แท็ก
การนำเข้า
1. การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นไทย ต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากต่างประเทศโรงกลั่นของไทยไม่ได้แข่งขันเฉพาะกลุ่มโรงกลั่นในประเทศเท่านั้น แต่ต้องแข่งขันกับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศด้วย ดังนั้น การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูประดับค้าส่ง จึงต้องกำหนดราคาในระดับที่แข่งขันกับราคานำเข้าที่ถูกที่สุด ซึ่งหมายถึงต้นทุนการส่งออกจากต่างประเทศ มายังประเทศไทยในระดับต่ำสุด การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นน้ำมัน จึงใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้า (Import Parity Basis) และได้ใช้ตลาดสิงคโปร์ เป็นตลาดอ้างอิงการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปดังกล่าว
ในการกำหนดราคา หากโรงกลั่นกำหนดราคาสูงกว่าการนำเข้าจากสิงคโปร์ ผู้ค้าน้ำมันจะนำเข้า แทนการซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ แต่หากกำหนดราคาต่ำกว่าราคานำเข้า จะทำให้โรงกลั่นได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควร ย่อมไม่เกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนธุรกิจการกลั่นในประเทศไทย
2. สาเหตุที่ใช้ในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยสะท้อนต้นทุนการนำเข้าของไทยในระดับต่ำสุด ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งใกล้ไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย ปริมาณการซื้อขายในระดับสูง สิงคโปร์ จะเป็นตลาดที่ทำการซื้อขายน้ำมันเช่นเดียวกับนิวยอร์ค โดยน้ำมันที่ทำการซื้อขาย อาจไม่ได้เก็บไว้ในสิงคโปร์ แต่จะมีการตกลงซื้อขายในสิงคโปร์ เนื่องจากจะมีบริษัทที่ทำธุรกิจซื้อขายน้ำมัน มาเปิดดำเนินการในสิงคโปร์ ปริมาณการซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ จะอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดใหญ่ ในพื้นที่อื่น (ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้ยากต่อการปั่นราคา โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาจะสะท้อน จากความสามารถในการจัดหา และความต้องการน้ำมันของภูมิภาคนี้ ราคาสะท้อนความสามารถในการจัดหา และความต้องการของเอเซีย แม้สิงคโปร์จะมีกำลังการกลั่นรวมอยู่ที่ 1.5 ล้านบาเรลต่อวัน ซึ่งยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่การกลั่นของสิงคโปร์ เป็นการกลั่นเพื่อส่งออก ในขณะที่ประเทศที่มีกำลังกลั่นมากกว่าสิงคโปร์ดังกล่าว เป็นการกลั่นเพื่อใช้ในประเทศเป็นหลัก เมื่อเหลือแล้วจึงส่งออก จากการกลั่นเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทำให้ราคาจำหน่ายของตลาดสิงคโปร์ จะสะท้อนราคาส่งออกที่แท้จริง ซึ่งจะสะท้อนความสามารถในการจัดหา และสภาพความต้องการนำน้ำมันสำเร็จรูป ของภูมิภาคเอเซีย ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานกำหนดราคาส่งออกของประเทศต่างๆ แม้ว่าการส่งออกของสิงคโปร์จะเริ่มลดลง เพราะมีกำลังกลั่นเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ แต่ราคาที่ส่งออกของประเทศต่างๆ ยังคงใช้ราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ เป็นฐานในการกำหนดราคาส่งออก และการซื้อขายเพื่อส่งออกจากประเทศต่างๆ ยังทำการซื้อขายที่สิงคโปร์เป็นหลัก ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก สพช. ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดต่างๆ ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรป ตลาดอเมริกา และตลาดจรสิงคโปร์พบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปทุกตลาดต่างปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน และในระดับที่ใกล้เคียงกัน อาจมีบางช่วงที่ราคา ของบางตลาดเปลี่ยนแปลงในทิศทาง หรือระดับที่แตกต่างกับตลาดอื่นๆ ซึ่งเป็นเพราะภาวะที่ความต้องการ และปริมาณน้ำมันในตลาด ไม่มีความสมดุลในช่วงเวลานั้นๆ แต่ต่อมาราคาที่แตกต่างจากตลาดอื่นมาก จะทำให้เกิดการไหลเข้า / หรือออกของน้ำมันจากตลาดอื่น จนทำให้ระดับของราคาตลาดนั้น ปรับตัวสู่ภาวะสมดุลกับตลาดอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในทุกตลาด เป็นสินค้าภายใต้ระบบการค้าเสรี และเป็นสากล ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ จากการสังเกตความเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดต่างๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ และการปรับตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงที่มีความแตกต่างจากตลาดอื่นมาก ตลาดสิงคโปร์จะใช้เวลาในการปรับตัวสู่สมดุลในเวลาประมาณ 1-3 วัน ซึ่งจะเห็นว่าการแข็งตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในเดือนมีนาคมในตลาดจรสิงคโปร์ ได้ปรับตัวสู่ระดับปกติในช่วงหลังของเดือน
3. การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ที่เหมาะสมของโรงกลั่นไทยในสถานการณ์ปัจจุบันจากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่โรงกลั่นไทยยังต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากสิงคโปร์ และราคาในตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางเดียวกับตลาดอื่นๆ โดยมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ดังนั้น กำหนดราคาของโรงกลั่นโดยอ้างอิงราคาในตลาดจรสิงคโปร์ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วน ในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ประชาชนในประเทศ ควรได้รับประโยชน์จากราคาส่งออก ที่ถูกกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่น ได้เริ่มมีการให้ส่วนลดแก่ผู้ค้าน้ำมันในบางช่วง ผู้ค้าน้ำมันก็เริ่มนำส่วนลดราคานี้ มาลดราคาจำหน่ายในประเทศในบางพื้นที่ หากขยายการดำเนินการไปสู่การลดราคาจำหน่ายทั่วประเทศ โดยการลดราคา ณ โรงกลั่นให้ใกล้เคียงราคาส่งออกอย่างถาวรผู้บริโภค จะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งรัฐได้ดำเนินการแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ได้เห็นชอบตามมติกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นให้ลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาส่งออก โดยยังคงอ้างอิงกับราคาในตลาดสิงคโปร์เช่นเดิม
4. ความไม่เหมาะสมของการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ตามต้นทุนของโรงกลั่น (Cost Plus Basis)การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นโดยใช้หลักการ Cost-plus Basis ซึ่งกำหนดจากต้นทุนราคาน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นที่คงที่ การกำหนดราคาวิธีนี้ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนเช่นเดียวกับราคาน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้นการกำหนดราคาลักษณะนี้ ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาความผันผวนของราคาขายปลีกของไทย ในช่วงที่ตลาดมีภาวะผิดปกติ ถ้าใช้ต้นทุนการกลั่นของโรงกลั่นในไทยเป็นเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นจะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้น เพราะต้นทุนของโรงกลั่นน้ำมันไทยสูงกว่าสิงคโปร์ ต้นทุนการกลั่นน้ำมัน ของสิงคโปร์มีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย เนื่องจาก กำลังการกลั่นของโรงกลั่นสิงคโปร์มีขนาดใหญ่กว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงกลั่นไทย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงกลั่นในไทย สิงคโปร์มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีผลตอบแทนการกลั่นที่ดีกว่าไทย สิงคโปร์จัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ สิงคโปร์เป็นเมืองท่า จึงมีความได้เปรียบเรื่องความพร้อมของระบบการขนส่ง ทำเลของการขนส่ง ท่าเรือขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการขนส่งน้ำมันถูกกว่าไทย การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ คือ ได้บริโภคน้ำมันในระดับราคาต้นทุนที่ถูกสุด เพราะโรงกลั่นไทย จำเป็นต้องใช้ฐานต้นทุน ที่ถูกกว่าของโรงกลั่นสิงคโปร์ ในการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป เพราะต้องแข่งขันการนำเข้าจากสิงคโปร์ การกำหนดราคาโดยใช้หลักการ Cost-plus จะทำให้สภาพการแข่งขันในตลาดน้ำมันถูกบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนของราคาน้ำมัน ไม่สะท้อนถึงการแข่งขันที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้า และการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของตลาด ในบางช่วงราคานำเข้า อาจถูกกว่าราคาที่โรงกลั่นในประเทศกำหนด ผู้ค้าน้ำมันจะไปนำเข้าแทนการซื้อจากโรงกลั่น และในทางกลับกัน หากราคาในสิงคโปร์สูงกว่าไทย จะทำให้โรงกลั่นมีกำไรจากการส่งออก มากกว่าการจำหน่ายในประเทศ โรงกลั่นจะพยายามส่งออกให้มากที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดแขลนน้ำมันขึ้นในประเทศได้ การกำหนดค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่ จะทำให้โรงกลั่นของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
