กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานไทยในอิสราเอลในปี 2543 ตลอดจนแนวทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์แรงงานไทย สรุปดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูต ฯ คาดหมายว่า ในเดือนกรกฎาคม 2543 กฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีข้อกำหนดหลายข้อที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดเดิมที่เคยปฏิบัติมา และจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ผลกระทบจากการที่กระทรวงการคลังอิสราเอลยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้แก่แรงงานต่างชาติที่ทำงานเกินหนึ่งปีทำให้แรงงานที่ทำงานปีที่สองได้รับค่าจ้างแตกต่างและต่ำกว่าแรงงานที่ทำงานในปีแรกมาก ผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจะทำให้ปัญหาแรงงานไทยในอิสราเอลในปี 2543 มีความซับซ้อนมากขึ้น
2. สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะมีแนวทางดำเนินการด้านแรงงานดังนี้
2.1 ค่านายหน้า เนื่องจากค่านายหน้าที่แรงงานไทยจ่ายเพื่อเดินทางไปทำงาน ในอิสราเอลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แรงงานไทยเดือดร้อน ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ดังนั้น โดยในส่วนของสถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะเร่งดำเนินการส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานโดยตรงระหว่างนายจ้างกับกรมการจัดหางานไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดค่านายหน้าลง
2.2 ค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเป็นระบบแล้ว ดังนั้น ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะตรวจเยี่ยมเยียนแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับแรงงานไทยรวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้างท้องถิ่นด้วย และหากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเมษายน 2543 ก็จะดำเนินการให้นายจ้างจ่ายจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายใหม่ต่อไป โดยเน้นให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนตามสัญญาจ้าง สำหรับเรื่องค่าล่วงเวลาและสวัสดิการอื่นจะดำเนินการให้บริษัทจัดหางานและนายจ้างที่จ่ายค่าล่วงเวลาต่ำมากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นรายๆ ไป
2.3 ค่าที่พัก หากกระทรวงแรงงานอิสราเอลออกประกาศกำหนดมาตรฐานที่พักและอัตราค่าที่พักตามกฎหมายใหม่ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะดำเนินการตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อให้แรงงานไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงและให้เกิดระบบที่ดีในอนาคต
2.4 การยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะพยายามดำเนินเจรจากับทางการอิสราเอลให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็จะเจรจาขอความร่วมมือบริษัทจัดหางานและนายจ้างให้จ่ายค่าจ้างแก่แรงงานไทยวันละ 78 เชคเกลเท่ากัน ทั้งสองปี เนื่องจากปัจจุบันแรงงานไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการจ่ายค่าล่วงเวลาและสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานอิสราเอล
2.5 การเตรียมการจัดระเบียบตามกฎหมายใหม่ สถานเอกอัครราชทูตได้มีการเตรียมการ ดังนี้
- แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาสาระสำคัญของกฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อแรงงานไทย
- ศึกษาเปรียบเทียบกับสัญญาจ้างมาตรฐานของแรงงานไทย เพื่อตรวจสอบกรณีมีข้อขัดแย้งกับกฎหมาย หรือมีข้อกำหนดที่ต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่ เพื่อประโยชน์ของแรงงานไทย
2.6 การส่งเสริมการจ้างแรงงานไทย ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานแรงงานคาดว่า แนวโน้มความต้องการจ้างแรงงานไทยภาคการเกษตรของอิสราเอลจะมี ความต้องการคงที่เนื่องจากเกษตรกรท้องถิ่นมีความนิยมจ้างแรงงานไทยมาก จึงเห็นว่าประเทศ อิสราเอลจะยังคงเป็นตลาดแรงงานภาคเกษตรกรรมของแรงงานไทยที่มีเสถียรภาพอยู่ต่อไป
นอกจากนี้สำหรับแรงงานภาคก่อสร้างและภาคบริการ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานก็จะพบปะเจรจากับนายจ้างและสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างอิสราเอลเพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเจรจากับเจ้าของโรงแรมชั้นนำของอิสราเอลเพื่อส่งเสริมการจ้างงานภาคบริการ ได้แก่ พนักงานทำงานสะอาด พ่อครัว และนวดแผนโบราณ
3. สรุปสถานการณ์แรงงานไทยโดยรวมในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานเห็นว่า “การเพิ่มรายได้และการลดรายจ่าย” เป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูตและของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กล่าวคือ เพิ่มรายได้โดยดำเนินการให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาและสวัสดิการตามอัตราที่กฎหมายแรงงานอิสราเอลกำหนด และลดรายจ่ายโดยดำเนินการให้ลดค่าที่พัก และลดค่านายหนนประเทศไทย--จบ--
