กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Summit) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับนายกรัฐมนตรีจีน (H.E.Mr.Zhu Rongji) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (H.E. Mr.Yoshiro Mori) และประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี (H.E.Mr.Kim Dae Jung)
ผลการหารือในการพิจารณาอนาคตความร่วมมือของเอเซียตะวันออก และแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออก มีสาระสำคัญดังนี้
เป้าหมายสำคัญของความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างของการพัฒนา
ในเอเซียตะวันออก และเพิ่มเอกภาพของการรวมกลุ่ม โดยร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
จีน เสนอช่วยลดช่องว่างความแตกต่างการพัฒนาในอาเซียน โดยจะสนับสนุนโครงการพัฒนาลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น ให้เงินช่วยเหลือการพัฒนาเส้นทางเดินเรือ (ลานช้าง-แม่น้ำโขง) ร่วมกับ ADB และไทยสร้างถนนทางหลวงระหว่างคุนหมิง-กรุงเทพฯ เป็นต้น
สาธารณรัฐเกาหลี สนับสนุนโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปจีน ให้เป็น Pan ASIA Network
อาเซียน ขอให้จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี สนับสนุนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะช่วยประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ในการพัฒนาให้ทัดเทียมกับสมาชิกเก่า รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง และการเชื่อมโยงเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศหมู่เกาะในอาเซียน
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
จีน เสนอให้ตั้งคณะทำงานด้าน IT เพื่อร่วมกับญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ญี่ปุ่น ให้การช่วยเหลือจำนวน 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ด้าน IT ในเอเซีย และเสนอจัดประชุมร่วมระหว่างรัฐบาล และเอกชน ในด้าน IT ในปี 2544 เพื่อสนับสนุนการพัฒนา e-ASEAN ไปสู่ e-ASIA รวมทั้งสนับสนุนด้าน Capacity Building IT โดยจะช่วยด้านการสอบมาตรฐาน IT
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอโครงการฝึกอบรมด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้าน IT เพื่อช่วยลดช่องว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงเทคโนโลยี
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
จีน จะให้ความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค สำหรับอาเซียนจะมีเขตการค้าเสรี (AFTA) ภายในปี 2545 จะเป็นการเพิ่มโอกาสด้านการค้า ในขณะเดียวกับจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะเป็นการสร้างโอกาสทางตลาดและทางธุรกิจระหว่างอาเซียน-จีน มากกว่าจะเกิดผลลบหรือความขัดแย้งกัน (จีนเสนอให้ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีน เพื่อศึกษาผลกระทบการเข้า WTO ของจีนต่ออาเซียน)
ความร่วมมือด้านการเงิน/ ความตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (ChiangMai Initiative)
จีนและญี่ปุ่น สนับสนุนให้มีการดำเนินตามความตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ โดยร่วมหารือกันในการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอแนวทางป้องกันการเกิดวิกฤติการเงินขึ้นอีก เช่น หารือทวิภาคีกับอาเซียน ในการแลกเปลี่ยนเงินตรา (SWAP Arrangement) ตั้งระบบระวังภัย และตั้งกองทุนลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี
ความร่วมมือในเอเซียตะวันออกในอนาคต
จีน ยินดีร่วมมือกับประเทศสมาชิก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในเอเซียตะวันออก
ญี่ปุ่น เสนอหลักการสร้างความร่วมมืออาเซียน+3ในอนาคต ต้องสร้างความร่วมมือแบบหุ้นส่วน เปิดกว้าง และพัฒนาอย่างสมดุลในทุกด้าน
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอตั้งคณะทำงาน (East Asia Study Group) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์ (EAVG) และรายงานผลต่อที่ประชุม
อาเซียน ย้ำให้คณะทำงานพิจารณาตั้งเขตการค้าเสรี เขตการลงทุน และเขตอุตสาหกรรมเอเซียตะวันออก เพื่อขยายการค้าการลงทุนในภูมิภาคและลดการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกกลุ่ม
