ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนธันวาคม 2542 เริ่มกระเตื้องขึ้นสังเกตได้จากเครื่องชี้หลายตัวเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นภาพการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แม้ราคาพืชผลเกษตรจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากเป็นช่วงปลายปีผลผลิตเกษตรทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ภาคธุรกิจเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจมากขึ้นตามลำดับ แม้จะยังกังวลในปัญหาการแข่งขันด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังมีความมั่นใจว่าอำนาจซื้อของประชาชนจะเพิ่มขึ้น ภาคการเงินเริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังจากการปรับโครงสร้างหนี้ก้าวหน้าไปพอสมควร และธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้อยู่ที่ระดับร้อยละ 108.8
ในช่วงปลายปีประชาชนในภาคส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินว่าจะผ่านพ้นปัญหา Y2K ได้อย่างเรียบร้อย
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 1.0 มิลลิเมตร ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยพืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ราคาผลผลิตหัวมันสำปะหลังสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายการแทรกแซงราคามันอัดเม็ดและแป้งมันส่งผลให้เกษตรกรขายมันสดได้ราคาสูงขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ราคาปอสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ความต้องการปอในประเทศยังมีสูง ส่วนราคาข้าวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
นอกภาคเกษตร
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนธันวาคม 2542 โดยสอบถามผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 132 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนธันวาคมปรับตัวดีขึ้นจนสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ย (ร้อยละ 50) โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.9 สูงขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 49.9 และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการและแนวโน้มการส่งออกกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนธันวาคมยังคงทรงตัว ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจมีสภาพคล่องในธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงกุมภาพันธ์ - เมษายน 2543 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ธปท. ควรจะผ่อนผันการสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือนเหมือนเดิม
2. รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรไม่ให้ตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
4. ธนาคารพาณิชย์ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือ 6.5-8% ต่อปี
5. อำนาจซื้อของประชาชนโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนธันวาคมสูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนและสูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.6
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เท่ากับเดือนก่อน โดยในเดือนนี้มียอดเงินฝากคงค้าง 219,253.3 ล้านบาท (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.6 และเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าช่วงเดียวกันลดลงร้อยละ 5.8 เนื่องจากมีผู้ฝากบางส่วนกังวลกับปัญหา Y2k จึงมีการถอนเงินบางส่วนออกไป ทำให้ยอดเงินฝากคงค้างลดลงในเดือนนี้ ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 238,462.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.8 แต่ลดลงร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จะเห็นได้ว่าเงินให้สินเชื่อเริ่มมีธนาคารปล่อยกู้เพิ่มบ้างแล้วในบางธุรกรรม สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากที่ร้อยละ 101.8 มาเป็น 108.8 เนื่องจากเงินฝากลดลงในขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงมีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน มีข้อน่าสังเกตว่าจะมีการลดลงเฉลี่ยเดือนละ 0.25% ต่อปีมา 5 เดือนติดต่อกันมีสาเหตุเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่ในระดับสูง ทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
ทางด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนธันวาคม มีแรงงานไทยในต่างประเทศโอนเงินกลับมาในภาคเดือนนี้ 2.099.9 ล้านบาท (ข้อมูลเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.6 เนื่องจากในปีนี้มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน
ภาคการคลัง
เดือนธันวาคม 2542 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,377.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากเดือนก่อนจัดเก็บได้ 1,149.3 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกประเภท
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนนี้ไทยส่งออกไปลาว 1,350.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.5 นำเข้าจากลาว 218.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 ทำให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 1,132.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ในช่วงปลายปีประชาชนในภาคส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินว่าจะผ่านพ้นปัญหา Y2K ได้อย่างเรียบร้อย
ภาคเกษตร
ปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 1.0 มิลลิเมตร ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยพืชสำคัญ (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอ) ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดเพิ่มขึ้น ราคาผลผลิตหัวมันสำปะหลังสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายการแทรกแซงราคามันอัดเม็ดและแป้งมันส่งผลให้เกษตรกรขายมันสดได้ราคาสูงขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ราคาปอสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลงมาก ขณะที่ความต้องการปอในประเทศยังมีสูง ส่วนราคาข้าวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
นอกภาคเกษตร
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือนธันวาคม 2542 โดยสอบถามผู้ประกอบการ 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 132 ราย ผลสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนธันวาคมปรับตัวดีขึ้นจนสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ย (ร้อยละ 50) โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.9 สูงขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 49.9 และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการและแนวโน้มการส่งออกกลับลดลง
2) การแข่งขันทางธุรกิจด้านตลาดและราคาทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือนธันวาคมยังคงทรงตัว ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจมีสภาพคล่องในธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
4) แนวโน้มตลาดเงินช่วงกุมภาพันธ์ - เมษายน 2543 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะถึงภาครัฐ ดังนี้
1. ธปท. ควรจะผ่อนผันการสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือนเหมือนเดิม
2. รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรไม่ให้ตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
4. ธนาคารพาณิชย์ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือ 6.5-8% ต่อปี
5. อำนาจซื้อของประชาชนโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
อัตราเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนธันวาคมสูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนและสูงขึ้นร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 0.6
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 ในภาคฯ มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 525 สำนักงาน เท่ากับเดือนก่อน โดยในเดือนนี้มียอดเงินฝากคงค้าง 219,253.3 ล้านบาท (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.6 และเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าช่วงเดียวกันลดลงร้อยละ 5.8 เนื่องจากมีผู้ฝากบางส่วนกังวลกับปัญหา Y2k จึงมีการถอนเงินบางส่วนออกไป ทำให้ยอดเงินฝากคงค้างลดลงในเดือนนี้ ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 238,462.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.8 แต่ลดลงร้อยละ 5.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จะเห็นได้ว่าเงินให้สินเชื่อเริ่มมีธนาคารปล่อยกู้เพิ่มบ้างแล้วในบางธุรกรรม สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในภาคฯ เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากที่ร้อยละ 101.8 มาเป็น 108.8 เนื่องจากเงินฝากลดลงในขณะที่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงมีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน มีข้อน่าสังเกตว่าจะมีการลดลงเฉลี่ยเดือนละ 0.25% ต่อปีมา 5 เดือนติดต่อกันมีสาเหตุเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีอยู่ในระดับสูง ทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงนโยบายดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป
ทางด้านเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศเดือนธันวาคม มีแรงงานไทยในต่างประเทศโอนเงินกลับมาในภาคเดือนนี้ 2.099.9 ล้านบาท (ข้อมูลเบื้องต้น) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.6 เนื่องจากในปีนี้มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานในต่างประเทศสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน
ภาคการคลัง
เดือนธันวาคม 2542 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 1,377.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากเดือนก่อนจัดเก็บได้ 1,149.3 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกประเภท
การค้าชายแดนไทย-ลาว
การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนนี้ไทยส่งออกไปลาว 1,350.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.5 นำเข้าจากลาว 218.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 ทำให้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 1,132.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-