ ซึ่งทางพรรคชาติไทย และพรรคเสรีธรรมก็แจ้งมาว่าจะร่วมลงชื่อด้วย ส่วนพรรคชาติพัฒนายังไม่ได้ประสานมา
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีของพรรค 4 คนที่ว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา พร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบตลอดเวลา หากมีความไม่ถูกต้อง กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ยื่นสามารถดำเนินการได้ตามกฎหมาย แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่ายิ่งใกล้การเลือกตั้งมากเท่าไหร่ จะมีความพยายามยื่นเรื่องในลักษณะนี้ สำหรับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่ตลอดเวลา ตนไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นการเมืองสร้างขึ้นมาหรือไม่ .--จบ--
-วว-