สศอ. เผยอุตฯอาหาร-ยานยนต์ การผลิตขยายตัวมากขึ้น คาดผลิต-ส่งออกเดือนหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้านอุตฯเหล็กผลิตลดลงตามฤดูกาล เหตุก่อสร้างชะลอตัวช่วงฤดูฝน ไฟฟ้าอิเล็กฯปรับลดลงเล็กน้อย
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 145.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 จากเดือนก่อนที่ระดับ 142.79 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 131.38 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เนื่องจากมีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้ภาคการผลิตขยายตัวได้ดีในกลุ่มสินค้าประมง สำหรับแนวโน้มการส่งออกก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง จากการได้รับสิทธิจีเอสพีจากอียูชั่วคราวถึงปลายปีนี้
ในส่วนของภาวะการผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเร่งผลิตรถยนต์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการผลิตรถยนต์จำนวน 100,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.49 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดในประเทศมีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อเริ่มเข้าสู่ตลาด โดยมียอดจำหน่ายจำนวน 56,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และมีปริมาณการส่งออกจำนวน 44,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.23 จากเดือนก่อน ส่วนแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม รถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกันเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ โดยมีการผลิตจำนวน 184,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และมีการจำหน่ายจำนวน 162,000 คัน เพิ่มขึ้น 2.51 ส่งออกรถจักรยานยนต์จำนวน 12,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และคาดว่าในเดือนหน้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมที่ภาวะการผลิตชะลอตัวลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก โดยดัชนีผลผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 112.73 ลดลงร้อยละ 9.33 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยมาจากการผลิตเหล็กทรงยาวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การก่อสร้างชะลอตัวผู้ผลิตจึงลดการผลิตลง ในขณะที่ภาวะการผลิตเหล็กทรงแบน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในบางผลิตภัณฑ์ เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องซึ่งใช้เหล็กชนิดนี้เป็นบรรจุภัณฑ์มีการผลิตลดลง ส่วนแนวโน้มและสถานการณ์เหล็กทรงยาวในเดือนถัดไปคาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและภาวะการค้ายังอยู่ในช่วงชะลอตัว ประกอบการมีความผันผวนของราคาเหล็ก ผู้ซื้อจึงชะลอการสั่งซื้อลง ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดว่าแนวโน้มการแข่งขันในตลาดจะสูงขึ้น เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กราคาถูกจากประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ นางอรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่าภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.4 แต่คาดว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนถึงสิ้นปี เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางรายการ อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
ในส่วนของสถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม พบว่า มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 395 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 จากเดือนก่อน ในส่วนของการลงทุนมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,114 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงาน 10,553 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการลงทุน 7,890 ล้านบาท และจำนวนการจ้างงาน 7,862 คน คิดเป็นร้อยละ 193.0 และ 34.2 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 145.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88 จากเดือนก่อนที่ระดับ 142.79 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 131.38 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เนื่องจากมีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้ภาคการผลิตขยายตัวได้ดีในกลุ่มสินค้าประมง สำหรับแนวโน้มการส่งออกก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง จากการได้รับสิทธิจีเอสพีจากอียูชั่วคราวถึงปลายปีนี้
ในส่วนของภาวะการผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเร่งผลิตรถยนต์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการผลิตรถยนต์จำนวน 100,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.49 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดในประเทศมีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อเริ่มเข้าสู่ตลาด โดยมียอดจำหน่ายจำนวน 56,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และมีปริมาณการส่งออกจำนวน 44,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.23 จากเดือนก่อน ส่วนแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม รถจักรยานยนต์มีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกันเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ โดยมีการผลิตจำนวน 184,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 และมีการจำหน่ายจำนวน 162,000 คัน เพิ่มขึ้น 2.51 ส่งออกรถจักรยานยนต์จำนวน 12,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และคาดว่าในเดือนหน้าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับอุตสาหกรรมที่ภาวะการผลิตชะลอตัวลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก โดยดัชนีผลผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 112.73 ลดลงร้อยละ 9.33 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยมาจากการผลิตเหล็กทรงยาวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้การก่อสร้างชะลอตัวผู้ผลิตจึงลดการผลิตลง ในขณะที่ภาวะการผลิตเหล็กทรงแบน ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในบางผลิตภัณฑ์ เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องซึ่งใช้เหล็กชนิดนี้เป็นบรรจุภัณฑ์มีการผลิตลดลง ส่วนแนวโน้มและสถานการณ์เหล็กทรงยาวในเดือนถัดไปคาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและภาวะการค้ายังอยู่ในช่วงชะลอตัว ประกอบการมีความผันผวนของราคาเหล็ก ผู้ซื้อจึงชะลอการสั่งซื้อลง ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดว่าแนวโน้มการแข่งขันในตลาดจะสูงขึ้น เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กราคาถูกจากประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ นางอรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่าภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.4 แต่คาดว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนถึงสิ้นปี เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวเพิ่มขึ้น และผู้ผลิตเตรียมเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางรายการ อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
ในส่วนของสถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม พบว่า มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 395 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 จากเดือนก่อน ในส่วนของการลงทุนมียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,114 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงาน 10,553 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการลงทุน 7,890 ล้านบาท และจำนวนการจ้างงาน 7,862 คน คิดเป็นร้อยละ 193.0 และ 34.2 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-