กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สืบเนื่องจากการประชุม AFTA Council ครั้งที่ 12 ณ ประเทศสิงค์โปร์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกพิจารณารายการสินค้าที่อยู่ในบัญชีขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไป (GE List) ว่ามีสินค้าใดบ้างที่ประเทศสมาชิกสามารถนำเข้ามาลดภาษีในบัญชีการลดภาษี (IL) ภายใต้ CEPT ได้เพิ่มเติม ประเทศสิงค์โปร์ได้โอนสินค้าจำนวน 82 รายการที่อยู่ใน GE List มาไว้ในบัญชี IL ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 และได้โอนย้ายสินค้าทั้งหมดที่ยังคงเหลืออยู่ใน บัญชีจำนวน 38 รายการ เข้ามาไว้ในบัญชี IL เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 โดยสินค้าทั้ง 120 รายการจะมีอากรขาเข้าร้อยละ 0 และจากผลการโอนย้ายสินค้าครั้งนี้ทำให้ประเทศสิงค์โปร์ไม่มีสินค้าในรายการขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไปเช่นเดียวกับประเทศไทย ตามหลักการของ CEPT การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลให้สิงค์โปร์สามารถได้รับสิทธิการลดภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าวจากประเทศสมาชิก ในส่วนของประเทศไทย การยกเลิก GE List ของสิงค์โปร์โดยมีอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปยังสิงค์โปร์ ทั้งนี้จากสินค้าจำนวน 120 รายการดังกล่าว เป็นสินค้าที่ไทยมีการส่งออกไปยังสิงค์โปร์ทั้งสิ้น 111 รายการ และเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและเพื่อส่งออกไปยังสิงค์โปร์จำนวน 54 รายการ โดยเฉพาะสินค้ารถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ที่ไทยส่งออกไปยังสิงค์โปร์เพิ่มขึ้นทุกปี คือ 550 ล้านบาท ในปี 2541, 740 ล้านบาท ในปี 2542 และมากกว่า 1,400 ล้านบาท ในปี 2543 นอกจากรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์แล้วยังมีสินค้าอาหารปรุงแต่งอื่นๆ ซึ่งไทยก็มีศักยภาพในการส่งออก โดยมีมูลค่าการส่งออกไปยังสิงค์โปร์ในระหว่างปี 2541-2543 มากกว่า 200 ล้านบาทต่อปี นอกจากนั้นยังมีสินค้าประเภทอื่นๆ คือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม เช่น วิสกี้และเบียร์ ปิโตรเลียม ในส่วนของประเทศสิงค์โปร์นั้นมีการส่งสินค้าเหล่านี้มาประเทศไทยประมาณ 100 รายการ โดยมีสินค้าจำนวน 19 รายการที่ไทยนำเข้าจากสิงค์โปร์ค่อนข้างมาก ในจำนวนนี้มีสินค้าจำนวน 16 รายการ ที่เมื่อสิงค์โปร์ยกเลิก GE list แล้ว สิงค์โปร์จะได้รับประโยชน์จากการได้รับสิทธิลดภาษีขาเข้าจากประเทศไทย โดยจะมีอัตราที่เรียกเก็บภายใต้ CEPT ในปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 0-20 และจะไม่เกินร้อยละ 5 ในปี 2003 โดยก่อนที่จะมีการยกเลิกบัญชี GE List นั้น สินค้าบางรายการในจำนวน 16 รายการดังกล่าว มีอัตราภาษีขาเข้าทั่วไป (Applied rate) ที่ไทยเรียกเก็บสูงถึงร้อยละ 60 สินค้าดังกล่าวประกอบด้วยสินค้าในหมวดอาหารปรุงแต่งอื่นๆ (ที่ไม่รวม ซอส เครื่องแกง น้ำปลา น้ำมันหอย ฯลฯ ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และวิสกี้ บุหรี่ และของที่ใช้แทนยาสูบ และของเล่นเลียนแบบธนบัตร
การที่สิงค์โปร์โอนย้ายสินค้าจากบัญชีขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไป (GE List) มาไว้ในบัญชีการลดภาษี (IL) จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการส่งออกของไทย และยังเป็นการเสริมสร้างให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียน ในอันที่จะทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ประสบความสำเร็จนั้นเป็นจริงมากขึ้น และเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ ในการลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สืบเนื่องจากการประชุม