ภาคการเกษตร
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ผัก และผลไม้เพิ่มขึ้น ตามสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวย ทั้งในช่วงการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว โดยมี ฝนตกสม่ำเสมอในช่วงการเจริญเติบโตและอากาศเย็นในช่วงติดดอกออกผล สภาพดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตพืชผลหลัก เช่น ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และอ้อยในปี 2542/43เพิ่มขึ้น สำหรับข้าวนาปรังปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณน้ำในเขื่อนมีมาก
ส่วนราคาสินค้าที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 15.2 เป็นการลดลงของทุกหมวดสินค้า ที่สำคัญได้แก่ ราคาพืชผลที่ลดลงถึงร้อยละ 19.1 โดยราคาพืชผลหลักลดลง ตามแนวโน้มในตลาดโลก ราคาหมวดปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 9.2 ตามราคาสุกร และไก่เนื้อมีชีวิต ส่วนราคาสัตว์น้ำและราคาไม้ ราคาลดลงไม่มากนัก
สำหรับผลผลิตและราคาพืชผลที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้าวนาปี 2542/43 คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากฝนตกสม่ำเสมอและกระจายทั่วไป ทำให้เกษตรกรสามารถกระจายพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ข้าวนาปรังปี 2543 คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.4 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณ น้ำในเขื่อนอยู่ในระดับปกติ แต่ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2542 ขณะที่ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.7 เหลือตันละ 4,756 บาท เนื่องจากผลผลิต เพิ่มขึ้นขณะที่การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน
ข้าวโพด คาดว่าผลผลิตในปี 2542/43 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.0 เหลือ 4.4 ล้านตันเนื่องจากเกษตรกรลดการเพาะปลูกตามราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2542 ตามราคาตลาดโลก อย่างไรก็ดีผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศอำนวย
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.1 เป็นตันละ 4,773 บาท เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ โรงงานอาหารสัตว์มีความต้องการใช้อยู่ในเกณฑ์สูงสม่ำเสมอ
มันสำปะหลัง ผลผลิตในปี 2542/43 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 13.6 เป็น 18.75 ล้านตัน เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก เพราะราคาในช่วงต้นปี 2542 อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศอำนวย ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6
ราคาหัวมันสดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงร้อยละ 31.9 เหลือตันละ 610 บาท เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการของสหภาพยุโรปชะลอตัว ประกอบกับมีการ ลดราคาแทรกแซงธัญพืช ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนในตลาดสหภาพยุโรปลง
อ้อย ผลผลิตในปี 2542/43 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอในแหล่งผลิต ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0
ทางด้านราคาอ้อยขั้นต้นคาดว่าจะลดลงจากปีก่อน ตามราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นผลจาก อุปทานล้นตลาด
ยางพารา ในปี 2543 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.3 เป็น 2.2 ล้านตัน เนื่องจาก พื้นที่ปลูกให้ผลเพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ตามแรงจูงใจทางด้านราคา
ด้านราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็นกิโลกรัมละ 18.1 บาท เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออก
ประมง ผลผลิตประมงในไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงจากปีก่อน โดยปริมาณ สัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วงไตรมาสแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.7 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการที่พม่ายกเลิกสัมปทาน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ในปี 2542 ประกอบกับต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวประมงบางส่วนหยุดดำเนินการ
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ตามการลดลงของราคาปลาเป็ด ที่เป็นไปตามแนวโน้มของราคาปลาป่นในตลาดโลกเป็นสำคัญ
ปริมาณการส่งออกกุ้ง ในช่วงไตรมาสแรกของปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.8 เนื่องจากตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการส่งออกปลาและปลาหมึก คาดว่าจะลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 24.9 และ 11.5 ตามลำดับ จากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
ปศุสัตว์ ผลผลิตในไตรมาสแรกของปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามผลผลิต ไก่เนื้อ และสุกร เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของปศุสัตว์
