1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยรวมในปี 2547 ถือว่ามีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากประมาณการดัชนีผลผลิตของ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปี 2547 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.2 และจากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32.5 ส่วนดัชนีการส่งสินค้าของอุตสาห กรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปี 2547 พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และกลุ่มอิเล็ก ทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 31.78
มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปี 2547 คาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าประมาณ 1,337,879.0 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 34.6 และเพิ่มจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 8.09
มูลค่าการนำเข้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,013,901.7 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16.7 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 13.7 และเพิ่มจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ประมาณร้อยละ 18.6
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2548 ของตลาดในประเทศคาดว่าจะยังทรงตัว เมื่อเทียบกับปี 2547 ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์น่าจะยังขยายตัวได้เล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบหลายประการเข้ามากระทบ เช่น การขยายตัวของการลงทุนยังคงมีต่อเนื่องแม้จะชะลอตัวลงบ้าง ความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการซ่อมแซม/ปลูกบ้านใหม่ภัยสึนามิเรียบร้อยแล้ว ราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังของอิเล็กทรอนิกส์โลกยังคงสูงอยู่ ประชาชนรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจในครัวเรือนของตนหลังมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ฯลฯ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 จากการประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.2
เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของต่างประเทศสำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดียวกัน จากการประมาณการสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Production Index) ในปี 2547 ในกลุ่มของ Household Electrical Machinery (ประกอบด้วยเครื่องปรับอากาศ เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า โทรทัศน์สี และ วีดีโอเทป) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.4 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่ชะลอการผลิตหลังจากที่ได้ทำการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในช่วงปลายปีไปแล้ว
2.2 การตลาด
ภาวะตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในปี 2547 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการประมาณการของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีการส่งสินค้าเฉลี่ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน
เมื่อพิจารณาภาวะการส่งสินค้าเฉลี่ยเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (รายละเอียดแสดงในรูปที่2) พบว่าดัชนีการส่งสินค้า (Indices of Producer’s Shipment) ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
2.2.1 ) ตลาดในประเทศ
เมื่อพิจารณาจากตัวเลขประมาณการการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของกลุ่มสมาชิกสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลักพบว่าปริมาณการผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าในประเทศของไทยในปี 2547 เมื่อเทียบกับปี 2546 พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกประเภทสินค้าโดยเครื่องรับโทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ 7.6 ตู้เย็น ขยายตัวร้อยละ 21.7 พัดลม ขยายตัวร้อยละ 10.3 เครื่องซักผ้า ขยายตัวร้อยละ 15.6 และหม้อหุงข้าว ขยายตัวร้อยละ 16
2.2.2) ตลาดส่งออก
จากสถิติของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในปี 2547 คาดว่าจะมีมูลค่าทั้งสิ้น 543,701.8 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 34.6 ทั้งนี้ เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าส่งออกมูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วน ประกอบแผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 35.7 41.3 และ 25.6 ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่คาดว่าจะมีการขยายตัวลดลงได้แก่ เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ ขยายตัวลดลงร้อยละ 9.7 โดยสัดส่วนของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าสูงที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกเป็นดังนี้
(1) เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ
(2) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
(3) เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ
(4) แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
(5) ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ
(6) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
2.2.3) การนำเข้า
จากการประมาณการสถิติการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2547 ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศพบว่าขยายตัวประมาณร้อยละ 13.7 เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้ามูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆ และส่วนประกอบ รองลงมา ได้แก่ เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้น และแผงควบคุม หลอดภาพโทรทัศน์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 24.7 30.5 และ 5.6 ตามลำดับ ส่วนสินค้านำเข้ามูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องส่งสัญญานภาพและเสียง และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 2.7 และ 5.1 ตามลำดับ เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกเป็นดังนี้
(1) เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆ และส่วนประกอบ
(2) เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึง แป้น และแผงควบคุม
(3) เครื่องส่งสัญญานภาพและเสียง
(4) หลอดภาพโทรทัศน์
(5) สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล
(6) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 มีการขยายตัวค่อนข้างมาก จากการประมาณการของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 และ 22 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมากในช่วงปี 2547
สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยจากการประมาณสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งในกลุ่ม Electronic Parts and devices ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นประมาณร้อยละ 14.6 และ Electronic computers เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 มีการปรับตัวดีขึ้น โดยจากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าขยายตัวถึงประมาณร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 และ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการของตลาดโล
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะตลาดของอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากการประมาณการ สถิติดัชนีการส่งสินค้าของ METI ในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.1 และในกลุ่ม Electronic computers เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้จากการประมาณการสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในปี 2547 ของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการขยายตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 213.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่ง SIA กล่าวว่าการขยายตัวดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากกว่ามาจากการลงทุนของธุรกิจ โดยยังคงเป็นสินค้าประเภท Digital Media , Personal Computer ,and Wireless handsets ที่มีการเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดยภูมิภาค สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาคเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 22.2 22.5 22.7 และ 38.3 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
จากการประมาณการการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 794,177.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกมากเป็นอับดับ 1 คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.3
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการส่งออกแล้วจะพบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ วงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95.7 ขณะที่อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด กลับลดลงร้อยละ 22.1
3.3 การนำเข้า
จากการประมาณการการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 พบว่ามีมูลค่ารวม 626,577.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีการนำเข้าเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 48.3 รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีสัดส่วนร้อยละ 31.5
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงแล้วจะพบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญทั้งหมดมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 25.5 และ 23.4 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในปี 2548 คาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะอยู่ในภาวะทรงตัวและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แต่คงไม่มากนัก เนื่องจากมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่มีผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ดังนี้
ปัจจัยบวก
1. การขยายการลงทุน/การลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการเปิดดำเนินกิจการจะชะลอตัวลงกว่าปี 2546 บ้างทำให้คาดการณ์ได้ว่าปริมาณการผลิตและการส่งออกของประเทศไทยน่าจะเพิ่มสูงขึ้นได้
2. แนวโน้มภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกในปี 2548 คาดว่าจะยังสามารถเพิ่มขึ้นได้จากปี 2547 แต่จะเพิ่มเพียงประมาณร้อยละ 4.7
3. ค่าเงินบาทมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบได้ในราคา ที่ถูกลงอีกทั้งได้ประโยชน์จากการคืนหนี้ต่างประเทศโดยจะมีภาระลดน้อยลง
4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการออกมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและจะทยอยออกเพิ่มขึ้นอีกซึ่งจะช่วยสกัดกั้นสินค้านำเข้าคุณภาพต่ำ ราคาถูกได้ในระดับหนึ่ง
5. ความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนอาจจะเพิ่มขึ้นจากประชาชนในภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิเมื่อปลายปี 2547 โดยหลังจากการปลูกบ้านใหม่/ซ่อมแซมบ้านที่เสียหายเสร็จแล้วก็จะ ต้องซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ใช้ครัวเรือนของตนตามปกติ โรงแรมหรือรีสอร์ทต่างๆ ที่เสียหายและซ่อมแซมแล้วก็จะต้องซื้อเครื่องใช้ ไฟฟ้าไว้บริการลูกค้าในห้องพักโดยความต้องการซื้อสินค้าอาจเด่นชัดอย่างเร็วน่าจะประมาณไตรมาสที่สองของปี แต่ทั้งนี้ ภาครัฐควรเข้ามาดูแลควบคุมมิให้สินค้าราคาถูก คุณภาพต่ำและไม่มีความปลอดภัยในการใช้เข้ามามีช่องทางในการตัดหน้าขายโดยอาศัยภาวะความฝืดเคืองด้านทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ภาครัฐและภาคเอกชนผู้ผลิตในประเทศควรร่วมมือกันฉกฉวยโอกาสนี้โดยการขายสินค้าแบบราคาพิเศษ/มีเงื่อนไขพิเศษหรือขายให้ในระบบเงินผ่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สามารถมีกำลังซื้อได้
ปัจจัยลบ
ปัจจัยลบที่คาดว่าจะมีผลต่อการขยายตัวมี ดังนี้
1. ราคาน้ำมันที่ยังมีระดับราคาสูงและอาจปรับตัวขึ้นได้อีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกอาจจะไม่สามารถขยายตัวได้ดีเป็นผลให้ความต้องการสินค้าไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังมีปริมาณสินค้าคงคลังในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงและอาจกระทบต่อคำสั่งซื้อในช่วงต้นปี 2548
2. อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าสูงขึ้น
. ประชาชนรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจในครัวเรือนของตนหลังมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ เมื่อปัจจัยลบดังกล่าวบางข้อเป็นสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ ผู้ประกอบการจึงต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนของตนเองให้ดีโดยใช้ปัจจัยบวกและลบต่างๆ เหล่านี้ให้กลับมาเป็นเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุนและการจัดการด้านสินค้าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนได้ โดยโดยควรใช้การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาเป็นเครื่องมือในการลดต้นทุนซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกำลังผลักดันให้มีผลเป็นรูปธรรมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยโดยรวมในปี 2547 ถือว่ามีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากประมาณการดัชนีผลผลิตของ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปี 2547 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.2 และจากกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 32.5 ส่วนดัชนีการส่งสินค้าของอุตสาห กรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปี 2547 พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และกลุ่มอิเล็ก ทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 31.78
มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทั้งปี 2547 คาดการณ์ว่า จะมีมูลค่าประมาณ 1,337,879.0 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 34.6 และเพิ่มจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 8.09
มูลค่าการนำเข้าของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 1,013,901.7 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16.7 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 13.7 และเพิ่มจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ประมาณร้อยละ 18.6
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2548 ของตลาดในประเทศคาดว่าจะยังทรงตัว เมื่อเทียบกับปี 2547 ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์น่าจะยังขยายตัวได้เล็กน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบหลายประการเข้ามากระทบ เช่น การขยายตัวของการลงทุนยังคงมีต่อเนื่องแม้จะชะลอตัวลงบ้าง ความต้องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการซ่อมแซม/ปลูกบ้านใหม่ภัยสึนามิเรียบร้อยแล้ว ราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูง ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังของอิเล็กทรอนิกส์โลกยังคงสูงอยู่ ประชาชนรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจในครัวเรือนของตนหลังมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ฯลฯ
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2546 จากการประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.2
เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของต่างประเทศสำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดียวกัน จากการประมาณการสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Production Index) ในปี 2547 ในกลุ่มของ Household Electrical Machinery (ประกอบด้วยเครื่องปรับอากาศ เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า โทรทัศน์สี และ วีดีโอเทป) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.4 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่ชะลอการผลิตหลังจากที่ได้ทำการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในช่วงปลายปีไปแล้ว
2.2 การตลาด
ภาวะตลาดของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในปี 2547 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการประมาณการของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีการส่งสินค้าเฉลี่ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน
เมื่อพิจารณาภาวะการส่งสินค้าเฉลี่ยเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (รายละเอียดแสดงในรูปที่2) พบว่าดัชนีการส่งสินค้า (Indices of Producer’s Shipment) ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 เมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
2.2.1 ) ตลาดในประเทศ
เมื่อพิจารณาจากตัวเลขประมาณการการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของกลุ่มสมาชิกสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลักพบว่าปริมาณการผลิตเครื่องใช้ ไฟฟ้าในประเทศของไทยในปี 2547 เมื่อเทียบกับปี 2546 พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกประเภทสินค้าโดยเครื่องรับโทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ 7.6 ตู้เย็น ขยายตัวร้อยละ 21.7 พัดลม ขยายตัวร้อยละ 10.3 เครื่องซักผ้า ขยายตัวร้อยละ 15.6 และหม้อหุงข้าว ขยายตัวร้อยละ 16
2.2.2) ตลาดส่งออก
จากสถิติของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในปี 2547 คาดว่าจะมีมูลค่าทั้งสิ้น 543,701.8 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 34.6 ทั้งนี้ เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้าส่งออกมูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วน ประกอบแผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 35.7 41.3 และ 25.6 ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่คาดว่าจะมีการขยายตัวลดลงได้แก่ เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ ขยายตัวลดลงร้อยละ 9.7 โดยสัดส่วนของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าสูงที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกเป็นดังนี้
(1) เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ
(2) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
(3) เครื่องเล่นวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงและส่วนประกอบ
(4) แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
(5) ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ
(6) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
2.2.3) การนำเข้า
จากการประมาณการสถิติการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 2547 ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศพบว่าขยายตัวประมาณร้อยละ 13.7 เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้ามูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆ และส่วนประกอบ รองลงมา ได้แก่ เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้น และแผงควบคุม หลอดภาพโทรทัศน์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 24.7 30.5 และ 5.6 ตามลำดับ ส่วนสินค้านำเข้ามูลค่าสูงที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องส่งสัญญานภาพและเสียง และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 2.7 และ 5.1 ตามลำดับ เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกเป็นดังนี้
(1) เครื่องจักรไฟฟ้าอื่นๆ และส่วนประกอบ
(2) เครื่องตัดต่อ หรือป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึง แป้น และแผงควบคุม
(3) เครื่องส่งสัญญานภาพและเสียง
(4) หลอดภาพโทรทัศน์
(5) สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล
(6) เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 มีการขยายตัวค่อนข้างมาก จากการประมาณการของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45 และ 22 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างมากในช่วงปี 2547
สำหรับภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 ขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยจากการประมาณสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งในกลุ่ม Electronic Parts and devices ปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นประมาณร้อยละ 14.6 และ Electronic computers เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 มีการปรับตัวดีขึ้น โดยจากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าขยายตัวถึงประมาณร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic IC และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 และ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการของตลาดโล
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะตลาดของอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากการประมาณการ สถิติดัชนีการส่งสินค้าของ METI ในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.1 และในกลุ่ม Electronic computers เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้จากการประมาณการสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในปี 2547 ของ Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ามีการขยายตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 213.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่ง SIA กล่าวว่าการขยายตัวดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากกว่ามาจากการลงทุนของธุรกิจ โดยยังคงเป็นสินค้าประเภท Digital Media , Personal Computer ,and Wireless handsets ที่มีการเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วยโดยภูมิภาค สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาคเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 22.2 22.5 22.7 และ 38.3 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
จากการประมาณการการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 794,177.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกมากเป็นอับดับ 1 คือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รองลงมาคือ แผงวงจรไฟฟ้า มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.3
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการส่งออกแล้วจะพบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ วงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95.7 ขณะที่อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด กลับลดลงร้อยละ 22.1
3.3 การนำเข้า
จากการประมาณการการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2547 พบว่ามีมูลค่ารวม 626,577.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเข้ามากที่สุด คือ แผงวงจรไฟฟ้า มีการนำเข้าเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการนำเข้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 48.3 รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มีสัดส่วนร้อยละ 31.5
เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงแล้วจะพบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญทั้งหมดมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 25.5 และ 23.4 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในปี 2548 คาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะอยู่ในภาวะทรงตัวและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แต่คงไม่มากนัก เนื่องจากมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่มีผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม ดังนี้
ปัจจัยบวก
1. การขยายการลงทุน/การลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการเปิดดำเนินกิจการจะชะลอตัวลงกว่าปี 2546 บ้างทำให้คาดการณ์ได้ว่าปริมาณการผลิตและการส่งออกของประเทศไทยน่าจะเพิ่มสูงขึ้นได้
2. แนวโน้มภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกในปี 2548 คาดว่าจะยังสามารถเพิ่มขึ้นได้จากปี 2547 แต่จะเพิ่มเพียงประมาณร้อยละ 4.7
3. ค่าเงินบาทมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบได้ในราคา ที่ถูกลงอีกทั้งได้ประโยชน์จากการคืนหนี้ต่างประเทศโดยจะมีภาระลดน้อยลง
4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการออกมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและจะทยอยออกเพิ่มขึ้นอีกซึ่งจะช่วยสกัดกั้นสินค้านำเข้าคุณภาพต่ำ ราคาถูกได้ในระดับหนึ่ง
5. ความต้องการใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนอาจจะเพิ่มขึ้นจากประชาชนในภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิเมื่อปลายปี 2547 โดยหลังจากการปลูกบ้านใหม่/ซ่อมแซมบ้านที่เสียหายเสร็จแล้วก็จะ ต้องซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ใช้ครัวเรือนของตนตามปกติ โรงแรมหรือรีสอร์ทต่างๆ ที่เสียหายและซ่อมแซมแล้วก็จะต้องซื้อเครื่องใช้ ไฟฟ้าไว้บริการลูกค้าในห้องพักโดยความต้องการซื้อสินค้าอาจเด่นชัดอย่างเร็วน่าจะประมาณไตรมาสที่สองของปี แต่ทั้งนี้ ภาครัฐควรเข้ามาดูแลควบคุมมิให้สินค้าราคาถูก คุณภาพต่ำและไม่มีความปลอดภัยในการใช้เข้ามามีช่องทางในการตัดหน้าขายโดยอาศัยภาวะความฝืดเคืองด้านทรัพย์สินของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ภาครัฐและภาคเอกชนผู้ผลิตในประเทศควรร่วมมือกันฉกฉวยโอกาสนี้โดยการขายสินค้าแบบราคาพิเศษ/มีเงื่อนไขพิเศษหรือขายให้ในระบบเงินผ่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สามารถมีกำลังซื้อได้
ปัจจัยลบ
ปัจจัยลบที่คาดว่าจะมีผลต่อการขยายตัวมี ดังนี้
1. ราคาน้ำมันที่ยังมีระดับราคาสูงและอาจปรับตัวขึ้นได้อีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกอาจจะไม่สามารถขยายตัวได้ดีเป็นผลให้ความต้องการสินค้าไม่ขยายตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งยังมีปริมาณสินค้าคงคลังในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงและอาจกระทบต่อคำสั่งซื้อในช่วงต้นปี 2548
2. อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าสูงขึ้น
. ประชาชนรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจในครัวเรือนของตนหลังมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ทั้งนี้ เมื่อปัจจัยลบดังกล่าวบางข้อเป็นสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ ผู้ประกอบการจึงต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนของตนเองให้ดีโดยใช้ปัจจัยบวกและลบต่างๆ เหล่านี้ให้กลับมาเป็นเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุนและการจัดการด้านสินค้าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนได้ โดยโดยควรใช้การจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมาเป็นเครื่องมือในการลดต้นทุนซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกำลังผลักดันให้มีผลเป็นรูปธรรมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-