การประชุมครั้งต่อไป ที่ประชุมเสนอให้ประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit) แทนชื่อการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (ASEAN+3 Summit) ณ ประเทศบรูไน และให้ประชุมเป็นประจำทุกปี โดยมอบคณะทำงานดำเนินการต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN+3 Summit) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับนายกรัฐมนตรีจีน (H.E.Mr.Zhu Rongji) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (H.E. Mr.Yoshiro Mori) และประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี (H.E.Mr.Kim Dae Jung)
ผลการหารือในการพิจารณาอนาคตความร่วมมือของเอเซียตะวันออก และแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออก มีสาระสำคัญดังนี้
เป้าหมายสำคัญของความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เพื่อลดช่องว่างความแตกต่างของการพัฒนา
ในเอเซียตะวันออก และเพิ่มเอกภาพของการรวมกลุ่ม โดยร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
จีน เสนอช่วยลดช่องว่างความแตกต่างการพัฒนาในอาเซียน โดยจะสนับสนุนโครงการพัฒนาลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น ให้เงินช่วยเหลือการพัฒนาเส้นทางเดินเรือ (ลานช้าง-แม่น้ำโขง) ร่วมกับ ADB และไทยสร้างถนนทางหลวงระหว่างคุนหมิง-กรุงเทพฯ เป็นต้น
สาธารณรัฐเกาหลี สนับสนุนโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงไปจีน ให้เป็น Pan ASIA Network
อาเซียน ขอให้จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี สนับสนุนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะช่วยประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ในการพัฒนาให้ทัดเทียมกับสมาชิกเก่า รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง และการเชื่อมโยงเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศหมู่เกาะในอาเซียน
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
จีน เสนอให้ตั้งคณะทำงานด้าน IT เพื่อร่วมกับญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ญี่ปุ่น ให้การช่วยเหลือจำนวน 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ด้าน IT ในเอเซีย และเสนอจัดประชุมร่วมระหว่างรัฐบาล และเอกชน ในด้าน IT ในปี 2544 เพื่อสนับสนุนการพัฒนา e-ASEAN ไปสู่ e-ASIA รวมทั้งสนับสนุนด้าน Capacity Building IT โดยจะช่วยด้านการสอบมาตรฐาน IT
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอโครงการฝึกอบรมด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้าน IT เพื่อช่วยลดช่องว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจ และการเข้าถึงเทคโนโลยี
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว
จีน จะให้ความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค สำหรับอาเซียนจะมีเขตการค้าเสรี (AFTA) ภายในปี 2545 จะเป็นการเพิ่มโอกาสด้านการค้า ในขณะเดียวกับจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จะเป็นการสร้างโอกาสทางตลาดและทางธุรกิจระหว่างอาเซียน-จีน มากกว่าจะเกิดผลลบหรือความขัดแย้งกัน (จีนเสนอให้ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-จีน เพื่อศึกษาผลกระทบการเข้า WTO ของจีนต่ออาเซียน)
ความร่วมมือด้านการเงิน/ ความตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (ChiangMai Initiative)
จีนและญี่ปุ่น สนับสนุนให้มีการดำเนินตามความตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ โดยร่วมหารือกันในการปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอแนวทางป้องกันการเกิดวิกฤติการเงินขึ้นอีก เช่น หารือทวิภาคีกับอาเซียน ในการแลกเปลี่ยนเงินตรา (SWAP Arrangement) ตั้งระบบระวังภัย และตั้งกองทุนลดช่องว่างด้านเทคโนโลยี
ความร่วมมือในเอเซียตะวันออกในอนาคต
จีน ยินดีร่วมมือกับประเทศสมาชิก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในเอเซียตะวันออก
ญี่ปุ่น เสนอหลักการสร้างความร่วมมืออาเซียน+3ในอนาคต ต้องสร้างความร่วมมือแบบหุ้นส่วน เปิดกว้าง และพัฒนาอย่างสมดุลในทุกด้าน
สาธารณรัฐเกาหลี เสนอตั้งคณะทำงาน (East Asia Study Group) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์ (EAVG) และรายงานผลต่อที่ประชุม
อาเซียน ย้ำให้คณะทำงานพิจารณาตั้งเขตการค้าเสรี เขตการลงทุน และเขตอุตสาหกรรมเอเซียตะวันออก เพื่อขยายการค้าการลงทุนในภูมิภาคและลดการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกกลุ่ม
การประชุมครั้งต่อไป ที่ประชุมเสนอให้ประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit) แทนชื่อการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (ASEAN+3 Summit) ณ ประเทศบรูไน และให้ประชุมเป็นประจำทุกปี โดยมอบคณะทำงานดำเนินการต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-