ทางด้านปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง เพราะยังมีสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง ขณะที่การบริโภคภายในประเทศค่อนข้างทรงตัว
ดัชนีราคาปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 9.2โดยเป็นการลดลงของราคาสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เป็นสำคัญ เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่า ผลผลิตไก่เนื้อและสุกรปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 และ 4.6 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ในไตรมาสแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 57.7 ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 56.2 ในช่วงเดียวกันปีก่อน อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ หรือเกือบเต็มที่ (สูงเกินกว่าร้อยละ 90) ในปลายไตรมาสที่ 1 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ แบตเตอรี่ ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ และปิโตรเคมี
ปัจจัยที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวดี ได้แก่
ปริมาณการค้าของโลกและเศรษฐกิจโลกขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การส่งออกของไทยในรูปของดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.2 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ความต้องการภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน โดยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รัฐบาลขาดดุล เงินสดสูงถึง 18.0 พันล้านบาท เทียบกับ 0.1 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อนรวมทั้งอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงปรับตัวลดลงมาโดยตลอด ส่งผลให้อุตสาหกรรมสำคัญฟื้นตัวขึ้น ผลการปรับโครงสร้างหนี้ และการปรับโครงสร้างของภาคธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ที่ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านเงินทุนและในการหาตลาดต่างประเทศให้ โดยอุตสาหกรรมที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วส่วนใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปูนซีเมนต์ ยางพารา อะไหล่รถยนต์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็ก และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงขยายตัวดี ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 62.1 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว ในขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งผลิตเพื่อการส่งออกเกือบร้อยละ 90 ของการผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ได้ขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือร้อยละ 41.8
ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม *
(อัตราเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน : ร้อยละ)
2541 2542 ม.ค.-มี.ค.
2542 2543
อาหาร -5.2 15.9 20.8 0.6
เครื่องดื่ม 2.1 22.4 13.0 -30.8
ยาสูบ -20.3 -9.9 -17.8 8.2
สิ่งทอ 2.9 -1.2 -0.8 -0.1
ปิโตรเลียม -6.4 2.1 8.8 -5.2
วัสดุก่อสร้าง -38.2 12.3 -0.2 1.1
ผลิตภัณฑ์เหล็ก -31.6 12.3 -7.0 26.1
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง -54.1 79.1 61.0 62.1
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.9 12.7 -14.9 46.6
รวม -10.0 12.5 4.8 8.8
หมายเหตุ * คิดเป็นร้อยละ 62 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 46.6 ตามการขยายตัวของการส่งออก อาทิ ยางแท่ง ปิโตรเคมี แผง วงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ โทรทัศน์ มอเตอร์ไฟฟ้า และ กระจกแผ่น โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นมาสู่ระดับ ร้อยละ 65.5
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 โดยเป็นการผลิตเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบกับความต้องการจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นที่สามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต *
(หน่วย : ร้อยละ)
2542 2543
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
อาหาร 66.9 33.4 30.4 39.0 70.4
เครื่องดื่ม 79.3 103.8 108.1 116.6 36.2
ยาสูบ 59.8 56.8 49.9 51.2 64.7
วัสดุก่อสร้าง 50.6 51.3 55.8 41.5 51.1
ผลิตภัณฑ์เหล็ก 34.9 37.7 42.0 42.3 44.4
ยานยนต์และ อุปกรณ์ขนส่ง 28.5 31.9 39.9 41.3 41.8
ปิโตรเลียม 86.8 89.4 85.5 81.3 82.3
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 51.7 54.4 60.9 63.7 65.5
เฉลี่ย 56.2 58.5 61.9 63.3 57.7
หมายเหตุ * ครอบคลุมรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม
สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก ได้แก่ หมวดยาสูบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.2 เนื่องจากผู้แทนจำหน่ายต้องการเก็บสต๊อกเพิ่มขึ้น เพราะคาดว่าโรงงานยาสูบจะปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น ส่วนหมวดวัสดุก่อสร้าง การผลิตขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากการส่งออกไปสหรัฐฯชะลอตัวลงตามสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ในขณะที่หมวดอาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งลดลงมาก เนื่องจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำและเกิดโรคระบาดในแหล่งเลี้ยงกุ้งบริเวณชายฝั่ง ประกอบกับผลผลิตอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋องเริ่มชะลอตัวลงตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดน้อยลง
