การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุนเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 7 (SOMTI VII) มีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2544 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในอนาคต โดยมีเบลเยี่ยมในฐานะ EU Presidency ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นประธานที่ประชุม และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย สรุปผลการประชุมที่สำคัญได้ดังนี้
๑. ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับมติที่ประชุมสุดยอดอาเซม ครั้งที่ 3 เรื่องการให้มีประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซม รวมทั้ง รัฐมนตรีเศรษฐกิจ (EMM) เป็นประจำทุกปีแทนที่จะเป็น 2 ปีครั้ง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 พิจารณาแนวทางในการปฏิบัติ
๒. แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า (TFAP) ฝ่ายยุโรปโดยคณะกรรมาธิการ ยุโรปและฝ่ายเอเชียได้ยื่นรายงานรายประเทศเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวก ทางการค้าโดยการลดเลิกมาตรการ NTBs ของทั้ง 7 สาขา ได้แก่ พิธีการศุลกากร ด้านมาตรฐานและการทดสอบ การจัดซื้อโดยรัฐ มาตรการด้านสุขอนามัยคน สัตว์ และพืช และการกักกันโรคพืช สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การเดินทางของนักธุรกิจ และกิจกรรมทางการค้าอื่น ๆ เช่น การจัดจำหน่าย (distribution) โดยแบ่งหน้าที่การ นำเสนอต่อที่ประชุม สำหรับไทยได้รับมอบหมายให้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเดินทางของนักธุรกิจ ซึ่งเป็นสาขาที่ไทยได้ปรับปรุงกฎระเบียบไปมากแล้ว ในขณะที่สหภาพยุโรปยังมิได้มีความคืบหน้า อีก
ทั้งแต่ละประเทศสมาชิกยังมีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงควรผลักดันให้มีความร่วมมือในด้านนี้มากขึ้นต่อไป และได้ขอให้สหภาพ- ยุโรปให้การปฏิบัติเท่าเทียมกันในการยกเว้นการขอวีซาให้แก่นักธุรกิจจากประเทศเอเชียที่เป็นสมาชิกอาเซมทั้งหมด นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ขอให้ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอแนะของสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) ในการจัดทำ ASEM Business Travel Card
รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานของสมาชิกอาเซมเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าโดยการลดเลิกมาตรการ NTBs ตามแผน TFAP ทั้ง 7 สาขาความร่วมมือ จะได้เผยแพร่ต่อไปในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งของฝ่ายสหภาพยุโรปและฝ่ายเอเชีย ภาคเอกชนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ ที่ http://www.moc.go.th
๓. แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (IPAP) SOMTI รับทราบผลการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านการลงทุน (IEG) ครั้งที่ 5 ซึ่งได้ดำเนินการให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านการลงทุนและปัญหาอุปสรรคระหว่างกัน โดยผ่านทางเว็บไซต์อาเซมวีไออี (ASEM Virtual Information Exchange) ซึ่งได้ตกลงที่จะให้เปลี่ยนมาเรียกว่า ASEM Invest Online (AIO) และเข้าถึงได้ที่ http://europa.eu.int/aio นอกจากนี้ ยังมีการรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานของแต่ละสมาชิกอาเซมเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมทั้งตอบข้อซักถาม ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
SOMTI พิจารณาเห็นความสำคัญและความคืบหน้าของการดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการลงทุนเอเชีย-ยุโรปของ IEG จึงได้ตกลงที่จะเสนอ EMM ครั้งที่ 3 เพื่อต่ออายุของ IEG ออกไป อีก 2 ปี
๔. WTO ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญและสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และเห็นว่าประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นหารือควรจะมีความสมดุล และครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลัง-พัฒนา และพัฒนาน้อยที่สุดที่จะดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ และเห็นว่าประเทศสมาชิกควรที่จะแสดงความจริงใจที่จะให้การเจรจาการค้ารอบใหม่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของการค้าระบบพหุภาคีกลับคืนมา และสนับสนุนประเทศจีนและเวียดนามที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ เรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขันที่ฝ่ายสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงคโปร์มีท่าทีสนับสนุนเรื่องนี้ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซมที่เหลือเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการประชุม WTO
๕. การเชื่อมโยงกับภาคเอกชน ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนจากสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) เข้าร่วมประชุมและแสดงข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ได้รายงานความคืบหน้าของการเตรียมการประชุม AEBF ครั้งที่ 6 ณ สิงคโปร์ โดยเน้นให้มีการจับคู่ SMEs ในส่วนของข้อเสนอแนะจาก AEBF ซึ่งในขณะนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมาก จะได้ให้ AEBF ครั้งที่ 6 พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ
สำหรับข้อเสนอแนะจาก AEBF ครั้งที่ 5 สมาชิกอาเซมส่วนใหญ่ได้จัดทำรายงานชี้แจงแล้ว และจะนำเผยแพร่ให้ AEBF และภาคเอกชนเอเชีย-ยุโรปได้รับทราบทั่วกันต่อไป
อินโดนีเซียรับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SOMTI ครั้งที่ 8 ในปี 2545
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
๑. ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับมติที่ประชุมสุดยอดอาเซม ครั้งที่ 3 เรื่องการให้มีประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซม รวมทั้ง รัฐมนตรีเศรษฐกิจ (EMM) เป็นประจำทุกปีแทนที่จะเป็น 2 ปีครั้ง ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าควรให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 พิจารณาแนวทางในการปฏิบัติ
๒. แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า (TFAP) ฝ่ายยุโรปโดยคณะกรรมาธิการ ยุโรปและฝ่ายเอเชียได้ยื่นรายงานรายประเทศเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวก ทางการค้าโดยการลดเลิกมาตรการ NTBs ของทั้ง 7 สาขา ได้แก่ พิธีการศุลกากร ด้านมาตรฐานและการทดสอบ การจัดซื้อโดยรัฐ มาตรการด้านสุขอนามัยคน สัตว์ และพืช และการกักกันโรคพืช สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การเดินทางของนักธุรกิจ และกิจกรรมทางการค้าอื่น ๆ เช่น การจัดจำหน่าย (distribution) โดยแบ่งหน้าที่การ นำเสนอต่อที่ประชุม สำหรับไทยได้รับมอบหมายให้รายงานความคืบหน้าเรื่องการเดินทางของนักธุรกิจ ซึ่งเป็นสาขาที่ไทยได้ปรับปรุงกฎระเบียบไปมากแล้ว ในขณะที่สหภาพยุโรปยังมิได้มีความคืบหน้า อีก
ทั้งแต่ละประเทศสมาชิกยังมีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงควรผลักดันให้มีความร่วมมือในด้านนี้มากขึ้นต่อไป และได้ขอให้สหภาพ- ยุโรปให้การปฏิบัติเท่าเทียมกันในการยกเว้นการขอวีซาให้แก่นักธุรกิจจากประเทศเอเชียที่เป็นสมาชิกอาเซมทั้งหมด นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ขอให้ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอแนะของสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) ในการจัดทำ ASEM Business Travel Card
รายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานของสมาชิกอาเซมเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าโดยการลดเลิกมาตรการ NTBs ตามแผน TFAP ทั้ง 7 สาขาความร่วมมือ จะได้เผยแพร่ต่อไปในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งของฝ่ายสหภาพยุโรปและฝ่ายเอเชีย ภาคเอกชนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ ที่ http://www.moc.go.th
๓. แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (IPAP) SOMTI รับทราบผลการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านการลงทุน (IEG) ครั้งที่ 5 ซึ่งได้ดำเนินการให้มีการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านการลงทุนและปัญหาอุปสรรคระหว่างกัน โดยผ่านทางเว็บไซต์อาเซมวีไออี (ASEM Virtual Information Exchange) ซึ่งได้ตกลงที่จะให้เปลี่ยนมาเรียกว่า ASEM Invest Online (AIO) และเข้าถึงได้ที่ http://europa.eu.int/aio นอกจากนี้ ยังมีการรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานของแต่ละสมาชิกอาเซมเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมทั้งตอบข้อซักถาม ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
SOMTI พิจารณาเห็นความสำคัญและความคืบหน้าของการดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการลงทุนเอเชีย-ยุโรปของ IEG จึงได้ตกลงที่จะเสนอ EMM ครั้งที่ 3 เพื่อต่ออายุของ IEG ออกไป อีก 2 ปี
๔. WTO ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญและสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และเห็นว่าประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นหารือควรจะมีความสมดุล และครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลัง-พัฒนา และพัฒนาน้อยที่สุดที่จะดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ และเห็นว่าประเทศสมาชิกควรที่จะแสดงความจริงใจที่จะให้การเจรจาการค้ารอบใหม่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของการค้าระบบพหุภาคีกลับคืนมา และสนับสนุนประเทศจีนและเวียดนามที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ เรื่องการลงทุน และนโยบายการแข่งขันที่ฝ่ายสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงคโปร์มีท่าทีสนับสนุนเรื่องนี้ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซมที่เหลือเห็นว่ายังไม่มีความพร้อมที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่วาระการประชุม WTO
๕. การเชื่อมโยงกับภาคเอกชน ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนจากสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป (AEBF) เข้าร่วมประชุมและแสดงข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ได้รายงานความคืบหน้าของการเตรียมการประชุม AEBF ครั้งที่ 6 ณ สิงคโปร์ โดยเน้นให้มีการจับคู่ SMEs ในส่วนของข้อเสนอแนะจาก AEBF ซึ่งในขณะนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมาก จะได้ให้ AEBF ครั้งที่ 6 พิจารณาจัดลำดับความสำคัญ
สำหรับข้อเสนอแนะจาก AEBF ครั้งที่ 5 สมาชิกอาเซมส่วนใหญ่ได้จัดทำรายงานชี้แจงแล้ว และจะนำเผยแพร่ให้ AEBF และภาคเอกชนเอเชีย-ยุโรปได้รับทราบทั่วกันต่อไป
อินโดนีเซียรับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม SOMTI ครั้งที่ 8 ในปี 2545
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-