ข่าวในประเทศ
1. ธปท. รายงานภาพรวมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 43 ถึงปัจจุบัน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า เศรษฐกิจไทยยังทรงตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 43 และไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยข้อมูลเศรษฐกิจเบื้องต้นในเดือน ม.ค. 44 ภาคการผลิต การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มทรงตัว ส่วนดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน มูลค่าการส่งออก 5,040 ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 5,323 ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ทำให้ขาดดุลการค้า 282 ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากดุลบริการและบริจาคเกินดุลถึง 580 ล.ดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงยังเกินดุล 298 ล.ดอลลาร์ สรอ. ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 55.1 ลดลงจากร้อยละ 56.5 ในเดือนก่อนหน้า อุปสงค์ภายในประเทศยังทรงตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มยอดค้าปลีกอาจชะลอตัวลง ซึ่งดูจากเงินเฟ้อที่หดตัวลงจากเดือน พ.ย. 43 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทั้งในเดือน ธ.ค. 43 และ ม.ค. 44 ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 44 ลดลงร้อยละ 3.9 จากปี 43 ขณะที่ภาคการลงทุนเทียบกับเดือนก่อนดีขึ้นเล็กน้อย แต่ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ยังไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนภาคต่างประเทศแสดงสัญญาณเป็นลบโดยเห็นได้จากการส่งออก และถึงแม้ว่าปัจจัยการเมืองของไทยจะเริ่มชัดเจนขึ้นมากกว่าช่วงปลายปี 43 แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด(มติชนรายวัน, ไทยรัฐ 1)
2. แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 44 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยว่า แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในปี 44 มีทิศทางสดใส โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธ.โลกคาดการณ์ว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรของโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาผลิตผลทางการเกษตรของภาคใต้ขยับตัวสูงตามไปด้วย ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตรเพื่อการส่งออก การลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับสถาบันการเงินได้มีการปรับปรุงฐานะและการดำเนินไปบางส่วนแล้ว(กรุงเทพธุรกิจ 1)
3. สรุปตัวเลขการส่งออก-นำเข้าเดือน ม.ค.44 อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ม.ค.44 มีมูลค่า 5,187.1 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.43 และลดลงร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.43 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 5,556.6 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.43 ทำให้ไทยขาดดุลการค้าจำนวน 369.5 ล.ดอลลาร์ สรอ (มติชน 1)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.ขยายระยะเวลาการคงภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 อีก 1 ปี แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปี งปม.44 ก.คลังเตรียมจะนำเสนอ ครม. เพื่อให้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการคงภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ในอัตราร้อยละ 7 ออกไปอีก 1 ปี เพื่อเป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ การคง VAT ในอัตราร้อยละ 7 เป็นการพยุงให้การบริโภคไม่หดตัวไปกว่าที่เป็นอยู่ ถึงแม้จะไม่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายมากนัก เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในภาวะหดตัวแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจใน 1-2 เดือนว่า ภาวะเศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คงต้องมีมาตรการเสริมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มติชน 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางญี่ปุ่นลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญของตลาดเงินเนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอ รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนลงเหลือร้อยละ 0.15 จากร้อยละ 0.25 และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงเหลือร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0.35 การตัดสินใจครั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมและการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. 44 ลดลงถึงร้อยละ 3.9 และร้อยละ 11.1 ตามลำดับ ส่งผลให้เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ประกอบกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกและราคาหุ้นที่ตกต่ำ รวมทั้งความกังวลจากแรงกดดันด้านราคาสินค้าที่โน้มต่ำลงซึ่งเป็นผลจากความต้องการที่ลดลง(รอยเตอร์28)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของ สรอ. ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ28 ก.พ. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่ปรับตัวเลขแล้ว ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรายไตรมาสที่ต่ำสุดในรอบ 5ปี ครึ่ง นับตั้งแต่ที่เคยเติบโตร้อยละ 0.8ในไตรมาสที่2 ปี 38 และลดลงครึ่งหนึ่งจากไตรมาสที่3 ปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การปรับลดการเติบโตของจีดีพีครั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขล่าสุดที่ปรับใหม่ของสินค้าคงคลัง การส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสดังกล่าว ล้วนมีอัตราที่ลดลง โดย สินค้าคงคลังของธุรกิจ มีมูลค่า 59.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากตัวเลขก่อนปรับที่มูลค่า 67.1 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 6.1 จากที่ลดลงร้อยละ 4.3 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5(รอยเตอร์28)