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม โดยเป็นผลจากการผลิตสุราลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ผลิตต้องการระบายสต๊อกที่เก็บไว้มากในช่วงปีก่อนหน้า หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลง เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์เกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงเดือนธันวาคม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มที่ในเดือนมกราคม ประกอบกับโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นระยองมีการปิดซ่อมบำรุงในเดือนมีนาคม และ หมวดสิ่งทอ การผลิตลดลงเล็กน้อย
ภาคเหมืองแร่ ดัชนีผลผลิตรวม (ไม่รวมย่อยหิน) ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ ผลผลิตแร่ที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันดิบ เนื่องจากมีการเพิ่มหลุมขุดเจาะในแหล่งทานตะวัน ดีบุกเพิ่มขึ้นตามแรงจูงใจด้านราคา ผลผลิตแร่อื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สำหรับก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐที่สนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า เพราะเกิดปัญหามลภาวะน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าการผลิตถ่านหินลิกไนต์ และหินปูน (เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์) จะลดลง เนื่องจากเหมืองแม่เมาะ ลดการผลิตจากการที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะหันไปนำเข้าถ่านหินลิกไนต์คุณภาพดีจากต่างประเทศมาใช้ทดแทนเพื่อลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ส่วนหินปูนยังมีสต็อกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน :ร้อยละ)
1999 2000
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1E
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 151.6 146.2 144.9 157.0 158.0 156.0
%D 5.4 11.9 1.9 4.9 3.7 6.7
ก๊าซธรรมชาต 9.5 8.5 10.8 9.5 9.1 13.4
ลิกไนต์ -9.5 -4.8 -13.4 -4.4 -15.1 -13.8
หินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ 29.2 44.6 40.3 15.4 23.3 -9.5
น้ำมันดิบ 16.3 5.0 3.7 11.5 43.1 68.3
ดีบุก 66.9 108.8 72.8 65.5 37.4 9.6
ที่มา : คำนวณโดยทีมเกษตรกรรมและบริการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาคบริการ ขยายตัวต่อเนื่องตามบริการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรก ปี 2543 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 7.3 ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 67 ของจำนวนห้องพักรวม ปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของการท่องเที่ยวดังกล่าว ได้แก่ การดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ในปี AMAZING THAILAND 2000 กอปรกับการเพิ่มเที่ยวบินและขยายเส้นทางการบินของสายการบินแควนตัส บริติชแอร์เวย์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ แมนดารินแอร์ไลน์ และซิลค์แอร์จากไต้หวัน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนได้รับผลดีจากการจัดประชุมนานาชาติหลายงานในช่วงต้นปี เช่น การประชุมอาเซียนทัวริสต์ซึ่ม และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เป็นต้น สำหรับสาขาบริการอื่น ๆ อาทิ การบริการด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการบันเทิง ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
ภาคการค้า การค้าในไตรมาสแรกของปี 2543 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนการค้าปลีกเริ่มกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อนโดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ สุรา เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และยอดขายห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของการค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งซูเปอร์เซ็นเตอร์ และคอนวีเนียนสโตร์ มีการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด และมีการเร่งทำการส่งเสริมการขายตลอดทั้งไตรมาส เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด นอกจากนี้ การค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือ E-COMMERCE ก็ได้รับความสนใจทั้งภาคธุรกิจ และบริการ เข้ามาลงทุนและเข้ามาซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตพืชผลเกษตรที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 เนื่องจากผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ผัก และผลไม้เพิ่มขึ้น ตามสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวย ทั้งในช่วงการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว โดยมี ฝนตกสม่ำเสมอในช่วงการเจริญเติบโตและอากาศเย็นในช่วงติดดอกออกผล สภาพดังกล่าวส่งผลให้ผลผลิตพืชผลหลัก เช่น ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และอ้อยในปี 2542/43เพิ่มขึ้น สำหรับข้าวนาปรังปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพราะปริมาณน้ำในเขื่อนมีมาก