AFTA Council ครั้งที่ 12 ณ ประเทศสิงค์โปร์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2542 ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกพิจารณารายการสินค้าที่อยู่ในบัญชีขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไป (GE List) ว่ามีสินค้าใดบ้างที่ประเทศสมาชิกสามารถนำเข้ามาลดภาษีในบัญชีการลดภาษี (IL) ภายใต้ CEPT ได้เพิ่มเติม ประเทศสิงค์โปร์ได้โอนสินค้าจำนวน 82 รายการที่อยู่ใน GE List มาไว้ในบัญชี IL ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 และได้โอนย้ายสินค้าทั้งหมดที่ยังคงเหลืออยู่ใน บัญชีจำนวน 38 รายการ เข้ามาไว้ในบัญชี IL เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2544 โดยสินค้าทั้ง 120 รายการจะมีอากรขาเข้าร้อยละ 0 และจากผลการโอนย้ายสินค้าครั้งนี้ทำให้ประเทศสิงค์โปร์ไม่มีสินค้าในรายการขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไปเช่นเดียวกับประเทศไทย ตามหลักการของ CEPT การดำเนินการดังกล่าวจะมีผลให้สิงค์โปร์สามารถได้รับสิทธิการลดภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าวจากประเทศสมาชิก ในส่วนของประเทศไทย การยกเลิก GE List ของสิงค์โปร์โดยมีอัตราภาษีเป็นร้อยละ 0 จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปยังสิงค์โปร์ ทั้งนี้จากสินค้าจำนวน 120 รายการดังกล่าว เป็นสินค้าที่ไทยมีการส่งออกไปยังสิงค์โปร์ทั้งสิ้น 111 รายการ และเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและเพื่อส่งออกไปยังสิงค์โปร์จำนวน 54 รายการ โดยเฉพาะสินค้ารถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ที่ไทยส่งออกไปยังสิงค์โปร์เพิ่มขึ้นทุกปี คือ 550 ล้านบาท ในปี 2541, 740 ล้านบาท ในปี 2542 และมากกว่า 1,400 ล้านบาท ในปี 2543 นอกจากรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์แล้วยังมีสินค้าอาหารปรุงแต่งอื่นๆ ซึ่งไทยก็มีศักยภาพในการส่งออก โดยมีมูลค่าการส่งออกไปยังสิงค์โปร์ในระหว่างปี 2541-2543 มากกว่า 200 ล้านบาทต่อปี นอกจากนั้นยังมีสินค้าประเภทอื่นๆ คือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม เช่น วิสกี้และเบียร์ ปิโตรเลียม ในส่วนของประเทศสิงค์โปร์นั้นมีการส่งสินค้าเหล่านี้มาประเทศไทยประมาณ 100 รายการ โดยมีสินค้าจำนวน 19 รายการที่ไทยนำเข้าจากสิงค์โปร์ค่อนข้างมาก ในจำนวนนี้มีสินค้าจำนวน 16 รายการ ที่เมื่อสิงค์โปร์ยกเลิก GE list แล้ว สิงค์โปร์จะได้รับประโยชน์จากการได้รับสิทธิลดภาษีขาเข้าจากประเทศไทย โดยจะมีอัตราที่เรียกเก็บภายใต้ CEPT ในปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 0-20 และจะไม่เกินร้อยละ 5 ในปี 2003 โดยก่อนที่จะมีการยกเลิกบัญชี GE List นั้น สินค้าบางรายการในจำนวน 16 รายการดังกล่าว มีอัตราภาษีขาเข้าทั่วไป (Applied rate) ที่ไทยเรียกเก็บสูงถึงร้อยละ 60 สินค้าดังกล่าวประกอบด้วยสินค้าในหมวดอาหารปรุงแต่งอื่นๆ (ที่ไม่รวม ซอส เครื่องแกง น้ำปลา น้ำมันหอย ฯลฯ ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และวิสกี้ บุหรี่ และของที่ใช้แทนยาสูบ และของเล่นเลียนแบบธนบัตร
การที่สิงค์โปร์โอนย้ายสินค้าจากบัญชีขอยกเว้นการลดภาษีทั่วไป (GE List) มาไว้ในบัญชีการลดภาษี (IL) จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการส่งออกของไทย และยังเป็นการเสริมสร้างให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียน ในอันที่จะทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ประสบความสำเร็จนั้นเป็นจริงมากขึ้น และเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ ในการลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้นด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-