3. เงินเฟ้อที่วัดจากราคาสินค้านำเข้าของเยอรมนีผ่อนคลายลงเหลือร้อยละ 6.5 สำนักงานสถิติกลางเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาสินค้านำเข้าเมื่อเทียบปีต่อปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 8.2 ในเดือน ธ.ค.43 และเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน ลดลงเหลือร้อยละ 0.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.2 โดยส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันอ่อนตัวลงร้อยละ 10.6 และความกังวลในเรื่องวัวบ้า ส่งผลให้ราคาเนื้อวัวต่ำลงร้อยละ 10.5 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.กลับสูงขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และร้อยละ 2.6 เทียบปีต่อปี ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.37(รอยเตอร์ 28)
4. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่โดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.1 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.44 Ministry of Land, Infrastructure and Transport รายงานว่า เดือน ม.ค.44 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่โดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือจำนวน 81,348 หน่วย โดยเป็นการลดลงทุกประเภท คือ การสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย, บ้านเช่า, ที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง, การสร้างบ้านและอาคารชุดเพื่อขาย ทั้งนี้ ยอดการสร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่ของลูกจ้างลดลงมากที่สุด คือร้อยละ 47.3 ในส่วนของคำสั่งซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างในเดือน ม.ค.43 ก็ลดลงร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปี 43 (รอยเตอร์ 28) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.พ. 44 42.940 (42.875) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.พ. 44ซื้อ 42.7100 (42.6877) ขาย 43.0192 (42.9952)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 22.87 (23.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. รายงานภาพรวมเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 43 ถึงปัจจุบัน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า เศรษฐกิจไทยยังทรงตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 43 และไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยข้อมูลเศรษฐกิจเบื้องต้นในเดือน ม.ค. 44 ภาคการผลิต การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มทรงตัว ส่วนดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน มูลค่าการส่งออก 5,040 ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 5,323 ล. ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ทำให้ขาดดุลการค้า 282 ล. ดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากดุลบริการและบริจาคเกินดุลถึง 580 ล.ดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงยังเกินดุล 298 ล.ดอลลาร์ สรอ. ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปี 43 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 55.1 ลดลงจากร้อยละ 56.5 ในเดือนก่อนหน้า อุปสงค์ภายในประเทศยังทรงตัวอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มยอดค้าปลีกอาจชะลอตัวลง ซึ่งดูจากเงินเฟ้อที่หดตัวลงจากเดือน พ.ย. 43 ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทั้งในเดือน ธ.ค. 43 และ ม.ค. 44 ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 44 ลดลงร้อยละ 3.9 จากปี 43 ขณะที่ภาคการลงทุนเทียบกับเดือนก่อนดีขึ้นเล็กน้อย แต่ภาคก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ยังไม่กระเตื้องขึ้น ส่วนภาคต่างประเทศแสดงสัญญาณเป็นลบโดยเห็นได้จากการส่งออก และถึงแม้ว่าปัจจัยการเมืองของไทยจะเริ่มชัดเจนขึ้นมากกว่าช่วงปลายปี 43 แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด(มติชนรายวัน, ไทยรัฐ 1)
2. แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 44 ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยว่า แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในปี 44 มีทิศทางสดใส โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธ.โลกคาดการณ์ว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรของโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาผลิตผลทางการเกษตรของภาคใต้ขยับตัวสูงตามไปด้วย ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตรเพื่อการส่งออก การลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับสถาบันการเงินได้มีการปรับปรุงฐานะและการดำเนินไปบางส่วนแล้ว(กรุงเทพธุรกิจ 1)
