ประสานความร่วมมือหาแนวทางแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย - ฮังการี
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรอง นายซานโดร์ โยลสวาอี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการี ประจำประเทศไทย
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
วันที่ 9 เมษายน 2544 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2
อาคารรัฐสภา 1 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการี ได้สนทนาถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับฮังการีที่มีมา โดยตลอด
โดยเฉพาะการปกครองไทย และฮังการีมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีระบบรัฐสภาแบบประชาธิปไตย
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบ่งเขตเบอร์เดียว มีวาระ 4 ปีเท่ากัน
และฮังการีเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกที่ดำเนินการปฏิรูปการเมืองจากระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ไปสู่แนวทางประชาธิปไตยแบบตะวันตก และได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ตามระบอบประชาธิปไตยครั้งแรก เมื่อปี 2533
นับแต่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย 10 กว่าปีที่ผ่านมาทางฮังการีได้มีการปรับโครงสร้างของกฎหมาย
โดยการเปลี่ยนสนธิสัญญาวอซอร์ มาเป็นสนธิสัญญานาโต้ และมีการเปลี่ยนแปลงระบบพรรคเดียว มาเป็นระบบหลายพรรค
จากการปรับโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศฮังการีเจริญรุ่งเรือง
และประสบความสำเร็จได้นั้นมีปัจจัยสำคัญ ซึ่งมาจากรายได้ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 75 %
จากกลุ่มองค์กรร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา 76 % และมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจถึง 70 %
โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การลดอัตราเงินเฟ้อมาตรการด้านการค้า และการลงทุน
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพ ยุโรป (OECD) ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นมีประโยชน์
สำคัญอย่างยิ่งที่ไทยสามารถนำประสบการณ์เกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยปรับปรุงรูปแบบเศรษฐกิจเสียใหม่
โดยภายใต้ระบบที่รัฐสภาควบคุม และการทำงานของรัฐบาลไทยที่มีการดำเนินการ ค่อนข้างดีมาก
ที่สำคัญหน้าที่ของ รัฐสภานั้น จะต้องพัฒนานำประเทศเข้าสู่เส้นทางนานาชาติ และนำสิ่งดี ๆ ให้ประเทศกินดีอยู่ดี
และเป็นการพัฒนาวิถีชีวิตของประชาชนให้ทันสมัยขึ้น และในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจจะเป็นประโยชน์มากหากมีการศึกษา
อย่างดีจากเพื่อนบ้านที่มี การแปรรูป และประสบความสำเร็จมาแล้ว และหาข้อเสียต่าง ๆ มาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
ประธานรัฐสภา ได้กล่าวต่อไปว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยนั้น กำลังจะดำเนินการ
ที่ประเทศฮังการีประสบความสำเร็จในการแปรรูปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี และจะนำประสบการณ์
คำแนะนำของฮังการีไปยังผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป
------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
ให้การรับรอง นายซานโดร์ โยลสวาอี เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการี ประจำประเทศไทย
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาแนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
วันที่ 9 เมษายน 2544 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2
อาคารรัฐสภา 1 นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการี ได้สนทนาถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับฮังการีที่มีมา โดยตลอด
โดยเฉพาะการปกครองไทย และฮังการีมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีระบบรัฐสภาแบบประชาธิปไตย
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแบ่งเขตเบอร์เดียว มีวาระ 4 ปีเท่ากัน
และฮังการีเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออกที่ดำเนินการปฏิรูปการเมืองจากระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ไปสู่แนวทางประชาธิปไตยแบบตะวันตก และได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ตามระบอบประชาธิปไตยครั้งแรก เมื่อปี 2533
นับแต่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย 10 กว่าปีที่ผ่านมาทางฮังการีได้มีการปรับโครงสร้างของกฎหมาย
โดยการเปลี่ยนสนธิสัญญาวอซอร์ มาเป็นสนธิสัญญานาโต้ และมีการเปลี่ยนแปลงระบบพรรคเดียว มาเป็นระบบหลายพรรค
จากการปรับโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศฮังการีเจริญรุ่งเรือง
และประสบความสำเร็จได้นั้นมีปัจจัยสำคัญ ซึ่งมาจากรายได้ของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 75 %
จากกลุ่มองค์กรร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา 76 % และมาจากการปฏิรูปเศรษฐกิจถึง 70 %
โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การลดอัตราเงินเฟ้อมาตรการด้านการค้า และการลงทุน
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสหภาพ ยุโรป (OECD) ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานั้นมีประโยชน์
สำคัญอย่างยิ่งที่ไทยสามารถนำประสบการณ์เกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยปรับปรุงรูปแบบเศรษฐกิจเสียใหม่
โดยภายใต้ระบบที่รัฐสภาควบคุม และการทำงานของรัฐบาลไทยที่มีการดำเนินการ ค่อนข้างดีมาก
ที่สำคัญหน้าที่ของ รัฐสภานั้น จะต้องพัฒนานำประเทศเข้าสู่เส้นทางนานาชาติ และนำสิ่งดี ๆ ให้ประเทศกินดีอยู่ดี
และเป็นการพัฒนาวิถีชีวิตของประชาชนให้ทันสมัยขึ้น และในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจจะเป็นประโยชน์มากหากมีการศึกษา
อย่างดีจากเพื่อนบ้านที่มี การแปรรูป และประสบความสำเร็จมาแล้ว และหาข้อเสียต่าง ๆ มาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
ประธานรัฐสภา ได้กล่าวต่อไปว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยนั้น กำลังจะดำเนินการ
ที่ประเทศฮังการีประสบความสำเร็จในการแปรรูปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี และจะนำประสบการณ์
คำแนะนำของฮังการีไปยังผู้เกี่ยวข้องทราบต่อไป
------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร