สับปะรดโรงงาน : ราคาตกต่ำต่อเนื่อง
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรดปี 2544 จะมีประมาณ 2.135 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านร้อยละ 6.63 สำหรับผลผลิตดังกล่าว คาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ประมาณ 1.22 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 58 ของผลผลิตทั้งหมด ถึงแม้ว่าผลผลิตจะลดลงจากปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ทดแทนเพิ่มขึ้น เช่น น้ำส้ม นอกจากนั้นประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่กำลังทบทวนการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดของไทยรอบใหม่ ซึ่งคาดว่าอัตราภาษีตอบโต้จะเพิ่มจากอัตราร้อยละ 3.25-24.64 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 24.64-51.16 และจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2544 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดชะลอการรับซื้อสับปะรดสด ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรได้รับตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจาก 1.58 บาทต่อกิโลกรัมในเดือนธันวาคม เหลือเพียงกิโลกรัมละ 1.47 บาทในเดือนมกราคม และกิโลกรัมละ 1.32 บาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งราคาที่ได้รับขณะนี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.78 บาท และคาดว่าราคาจะตกต่ำลงไปอีก โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคมนี้ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาก
เพื่อเตรียมการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สมาคมชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือแจ้งกรมการค้าภายใน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อขอรับเงินสนับสนุนเป็นเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท เป็นค่าขนส่งและค่าดำเนินการในการรับซื้อสับปะรดสดจำนวน 100,000 ตัน แล้วระบายออกนอกแหล่งผลิตของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสับปะรดที่สำคัญ โดยมีผลผลิตกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งประเทศ ระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน 2544)
น้ำนมดิบ : BOI ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ
ข้อเท็จจริง
วัตถุดิบส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์นม คือ น้ำนมดิบ ซึ่งในอดีตต้องนำเข้าวัตถุดิบ คือ หางนมผงมาจากต่างประเทศทั้งหมด ต่อมาเมื่อรัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนม ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาประมาณการว่าผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณเพียง 60% ของความต้องการทั้งหมด จึงต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมในประเทศสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ นมพร้อมดื่ม นมผง และผลิตภัณฑ์เนย โดยมีนมพร้อมดื่มเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวอยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมาโดยตลอด แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของประเภทกิจการการผลิตน้ำนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำนมที่ผลิตในประเทศตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกำหนดและจะต้องตั้งอยู่ในเขต 2 หรือ 3 เท่านั้น
แต่สำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 กำหนดกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมดิบตามประเภท 1.11.4 จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
1. สถานประกอบการสามารถตั้งได้ทุกเขต
2. ยกเว้นภาษีอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักร
3. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 5-11 มี.ค.2544--
-สส-
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรดปี 2544 จะมีประมาณ 2.135 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านร้อยละ 6.63 สำหรับผลผลิตดังกล่าว คาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ประมาณ 1.22 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 58 ของผลผลิตทั้งหมด ถึงแม้ว่าผลผลิตจะลดลงจากปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ทดแทนเพิ่มขึ้น เช่น น้ำส้ม นอกจากนั้นประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่กำลังทบทวนการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดของไทยรอบใหม่ ซึ่งคาดว่าอัตราภาษีตอบโต้จะเพิ่มจากอัตราร้อยละ 3.25-24.64 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 24.64-51.16 และจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2544 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดชะลอการรับซื้อสับปะรดสด ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรได้รับตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจาก 1.58 บาทต่อกิโลกรัมในเดือนธันวาคม เหลือเพียงกิโลกรัมละ 1.47 บาทในเดือนมกราคม และกิโลกรัมละ 1.32 บาทในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งราคาที่ได้รับขณะนี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.78 บาท และคาดว่าราคาจะตกต่ำลงไปอีก โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคมนี้ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาก
เพื่อเตรียมการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น สมาคมชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือแจ้งกรมการค้าภายใน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อขอรับเงินสนับสนุนเป็นเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท เป็นค่าขนส่งและค่าดำเนินการในการรับซื้อสับปะรดสดจำนวน 100,000 ตัน แล้วระบายออกนอกแหล่งผลิตของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสับปะรดที่สำคัญ โดยมีผลผลิตกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งประเทศ ระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน-มิถุนายน 2544)
น้ำนมดิบ : BOI ให้การส่งเสริมการลงทุนแก่อุตสาหกรรมที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ
ข้อเท็จจริง
วัตถุดิบส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์นม คือ น้ำนมดิบ ซึ่งในอดีตต้องนำเข้าวัตถุดิบ คือ หางนมผงมาจากต่างประเทศทั้งหมด ต่อมาเมื่อรัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนม ทำให้ปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาประมาณการว่าผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณเพียง 60% ของความต้องการทั้งหมด จึงต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมในประเทศสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ นมพร้อมดื่ม นมผง และผลิตภัณฑ์เนย โดยมีนมพร้อมดื่มเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวอยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมาโดยตลอด แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขของประเภทกิจการการผลิตน้ำนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำนมที่ผลิตในประเทศตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกำหนดและจะต้องตั้งอยู่ในเขต 2 หรือ 3 เท่านั้น
แต่สำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2543 ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 กำหนดกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมดิบตามประเภท 1.11.4 จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
1. สถานประกอบการสามารถตั้งได้ทุกเขต
2. ยกเว้นภาษีอากรนำเข้าสำหรับเครื่องจักร
3. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 5-11 มี.ค.2544--
-สส-