--กองการปิโตรเลียม/9 สิงหาคม 2543--
-ยก-
ในการกำหนดราคา หากโรงกลั่นกำหนดราคาสูงกว่าการนำเข้าจากสิงคโปร์ ผู้ค้าน้ำมันจะนำเข้า แทนการซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ แต่หากกำหนดราคาต่ำกว่าราคานำเข้า จะทำให้โรงกลั่นได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควร ย่อมไม่เกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนธุรกิจการกลั่นในประเทศไทย
2. สาเหตุที่ใช้ในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยสะท้อนต้นทุนการนำเข้าของไทยในระดับต่ำสุด ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งใกล้ไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย ปริมาณการซื้อขายในระดับสูง สิงคโปร์ จะเป็นตลาดที่ทำการซื้อขายน้ำมันเช่นเดียวกับนิวยอร์ค โดยน้ำมันที่ทำการซื้อขาย อาจไม่ได้เก็บไว้ในสิงคโปร์ แต่จะมีการตกลงซื้อขายในสิงคโปร์ เนื่องจากจะมีบริษัทที่ทำธุรกิจซื้อขายน้ำมัน มาเปิดดำเนินการในสิงคโปร์ ปริมาณการซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ จะอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดใหญ่ ในพื้นที่อื่น (ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้ยากต่อการปั่นราคา โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาจะสะท้อน จากความสามารถในการจัดหา และความต้องการน้ำมันของภูมิภาคนี้ ราคาสะท้อนความสามารถในการจัดหา และความต้องการของเอเซีย แม้สิงคโปร์จะมีกำลังการกลั่นรวมอยู่ที่ 1.5 ล้านบาเรลต่อวัน ซึ่งยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่การกลั่นของสิงคโปร์ เป็นการกลั่นเพื่อส่งออก ในขณะที่ประเทศที่มีกำลังกลั่นมากกว่าสิงคโปร์ดังกล่าว เป็นการกลั่นเพื่อใช้ในประเทศเป็นหลัก เมื่อเหลือแล้วจึงส่งออก จากการกลั่นเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทำให้ราคาจำหน่ายของตลาดสิงคโปร์ จะสะท้อนราคาส่งออกที่แท้จริง ซึ่งจะสะท้อนความสามารถในการจัดหา และสภาพความต้องการนำน้ำมันสำเร็จรูป ของภูมิภาคเอเซีย ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานกำหนดราคาส่งออกของประเทศต่างๆ แม้ว่าการส่งออกของสิงคโปร์จะเริ่มลดลง เพราะมีกำลังกลั่นเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ แต่ราคาที่ส่งออกของประเทศต่างๆ ยังคงใช้ราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ เป็นฐานในการกำหนดราคาส่งออก และการซื้อขายเพื่อส่งออกจากประเทศต่างๆ ยังทำการซื้อขายที่สิงคโปร์เป็นหลัก ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก สพช. ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดต่างๆ ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรป ตลาดอเมริกา และตลาดจรสิงคโปร์พบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปทุกตลาดต่างปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน และในระดับที่ใกล้เคียงกัน อาจมีบางช่วงที่ราคา ของบางตลาดเปลี่ยนแปลงในทิศทาง หรือระดับที่แตกต่างกับตลาดอื่นๆ ซึ่งเป็นเพราะภาวะที่ความต้องการ และปริมาณน้ำมันในตลาด ไม่มีความสมดุลในช่วงเวลานั้นๆ แต่ต่อมาราคาที่แตกต่างจากตลาดอื่นมาก จะทำให้เกิดการไหลเข้า / หรือออกของน้ำมันจากตลาดอื่น จนทำให้ระดับของราคาตลาดนั้น ปรับตัวสู่ภาวะสมดุลกับตลาดอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในทุกตลาด เป็นสินค้าภายใต้ระบบการค้าเสรี และเป็นสากล ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ จากการสังเกตความเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดต่างๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ และการปรับตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงที่มีความแตกต่างจากตลาดอื่นมาก ตลาดสิงคโปร์จะใช้เวลาในการปรับตัวสู่สมดุลในเวลาประมาณ 1-3 วัน ซึ่งจะเห็นว่าการแข็งตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในเดือนมีนาคมในตลาดจรสิงคโปร์ ได้ปรับตัวสู่ระดับปกติในช่วงหลังของเดือน
3. การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ที่เหมาะสมของโรงกลั่นไทยในสถานการณ์ปัจจุบันจากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่โรงกลั่นไทยยังต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากสิงคโปร์ และราคาในตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางเดียวกับตลาดอื่นๆ โดยมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ดังนั้น กำหนดราคาของโรงกลั่นโดยอ้างอิงราคาในตลาดจรสิงคโปร์ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วน ในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ประชาชนในประเทศ ควรได้รับประโยชน์จากราคาส่งออก ที่ถูกกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่น ได้เริ่มมีการให้ส่วนลดแก่ผู้ค้าน้ำมันในบางช่วง ผู้ค้าน้ำมันก็เริ่มนำส่วนลดราคานี้ มาลดราคาจำหน่ายในประเทศในบางพื้นที่ หากขยายการดำเนินการไปสู่การลดราคาจำหน่ายทั่วประเทศ โดยการลดราคา ณ โรงกลั่นให้ใกล้เคียงราคาส่งออกอย่างถาวรผู้บริโภค จะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งรัฐได้ดำเนินการแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ได้เห็นชอบตามมติกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นให้ลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาส่งออก โดยยังคงอ้างอิงกับราคาในตลาดสิงคโปร์เช่นเดิม
4. ความไม่เหมาะสมของการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ตามต้นทุนของโรงกลั่น (Cost Plus Basis)การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นโดยใช้หลักการ Cost-plus Basis ซึ่งกำหนดจากต้นทุนราคาน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นที่คงที่ การกำหนดราคาวิธีนี้ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนเช่นเดียวกับราคาน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้นการกำหนดราคาลักษณะนี้ ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาความผันผวนของราคาขายปลีกของไทย ในช่วงที่ตลาดมีภาวะผิดปกติ ถ้าใช้ต้นทุนการกลั่นของโรงกลั่นในไทยเป็นเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นจะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้น เพราะต้นทุนของโรงกลั่นน้ำมันไทยสูงกว่าสิงคโปร์ ต้นทุนการกลั่นน้ำมัน ของสิงคโปร์มีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย เนื่องจาก กำลังการกลั่นของโรงกลั่นสิงคโปร์มีขนาดใหญ่กว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงกลั่นไทย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงกลั่นในไทย สิงคโปร์มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีผลตอบแทนการกลั่นที่ดีกว่าไทย สิงคโปร์จัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ สิงคโปร์เป็นเมืองท่า จึงมีความได้เปรียบเรื่องความพร้อมของระบบการขนส่ง ทำเลของการขนส่ง ท่าเรือขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการขนส่งน้ำมันถูกกว่าไทย การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ คือ ได้บริโภคน้ำมันในระดับราคาต้นทุนที่ถูกสุด เพราะโรงกลั่นไทย จำเป็นต้องใช้ฐานต้นทุน ที่ถูกกว่าของโรงกลั่นสิงคโปร์ ในการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป เพราะต้องแข่งขันการนำเข้าจากสิงคโปร์ การกำหนดราคาโดยใช้หลักการ Cost-plus จะทำให้สภาพการแข่งขันในตลาดน้ำมันถูกบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนของราคาน้ำมัน ไม่สะท้อนถึงการแข่งขันที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้า และการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของตลาด ในบางช่วงราคานำเข้า อาจถูกกว่าราคาที่โรงกลั่นในประเทศกำหนด ผู้ค้าน้ำมันจะไปนำเข้าแทนการซื้อจากโรงกลั่น และในทางกลับกัน หากราคาในสิงคโปร์สูงกว่าไทย จะทำให้โรงกลั่นมีกำไรจากการส่งออก มากกว่าการจำหน่ายในประเทศ โรงกลั่นจะพยายามส่งออกให้มากที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดแขลนน้ำมันขึ้นในประเทศได้ การกำหนดค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่ จะทำให้โรงกลั่นของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง
--กองการปิโตรเลียม/9 สิงหาคม 2543--
-ยก-