3. สรุปตัวเลขการส่งออก-นำเข้าเดือน ม.ค.44 อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ม.ค.44 มีมูลค่า 5,187.1 ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.43 และลดลงร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.43 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 5,556.6 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.43 ทำให้ไทยขาดดุลการค้าจำนวน 369.5 ล.ดอลลาร์ สรอ (มติชน 1)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.ขยายระยะเวลาการคงภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 อีก 1 ปี แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปี งปม.44 ก.คลังเตรียมจะนำเสนอ ครม. เพื่อให้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการคงภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ในอัตราร้อยละ 7 ออกไปอีก 1 ปี เพื่อเป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ การคง VAT ในอัตราร้อยละ 7 เป็นการพยุงให้การบริโภคไม่หดตัวไปกว่าที่เป็นอยู่ ถึงแม้จะไม่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายมากนัก เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในภาวะหดตัวแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจใน 1-2 เดือนว่า ภาวะเศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คงต้องมีมาตรการเสริมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มติชน 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางญี่ปุ่นลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญของตลาดเงินเนื่องจากเศรษฐกิจอ่อนแอ รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ. 44 ธ. กลางญี่ปุ่นประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนลงเหลือร้อยละ 0.15 จากร้อยละ 0.25 และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงเหลือร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0.35 การตัดสินใจครั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมและการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. 44 ลดลงถึงร้อยละ 3.9 และร้อยละ 11.1 ตามลำดับ ส่งผลให้เกิดความวิตกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ประกอบกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกและราคาหุ้นที่ตกต่ำ รวมทั้งความกังวลจากแรงกดดันด้านราคาสินค้าที่โน้มต่ำลงซึ่งเป็นผลจากความต้องการที่ลดลง(รอยเตอร์28)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของ สรอ. ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ28 ก.พ. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่ปรับตัวเลขแล้ว ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 1.4 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตรายไตรมาสที่ต่ำสุดในรอบ 5ปี ครึ่ง นับตั้งแต่ที่เคยเติบโตร้อยละ 0.8ในไตรมาสที่2 ปี 38 และลดลงครึ่งหนึ่งจากไตรมาสที่3 ปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การปรับลดการเติบโตของจีดีพีครั้งนี้ เนื่องจากตัวเลขล่าสุดที่ปรับใหม่ของสินค้าคงคลัง การส่งออกและการนำเข้าในไตรมาสดังกล่าว ล้วนมีอัตราที่ลดลง โดย สินค้าคงคลังของธุรกิจ มีมูลค่า 59.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากตัวเลขก่อนปรับที่มูลค่า 67.1 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 6.1 จากที่ลดลงร้อยละ 4.3 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.7 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5(รอยเตอร์28)
3. เงินเฟ้อที่วัดจากราคาสินค้านำเข้าของเยอรมนีผ่อนคลายลงเหลือร้อยละ 6.5 สำนักงานสถิติกลางเยอรมนีเปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 เงินเฟ้อที่วัดจากราคาสินค้านำเข้าเมื่อเทียบปีต่อปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 8.2 ในเดือน ธ.ค.43 และเมื่อเทียบเดือนต่อเดือน ลดลงเหลือร้อยละ 0.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.2 โดยส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันอ่อนตัวลงร้อยละ 10.6 และความกังวลในเรื่องวัวบ้า ส่งผลให้ราคาเนื้อวัวต่ำลงร้อยละ 10.5 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.กลับสูงขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน และร้อยละ 2.6 เทียบปีต่อปี ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.37(รอยเตอร์ 28)
4. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่โดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.1 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.44 Ministry of Land, Infrastructure and Transport รายงานว่า เดือน ม.ค.44 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่โดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เหลือจำนวน 81,348 หน่วย โดยเป็นการลดลงทุกประเภท คือ การสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย, บ้านเช่า, ที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง, การสร้างบ้านและอาคารชุดเพื่อขาย ทั้งนี้ ยอดการสร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่ของลูกจ้างลดลงมากที่สุด คือร้อยละ 47.3 ในส่วนของคำสั่งซื้ออุปกรณ์ก่อสร้างในเดือน ม.ค.43 ก็ลดลงร้อยละ 12.5 จากระยะเดียวกันปี 43 (รอยเตอร์ 28) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.พ. 44 42.940 (42.875) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.พ. 44ซื้อ 42.7100 (42.6877) ขาย 43.0192 (42.9952)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 22.87 (23.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-