แท็ก
กระทรวงการต่างประเทศ
กรุงเทพฯ-8 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
พิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
ในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เวลาประมาณ 10.30 น. ณ วิเทศสโมสร ส่วนที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศ จะมีพิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและ การป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร ไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาย Tatoul Markarian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอาร์เมเนียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 ซึ่งไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมอสโก มีเขตอาณาครอบคลุมอาร์เมเนีย และอาร์เมเนียได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 โดยไทยและอาร์เมเนียมีความสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
สาธารณรัฐอาร์เมเนียเป็นประเทศในเครือรัฐเอกราชประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูง ในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยอาร์เมเนียมีความต้องการนำเข้า สินค้าเกษตร อาทิเช่น น้ำตาล และข้าว อีกทั้งมีนโยบายส่งเสริมการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในขณะที่ไทยมีความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะและเศษโลหะอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอาร์เมเนียมีความเชี่ยวชาญและความพร้อมทางด้านนี้สูง
การจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างทั้งสองประเทศ จึงเป็น กลไกที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและจูงใจให้มีการลงทุนระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ เป็นอนุสัญญาที่ครอบคลุมถึงภาษีเก็บจากฐานเงินได้และ จากทุน ซึ่งในกรณีของประเทศไทย ได้แก่ ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาษีเงินได้จากปิโตรเลียม
ในกรณีของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย ได้แก่ ภาษีกำไร ภาษีเงินได้ และภาษีทรัพย์สิน โดยทั้งสองประเทศยินยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีดังกล่าวที่เสียไว้แล้วในประเทศของอีกฝ่ายหนึ่ง มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศของตน เท่าที่ได้ชำระไว้จริง ดังนั้น การจัดทำอนุสัญญาดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่ชัดเจน พร้อมทั้งช่วยขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
พิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
ในวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เวลาประมาณ 10.30 น. ณ วิเทศสโมสร ส่วนที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศ จะมีพิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและ การป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร ไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาย Tatoul Markarian รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาร์เมเนีย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาร์เมเนีย
ประเทศไทยและสาธารณรัฐอาร์เมเนียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 ซึ่งไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมอสโก มีเขตอาณาครอบคลุมอาร์เมเนีย และอาร์เมเนียได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 โดยไทยและอาร์เมเนียมีความสัมพันธ์ที่ดีมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
สาธารณรัฐอาร์เมเนียเป็นประเทศในเครือรัฐเอกราชประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพสูง ในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยอาร์เมเนียมีความต้องการนำเข้า สินค้าเกษตร อาทิเช่น น้ำตาล และข้าว อีกทั้งมีนโยบายส่งเสริมการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในขณะที่ไทยมีความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องเพชรพลอย อัญมณี สินแร่โลหะและเศษโลหะอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอาร์เมเนียมีความเชี่ยวชาญและความพร้อมทางด้านนี้สูง
การจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างทั้งสองประเทศ จึงเป็น กลไกที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและจูงใจให้มีการลงทุนระหว่างกันมากยิ่งขึ้น โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ เป็นอนุสัญญาที่ครอบคลุมถึงภาษีเก็บจากฐานเงินได้และ จากทุน ซึ่งในกรณีของประเทศไทย ได้แก่ ภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ภาษีเงินได้จากปิโตรเลียม
ในกรณีของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย ได้แก่ ภาษีกำไร ภาษีเงินได้ และภาษีทรัพย์สิน โดยทั้งสองประเทศยินยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีดังกล่าวที่เสียไว้แล้วในประเทศของอีกฝ่ายหนึ่ง มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศของตน เท่าที่ได้ชำระไว้จริง ดังนั้น การจัดทำอนุสัญญาดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่ชัดเจน พร้อมทั้งช่วยขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-