ส่วนราคาสินค้าที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 15.2 เป็นการลดลงของทุกหมวดสินค้า ที่สำคัญได้แก่ ราคาพืชผลที่ลดลงถึงร้อยละ 19.1 โดยราคาพืชผลหลักลดลง ตามแนวโน้มในตลาดโลก ราคาหมวดปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 9.2 ตามราคาสุกร และไก่เนื้อมีชีวิต ส่วนราคาสัตว์น้ำและราคาไม้ ราคาลดลงไม่มากนัก
สำหรับผลผลิตและราคาพืชผลที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
ข้าวนาปี 2542/43 คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากฝนตกสม่ำเสมอและกระจายทั่วไป ทำให้เกษตรกรสามารถกระจายพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
ข้าวนาปรังปี 2543 คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4.4 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณ น้ำในเขื่อนอยู่ในระดับปกติ แต่ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2542 ขณะที่ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีชั้น 1 ที่เกษตรกรขายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.7 เหลือตันละ 4,756 บาท เนื่องจากผลผลิต เพิ่มขึ้นขณะที่การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน
ข้าวโพด คาดว่าผลผลิตในปี 2542/43 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.0 เหลือ 4.4 ล้านตันเนื่องจากเกษตรกรลดการเพาะปลูกตามราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2542 ตามราคาตลาดโลก อย่างไรก็ดีผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศอำนวย
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.1 เป็นตันละ 4,773 บาท เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดเข้าสู่ตลาดลดลง ขณะที่ โรงงานอาหารสัตว์มีความต้องการใช้อยู่ในเกณฑ์สูงสม่ำเสมอ
มันสำปะหลัง ผลผลิตในปี 2542/43 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 13.6 เป็น 18.75 ล้านตัน เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก เพราะราคาในช่วงต้นปี 2542 อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับสภาพภูมิอากาศอำนวย ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6
ราคาหัวมันสดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงร้อยละ 31.9 เหลือตันละ 610 บาท เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการของสหภาพยุโรปชะลอตัว ประกอบกับมีการ ลดราคาแทรกแซงธัญพืช ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนในตลาดสหภาพยุโรปลง
อ้อย ผลผลิตในปี 2542/43 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.9 เนื่องจากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอในแหล่งผลิต ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0
ทางด้านราคาอ้อยขั้นต้นคาดว่าจะลดลงจากปีก่อน ตามราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นผลจาก อุปทานล้นตลาด
ยางพารา ในปี 2543 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.3 เป็น 2.2 ล้านตัน เนื่องจาก พื้นที่ปลูกให้ผลเพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ตามแรงจูงใจทางด้านราคา
ด้านราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็นกิโลกรัมละ 18.1 บาท เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออก
ประมง ผลผลิตประมงในไตรมาสแรกของปี 2543 ลดลงจากปีก่อน โดยปริมาณ สัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วงไตรมาสแรกของปี ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.7 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการที่พม่ายกเลิกสัมปทาน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ในปี 2542 ประกอบกับต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวประมงบางส่วนหยุดดำเนินการ
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำที่เกษตรกรขายได้ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ตามการลดลงของราคาปลาเป็ด ที่เป็นไปตามแนวโน้มของราคาปลาป่นในตลาดโลกเป็นสำคัญ
ปริมาณการส่งออกกุ้ง ในช่วงไตรมาสแรกของปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 7.8 เนื่องจากตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการส่งออกปลาและปลาหมึก คาดว่าจะลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 24.9 และ 11.5 ตามลำดับ จากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
ปศุสัตว์ ผลผลิตในไตรมาสแรกของปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามผลผลิต ไก่เนื้อ และสุกร เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของปศุสัตว์
ทางด้านปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง เพราะยังมีสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง ขณะที่การบริโภคภายในประเทศค่อนข้างทรงตัว
ดัชนีราคาปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 9.2โดยเป็นการลดลงของราคาสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เป็นสำคัญ เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่า ผลผลิตไก่เนื้อและสุกรปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.5 และ 4.6 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
ในไตรมาสแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 57.7 ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 56.2 ในช่วงเดียวกันปีก่อน อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ หรือเกือบเต็มที่ (สูงเกินกว่าร้อยละ 90) ในปลายไตรมาสที่ 1 ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ แบตเตอรี่ ยางแท่ง คอมเพรสเซอร์ และปิโตรเคมี
ปัจจัยที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวดี ได้แก่
ปริมาณการค้าของโลกและเศรษฐกิจโลกขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การส่งออกของไทยในรูปของดอลลาร์ สรอ. ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.2 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ความต้องการภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน โดยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รัฐบาลขาดดุล เงินสดสูงถึง 18.0 พันล้านบาท เทียบกับ 0.1 พันล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อนรวมทั้งอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงปรับตัวลดลงมาโดยตลอด ส่งผลให้อุตสาหกรรมสำคัญฟื้นตัวขึ้น ผลการปรับโครงสร้างหนี้ และการปรับโครงสร้างของภาคธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ที่ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านเงินทุนและในการหาตลาดต่างประเทศให้ โดยอุตสาหกรรมที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วส่วนใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปูนซีเมนต์ ยางพารา อะไหล่รถยนต์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็ก และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อุตสาหกรรมที่การผลิตยังคงขยายตัวดี ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 62.1 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว ในขณะที่การผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งผลิตเพื่อการส่งออกเกือบร้อยละ 90 ของการผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ได้ขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือร้อยละ 41.8
ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม *
(อัตราเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน : ร้อยละ)
2541 2542 ม.ค.-มี.ค.
2542 2543
อาหาร -5.2 15.9 20.8 0.6
เครื่องดื่ม 2.1 22.4 13.0 -30.8
ยาสูบ -20.3 -9.9 -17.8 8.2
สิ่งทอ 2.9 -1.2 -0.8 -0.1
ปิโตรเลียม -6.4 2.1 8.8 -5.2
วัสดุก่อสร้าง -38.2 12.3 -0.2 1.1
ผลิตภัณฑ์เหล็ก -31.6 12.3 -7.0 26.1
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง -54.1 79.1 61.0 62.1
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.9 12.7 -14.9 46.6
รวม -10.0 12.5 4.8 8.8
หมายเหตุ * คิดเป็นร้อยละ 62 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 46.6 ตามการขยายตัวของการส่งออก อาทิ ยางแท่ง ปิโตรเคมี แผง วงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ โทรทัศน์ มอเตอร์ไฟฟ้า และ กระจกแผ่น โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นมาสู่ระดับ ร้อยละ 65.5
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 โดยเป็นการผลิตเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ประกอบกับความต้องการจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นที่สามารถส่งออกไปยังญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต *
(หน่วย : ร้อยละ)
2542 2543
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1
อาหาร 66.9 33.4 30.4 39.0 70.4
เครื่องดื่ม 79.3 103.8 108.1 116.6 36.2
ยาสูบ 59.8 56.8 49.9 51.2 64.7
วัสดุก่อสร้าง 50.6 51.3 55.8 41.5 51.1
ผลิตภัณฑ์เหล็ก 34.9 37.7 42.0 42.3 44.4
ยานยนต์และ อุปกรณ์ขนส่ง 28.5 31.9 39.9 41.3 41.8
ปิโตรเลียม 86.8 89.4 85.5 81.3 82.3
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 51.7 54.4 60.9 63.7 65.5
เฉลี่ย 56.2 58.5 61.9 63.3 57.7
หมายเหตุ * ครอบคลุมรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม
สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก ได้แก่ หมวดยาสูบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.2 เนื่องจากผู้แทนจำหน่ายต้องการเก็บสต๊อกเพิ่มขึ้น เพราะคาดว่าโรงงานยาสูบจะปรับราคาจำหน่ายสูงขึ้น ส่วนหมวดวัสดุก่อสร้าง การผลิตขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากการส่งออกไปสหรัฐฯชะลอตัวลงตามสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ในขณะที่หมวดอาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งลดลงมาก เนื่องจากการลดพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำและเกิดโรคระบาดในแหล่งเลี้ยงกุ้งบริเวณชายฝั่ง ประกอบกับผลผลิตอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋องเริ่มชะลอตัวลงตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดน้อยลง
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม โดยเป็นผลจากการผลิตสุราลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ผลิตต้องการระบายสต๊อกที่เก็บไว้มากในช่วงปีก่อนหน้า หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลง เนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์เกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงเดือนธันวาคม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มที่ในเดือนมกราคม ประกอบกับโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นระยองมีการปิดซ่อมบำรุงในเดือนมีนาคม และ หมวดสิ่งทอ การผลิตลดลงเล็กน้อย
ภาคเหมืองแร่ ดัชนีผลผลิตรวม (ไม่รวมย่อยหิน) ในไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ ผลผลิตแร่ที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันดิบ เนื่องจากมีการเพิ่มหลุมขุดเจาะในแหล่งทานตะวัน ดีบุกเพิ่มขึ้นตามแรงจูงใจด้านราคา ผลผลิตแร่อื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สำหรับก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐที่สนับสนุนให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า เพราะเกิดปัญหามลภาวะน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าการผลิตถ่านหินลิกไนต์ และหินปูน (เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์) จะลดลง เนื่องจากเหมืองแม่เมาะ ลดการผลิตจากการที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะหันไปนำเข้าถ่านหินลิกไนต์คุณภาพดีจากต่างประเทศมาใช้ทดแทนเพื่อลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ส่วนหินปูนยังมีสต็อกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน :ร้อยละ)
1999 2000
ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1E
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 151.6 146.2 144.9 157.0 158.0 156.0
%D 5.4 11.9 1.9 4.9 3.7 6.7
ก๊าซธรรมชาต 9.5 8.5 10.8 9.5 9.1 13.4
ลิกไนต์ -9.5 -4.8 -13.4 -4.4 -15.1 -13.8
หินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ 29.2 44.6 40.3 15.4 23.3 -9.5
น้ำมันดิบ 16.3 5.0 3.7 11.5 43.1 68.3
ดีบุก 66.9 108.8 72.8 65.5 37.4 9.6
ที่มา : คำนวณโดยทีมเกษตรกรรมและบริการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาคบริการ ขยายตัวต่อเนื่องตามบริการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรก ปี 2543 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 7.3 ส่งผลให้อัตราการเข้าพักโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 67 ของจำนวนห้องพักรวม ปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของการท่องเที่ยวดังกล่าว ได้แก่ การดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ในปี AMAZING THAILAND 2000 กอปรกับการเพิ่มเที่ยวบินและขยายเส้นทางการบินของสายการบินแควนตัส บริติชแอร์เวย์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ แมนดารินแอร์ไลน์ และซิลค์แอร์จากไต้หวัน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนได้รับผลดีจากการจัดประชุมนานาชาติหลายงานในช่วงต้นปี เช่น การประชุมอาเซียนทัวริสต์ซึ่ม และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เป็นต้น สำหรับสาขาบริการอื่น ๆ อาทิ การบริการด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการบันเทิง ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
ภาคการค้า การค้าในไตรมาสแรกของปี 2543 มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน ตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม รวมทั้งการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนการค้าปลีกเริ่มกระเตื้องขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปีก่อนโดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ สุรา เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และยอดขายห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่วนของการค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ทั้งซูเปอร์เซ็นเตอร์ และคอนวีเนียนสโตร์ มีการขยายสาขาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด และมีการเร่งทำการส่งเสริมการขายตลอดทั้งไตรมาส เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด นอกจากนี้ การค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือ E-COMMERCE ก็ได้รับความสนใจทั้งภาคธุรกิจ และบริการ เข้ามาลงทุนและเข้ามาซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-