กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--กระทรวงการคลัง
การให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง
และแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
29 พฤษภาคม 2544
ภายหลังจากการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ถอน ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แม้ว่าอาจไม่เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย แต่มีความจำเป็นเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ภาวการณ์ที่การดำเนินนโยบายการเงินจะต้องเอื้ออำนวยต่อความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังจะช่วยสนับสนุนการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากมีผลต่อการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรงแล้ว ยังส่งผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
รัฐบาลเชื่อว่าความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างองค์กรของธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำเป็นต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ตลอดจนความสมดุลระหว่างอิสรภาพในการปฏิบัติงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ กับประสิทธิภาพและเอกภาพในการบริหารการเงินการคลังตามนโยบายรัฐบาล
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจึงเห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปอย่างเรียบร้อย รัฐบาลกำลังเสนอการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล จะเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแทน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้ว ด้วยประวัติการทำงานที่โดดเด่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธรมีคุณสมบัติ ความซื่อสัตย์และความสามารถในการบริหารจัดการในการทำงานกับผู้อื่น ในภาวะที่จำเป็นต้องมีการประสานอย่างใกล้ชิด รัฐบาลเชื่อมั่นว่า ม.ร.ว. ปริดิยาธรจะสามารถบริหารธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลขอย้ำและให้หลักประกันว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่จะมีอิสรภาพในการบริหารกิจการของธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีอิสรภาพในการเสนอแนะและวิเคราะห์นโยบายการเงินต่อรัฐบาล รัฐบาลจะยึดมั่นการปฏิรูปภาคการเงินและการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและเสนอแนะในเชิงนโยบาย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-
การให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง
และแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
29 พฤษภาคม 2544
ภายหลังจากการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ถอน ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุลจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แม้ว่าอาจไม่เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย แต่มีความจำเป็นเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้ภาวการณ์ที่การดำเนินนโยบายการเงินจะต้องเอื้ออำนวยต่อความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังจะช่วยสนับสนุนการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากมีผลต่อการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรงแล้ว ยังส่งผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
รัฐบาลเชื่อว่าความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างองค์กรของธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำเป็นต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด ตลอดจนความสมดุลระหว่างอิสรภาพในการปฏิบัติงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ กับประสิทธิภาพและเอกภาพในการบริหารการเงินการคลังตามนโยบายรัฐบาล
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจึงเห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปอย่างเรียบร้อย รัฐบาลกำลังเสนอการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล จะเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแทน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้ว ด้วยประวัติการทำงานที่โดดเด่น ม.ร.ว.ปรีดิยาธรมีคุณสมบัติ ความซื่อสัตย์และความสามารถในการบริหารจัดการในการทำงานกับผู้อื่น ในภาวะที่จำเป็นต้องมีการประสานอย่างใกล้ชิด รัฐบาลเชื่อมั่นว่า ม.ร.ว. ปริดิยาธรจะสามารถบริหารธนาคารแห่งประเทศไทยให้สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐบาลขอย้ำและให้หลักประกันว่าผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนใหม่จะมีอิสรภาพในการบริหารกิจการของธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีอิสรภาพในการเสนอแนะและวิเคราะห์นโยบายการเงินต่อรัฐบาล รัฐบาลจะยึดมั่นการปฏิรูปภาคการเงินและการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะยังคงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและเสนอแนะในเชิงนโยบาย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 38/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-