-ยก-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานไทยในอิสราเอลในปี 2543 ตลอดจนแนวทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์แรงงานไทย สรุปดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูต ฯ คาดหมายว่า ในเดือนกรกฎาคม 2543 กฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีข้อกำหนดหลายข้อที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดเดิมที่เคยปฏิบัติมา และจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ ผลกระทบจากการที่กระทรวงการคลังอิสราเอลยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้แก่แรงงานต่างชาติที่ทำงานเกินหนึ่งปีทำให้แรงงานที่ทำงานปีที่สองได้รับค่าจ้างแตกต่างและต่ำกว่าแรงงานที่ทำงานในปีแรกมาก ผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวจะทำให้ปัญหาแรงงานไทยในอิสราเอลในปี 2543 มีความซับซ้อนมากขึ้น
2. สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะมีแนวทางดำเนินการด้านแรงงานดังนี้
2.1 ค่านายหน้า เนื่องจากค่านายหน้าที่แรงงานไทยจ่ายเพื่อเดินทางไปทำงาน ในอิสราเอลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แรงงานไทยเดือดร้อน ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ดังนั้น โดยในส่วนของสถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะเร่งดำเนินการส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานโดยตรงระหว่างนายจ้างกับกรมการจัดหางานไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดค่านายหน้าลง
2.2 ค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากนายจ้างส่วนใหญ่มีการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเป็นระบบแล้ว ดังนั้น ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะตรวจเยี่ยมเยียนแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับแรงงานไทยรวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้างท้องถิ่นด้วย และหากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเมษายน 2543 ก็จะดำเนินการให้นายจ้างจ่ายจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายใหม่ต่อไป โดยเน้นให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนตามสัญญาจ้าง สำหรับเรื่องค่าล่วงเวลาและสวัสดิการอื่นจะดำเนินการให้บริษัทจัดหางานและนายจ้างที่จ่ายค่าล่วงเวลาต่ำมากปฏิบัติตามกฎหมายเป็นรายๆ ไป
2.3 ค่าที่พัก หากกระทรวงแรงงานอิสราเอลออกประกาศกำหนดมาตรฐานที่พักและอัตราค่าที่พักตามกฎหมายใหม่ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะดำเนินการตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อให้แรงงานไทยเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงและให้เกิดระบบที่ดีในอนาคต
2.4 การยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานจะพยายามดำเนินเจรจากับทางการอิสราเอลให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็จะเจรจาขอความร่วมมือบริษัทจัดหางานและนายจ้างให้จ่ายค่าจ้างแก่แรงงานไทยวันละ 78 เชคเกลเท่ากัน ทั้งสองปี เนื่องจากปัจจุบันแรงงานไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการจ่ายค่าล่วงเวลาและสวัสดิการตามกฎหมายแรงงานอิสราเอล
2.5 การเตรียมการจัดระเบียบตามกฎหมายใหม่ สถานเอกอัครราชทูตได้มีการเตรียมการ ดังนี้
- แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาสาระสำคัญของกฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อแรงงานไทย
- ศึกษาเปรียบเทียบกับสัญญาจ้างมาตรฐานของแรงงานไทย เพื่อตรวจสอบกรณีมีข้อขัดแย้งกับกฎหมาย หรือมีข้อกำหนดที่ต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานต่างชาติฉบับใหม่ เพื่อประโยชน์ของแรงงานไทย
2.6 การส่งเสริมการจ้างแรงงานไทย ในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและสำนักงานแรงงานคาดว่า แนวโน้มความต้องการจ้างแรงงานไทยภาคการเกษตรของอิสราเอลจะมี ความต้องการคงที่เนื่องจากเกษตรกรท้องถิ่นมีความนิยมจ้างแรงงานไทยมาก จึงเห็นว่าประเทศ อิสราเอลจะยังคงเป็นตลาดแรงงานภาคเกษตรกรรมของแรงงานไทยที่มีเสถียรภาพอยู่ต่อไป
นอกจากนี้สำหรับแรงงานภาคก่อสร้างและภาคบริการ สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานก็จะพบปะเจรจากับนายจ้างและสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างอิสราเอลเพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเจรจากับเจ้าของโรงแรมชั้นนำของอิสราเอลเพื่อส่งเสริมการจ้างงานภาคบริการ ได้แก่ พนักงานทำงานสะอาด พ่อครัว และนวดแผนโบราณ
3. สรุปสถานการณ์แรงงานไทยโดยรวมในปี 2543 สถานเอกอัครราชทูตและฝ่ายแรงงานเห็นว่า “การเพิ่มรายได้และการลดรายจ่าย” เป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูตและของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กล่าวคือ เพิ่มรายได้โดยดำเนินการให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาและสวัสดิการตามอัตราที่กฎหมายแรงงานอิสราเอลกำหนด และลดรายจ่ายโดยดำเนินการให้ลดค่าที่พัก และลดค่านายหนนประเทศไทย--จบ--
-ยก-