หนี้ต่างประเทศลดลงมาก จากการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2544
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ภาคเอกชน ส่วนหนี้ภาคทางการทรงตัว
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ หนี้ภาคธนาคาร ลดลงถึง 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นที่นำเข้ามาเพื่อปรับสภาพคล่องในช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปี ประกอบกับมีการชำระหนี้ที่ครบกำหนดของกิจการวิเทศธนกิจที่จะมีการ ควบรวมกิจการในเดือนสิงหาคม สำหรับ หนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร ลดลง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด
หนี้ภาคทางการ มียอดคงค้างทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า แม้จะมีการนำเข้าเงินกู้ SAL (Structural Adjustment Loans) ในโครงการปรับโครงสร้างส่วนราชการ จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากในเดือนนี้ มีการซื้อคืนตราสารหนี้จากต่างประเทศ และการชำระคืน เงินกู้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจซึ่งรวมแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกับการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าว ทำให้ยอดหนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 6.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวของภาค เอกชนและภาคทางการ รวมทั้งการอ่อนตัวของค่าเงินเยน
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของทั้งภาคธนาคารและภาคธุรกิจ ที่ไม่ใช่ธนาคาร ส่วนหนี้ระยะสั้น หนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารลดลงต่อเนื่อง แต่หนี้ระยะสั้นของภาคธนาคาร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางไตรมาสที่ 2 และกลับลดลงมาก ในเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับสภาพคล่อง ช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปี และการชำระคืนหนี้ระยะสั้น ที่ครบกำหนด ของกิจการวิเทศธนกิจที่จะมีการควบรวมกิจการ
หนี้ภาคทางการ ลดลง 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดลง 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระหนี้ ขณะที่หนี้ระยะยาวภาครัฐบาล ลดลง 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ส่วนหนี้ระยะสั้นภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการออกตราสารหนี้ ECP (Euro Commercial Paper) ในช่วงปลายไตรมาสสอง เพื่อชำระค่าเครื่องบิน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.3 จากร้อยละ 18.4 สำหรับสัดส่วนหนี้ ภาคเอกชนและภาคทางการใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 58 : 42
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ภาคเอกชน ส่วนหนี้ภาคทางการทรงตัว
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 0.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ หนี้ภาคธนาคาร ลดลงถึง 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นที่นำเข้ามาเพื่อปรับสภาพคล่องในช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปี ประกอบกับมีการชำระหนี้ที่ครบกำหนดของกิจการวิเทศธนกิจที่จะมีการ ควบรวมกิจการในเดือนสิงหาคม สำหรับ หนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร ลดลง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด
หนี้ภาคทางการ มียอดคงค้างทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า แม้จะมีการนำเข้าเงินกู้ SAL (Structural Adjustment Loans) ในโครงการปรับโครงสร้างส่วนราชการ จำนวน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจากในเดือนนี้ มีการซื้อคืนตราสารหนี้จากต่างประเทศ และการชำระคืน เงินกู้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจซึ่งรวมแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกับการเบิกจ่ายเงินกู้ดังกล่าว ทำให้ยอดหนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543 หนี้ต่างประเทศรวม ลดลง 6.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวของภาค เอกชนและภาคทางการ รวมทั้งการอ่อนตัวของค่าเงินเยน
หนี้ภาคเอกชน ลดลง 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของทั้งภาคธนาคารและภาคธุรกิจ ที่ไม่ใช่ธนาคาร ส่วนหนี้ระยะสั้น หนี้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารลดลงต่อเนื่อง แต่หนี้ระยะสั้นของภาคธนาคาร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางไตรมาสที่ 2 และกลับลดลงมาก ในเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับสภาพคล่อง ช่วงปิดงวดบัญชีครึ่งปี และการชำระคืนหนี้ระยะสั้น ที่ครบกำหนด ของกิจการวิเทศธนกิจที่จะมีการควบรวมกิจการ
หนี้ภาคทางการ ลดลง 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดลง 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระหนี้ ขณะที่หนี้ระยะยาวภาครัฐบาล ลดลง 1.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ส่วนหนี้ระยะสั้นภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการออกตราสารหนี้ ECP (Euro Commercial Paper) ในช่วงปลายไตรมาสสอง เพื่อชำระค่าเครื่องบิน
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ : สัดส่วนหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.3 จากร้อยละ 18.4 สำหรับสัดส่วนหนี้ ภาคเอกชนและภาคทางการใกล้เคียงกับสิ้นปีก่อนที่ร้อยละ 58 : 42
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-