สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตปรับลดลงทุกพื้นที่ เพราะความต้องการบริโภคเริ่มอ่อนตัวลง หลังจากผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ในสัปดาห์ก่อน ในขณะที่ผลผลิตสุกรมีปริมาณมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้สุกรเติบโตเร็ว คาดว่าราคามีโอกาสปรับลดลงอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.38 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 39.44 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อยังคล่องตัวดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะความต้องการบริโภคมีมากเมื่อเทียบกับผลผลิต ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จูงใจให้ผู้เลี้ยงเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้ลูกไก่เนื้อยังทรงราคาสูงอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท และจากภาวะการซื้อขายของตลาดต่างประเทศในช่วงนี้ที่ค่อนข้างแจ่มใสทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไก่เนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.99 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 26.84 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.55 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ30.15 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายอ่อนตัวลง เพราะผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคโดยรวมยังมีไม่มากนัก ทำให้ราคามีแนวโน้มที่จะลดลงอีกอย่างไรก็ตามความต้องการเลี้ยงในช่วงนี้ยังมีมาก เพราะลูกไก่ที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้ จะให้ผลผลิตประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาไข่ไก่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลูกไก่ไข่ในขณะนี้มีราคาแพง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 164 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 159 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 182 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 160 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 165บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 190 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 191 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 208 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 174 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 194บาท ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 226 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 33.12 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.98
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 24.07 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.63 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.36
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำสัปดาห์ 3 - 9 ม.ค. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตปรับลดลงทุกพื้นที่ เพราะความต้องการบริโภคเริ่มอ่อนตัวลง หลังจากผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ในสัปดาห์ก่อน ในขณะที่ผลผลิตสุกรมีปริมาณมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้สุกรเติบโตเร็ว คาดว่าราคามีโอกาสปรับลดลงอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 34.38 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 39.44 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อยังคล่องตัวดี ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เพราะความต้องการบริโภคมีมากเมื่อเทียบกับผลผลิต ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จูงใจให้ผู้เลี้ยงเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้ลูกไก่เนื้อยังทรงราคาสูงอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท และจากภาวะการซื้อขายของตลาดต่างประเทศในช่วงนี้ที่ค่อนข้างแจ่มใสทำให้มีแนวโน้มว่าราคาไก่เนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 26.99 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 26.84 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 27.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.55 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ30.15 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 9.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายอ่อนตัวลง เพราะผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคโดยรวมยังมีไม่มากนัก ทำให้ราคามีแนวโน้มที่จะลดลงอีกอย่างไรก็ตามความต้องการเลี้ยงในช่วงนี้ยังมีมาก เพราะลูกไก่ที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้ จะให้ผลผลิตประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาไข่ไก่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลูกไก่ไข่ในขณะนี้มีราคาแพง ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 164 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 159 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 182 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 160 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 165บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 190 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 191 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 186 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 208 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 174 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 194บาท ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 226 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 33.12 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.98
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 24.07 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.63 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.36
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำสัปดาห์ 3 - 9 ม.ค. 2543--