กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 1 ของเวทีการหารือระหว่างภูมิภาค เอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (East Asia — Latin America Forum : EALAF) จะมีขึ้น ณ กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 โดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมในการประชุม
2. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ EALAF ก่อตั้งขึ้นจากข้อเสนอของนายโก็ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ต่อนาย Eduardo Frei อดีตประธานาธิบดีแห่งชิลีในคราวเดินทางเยือนชิลีอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2541 ที่จะให้มีการจัดตั้งเวทีการหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับ ลาตินอเมริกา ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ทั้งสองภูมิภาคมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
3. สมาชิกภาพ EALAF ประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ประเทศเอเชีย 15 ประเทศ (อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) และประเทศละติน อเมริกา 12 ประเทศ (อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซีโก ปารากวัย เปรู ปานามา อุรุกวัย และเวเนซูเอลา) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ มีประเทศอื่นที่แสดงความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกด้วยแล้ว ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาต่อไป
4. กลไก เท่าที่ผ่านมา การประชุมในกรอบ EALAF มีขึ้นในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส(EALAF SOM) ซึ่งจนถึงบัดนี้ ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนกันยายน 2542 และครั้งที่ 2 ที่ประเทศชิลี เมือเดือนสิงหาคม 2543 โดยจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 3 ที่ประเทศชิลี ในวันที่ 28 มีนาคม 2544 ก่อนเริ่มการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 ที่ประเทศชิลี ทั้งนี้ สิงคโปร์และชิลี ได้ทำหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงานของแต่ละภูมิภาคมาโดยตลอด โดยจะเสร็จสิ้นวาระในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 1 ซึ่งต่อจากนั้น ฟิลิปปินส์และโคลอมเบียจะทำหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงาน
5. หลักการและกรอบความร่วมมือ หลักการดำเนินงานที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ คือ การร่วมมือโดยสมัครใจ การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ การเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิก หลักความเสมอภาค การไม่ก้าวก่ายกิจการภายใน การทำให้เวทีการหารือมีลักษณะที่เป็นทางการน้อยที่สุด ทั้งนี้ กิจกรรมหรือโครงการที่มีการเสนอต่อ EALAF ครอบคลุมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และวัฒนธรรม 6. ประเด็นสำคัญในการหารือ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ครั้งที่ 3 และการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 1 ที่จะถึงนี้ จะพิจารณาในเรื่องสำคัญๆ ได้แก่ ก) การให้การรับรองเอกสารกรอบการหารือและความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Framework for Dialogue and Cooperation between East Asia and Latin America) ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกจากทั้งสองภูมิภาค ทั้งในระดับ ทวิภาคีและพหุภาคี และเพื่อร่วมกันเสริมอำนาจการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ ข) โครงการที่ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะร่วมมือกันได้ ค) ทิศทางในอนาคตของความร่วมมือระหว่างทั้งสองภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะ เพื่อดูแลด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และด้านการศึกษาและสังคม ง) การพิจารณาการขยายสมาชิกภาพของ EALAF ซึ่งขณะนี้มีประเทศอื่นในลาตินอเมริกาที่แจ้งความประสงค์ที่จะขอเข้าเป็นสมาชิก EALAF แล้ว ได้แก่คอสตาริกา เอลซาลวาดอร์ และคิวบา
7. ท่าทีไทย ประเทศไทยให้ความสำคัญแก่ EALAF และการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 1 และคาดหวังว่าเวทีดังกล่าวจะช่วยให้ภูมิภาคทั้งสองมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการเสริมสร้างความร่วมมือ ความเข้าใจอันดีและการติดต่อกันระหว่างประชาชนของทั้งสองภูมิภาค ทั้งนี้ สมาชิก EALAF โดยรวมมีประชากรกว่า 2.3 พันล้านคน และเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหลายประเทศใน ลาตินอเมริกามีความตกลงการค้าเสรีกับทั้งตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป อีกทั้งยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 1 ของเวทีการหารือระหว่างภูมิภาค เอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (East Asia — Latin America Forum : EALAF) จะมีขึ้น ณ กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 โดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมในการประชุม
2. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ EALAF ก่อตั้งขึ้นจากข้อเสนอของนายโก็ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ต่อนาย Eduardo Frei อดีตประธานาธิบดีแห่งชิลีในคราวเดินทางเยือนชิลีอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2541 ที่จะให้มีการจัดตั้งเวทีการหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับ ลาตินอเมริกา ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ทั้งสองภูมิภาคมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น
3. สมาชิกภาพ EALAF ประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ประเทศเอเชีย 15 ประเทศ (อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) และประเทศละติน อเมริกา 12 ประเทศ (อาร์เจนตินา บราซิล โบลิเวีย โคลอมเบีย ชิลี เอกวาดอร์ เม็กซีโก ปารากวัย เปรู ปานามา อุรุกวัย และเวเนซูเอลา) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ มีประเทศอื่นที่แสดงความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกด้วยแล้ว ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาต่อไป
4. กลไก เท่าที่ผ่านมา การประชุมในกรอบ EALAF มีขึ้นในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส(EALAF SOM) ซึ่งจนถึงบัดนี้ ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนกันยายน 2542 และครั้งที่ 2 ที่ประเทศชิลี เมือเดือนสิงหาคม 2543 โดยจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 3 ที่ประเทศชิลี ในวันที่ 28 มีนาคม 2544 ก่อนเริ่มการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2544 ที่ประเทศชิลี ทั้งนี้ สิงคโปร์และชิลี ได้ทำหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงานของแต่ละภูมิภาคมาโดยตลอด โดยจะเสร็จสิ้นวาระในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 1 ซึ่งต่อจากนั้น ฟิลิปปินส์และโคลอมเบียจะทำหน้าที่เป็นประเทศผู้ประสานงาน
5. หลักการและกรอบความร่วมมือ หลักการดำเนินงานที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ คือ การร่วมมือโดยสมัครใจ การตัดสินใจโดยหลักฉันทามติ การเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิก หลักความเสมอภาค การไม่ก้าวก่ายกิจการภายใน การทำให้เวทีการหารือมีลักษณะที่เป็นทางการน้อยที่สุด ทั้งนี้ กิจกรรมหรือโครงการที่มีการเสนอต่อ EALAF ครอบคลุมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และวัฒนธรรม 6. ประเด็นสำคัญในการหารือ การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ครั้งที่ 3 และการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศฯ ครั้งที่ 1 ที่จะถึงนี้ จะพิจารณาในเรื่องสำคัญๆ ได้แก่ ก) การให้การรับรองเอกสารกรอบการหารือและความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Framework for Dialogue and Cooperation between East Asia and Latin America) ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานต่อไปในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกจากทั้งสองภูมิภาค ทั้งในระดับ ทวิภาคีและพหุภาคี และเพื่อร่วมกันเสริมอำนาจการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ ข) โครงการที่ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะร่วมมือกันได้ ค) ทิศทางในอนาคตของความร่วมมือระหว่างทั้งสองภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะ เพื่อดูแลด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และด้านการศึกษาและสังคม ง) การพิจารณาการขยายสมาชิกภาพของ EALAF ซึ่งขณะนี้มีประเทศอื่นในลาตินอเมริกาที่แจ้งความประสงค์ที่จะขอเข้าเป็นสมาชิก EALAF แล้ว ได้แก่คอสตาริกา เอลซาลวาดอร์ และคิวบา
7. ท่าทีไทย ประเทศไทยให้ความสำคัญแก่ EALAF และการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 1 และคาดหวังว่าเวทีดังกล่าวจะช่วยให้ภูมิภาคทั้งสองมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และการเสริมสร้างความร่วมมือ ความเข้าใจอันดีและการติดต่อกันระหว่างประชาชนของทั้งสองภูมิภาค ทั้งนี้ สมาชิก EALAF โดยรวมมีประชากรกว่า 2.3 พันล้านคน และเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหลายประเทศใน ลาตินอเมริกามีความตกลงการค้าเสรีกับทั้งตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป อีกทั้งยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-