ประเด็นที่สำคัญในเดือนนี้ แนวโน้มที่สำคัญในเดือนหน้า
ราคาสินค้าเกษตรลดลง * การส่งออกชะลอตัว
* การท่องเที่ยวชะลอตัว * ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลง
* การประมงชะลอตัว * สินเชื่อเพิ่มขึ้น
* การเบิกจ่ายงบประมาณลดลง * อัตราดอกเบี้ยต่ำ
* การค้าและการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี * งบประมาณขาดดุล
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภาคใต้เดือนตุลาคม ปี 2544
ในเดือนนี้เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ชะลอตัวลงตามการลดลงของราคา สินค้าเกษตร ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ นอกจากนี้ภาวะชะลอตัวของการประมง การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามในภาคการค้าและการลงทุนซึ่งพิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ และการก่อสร้างยังอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ ปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ตามการปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ เพราะเป็นช่วง เทศกาลกินเจ
ภาคการเกษตร
ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนลดลง เนื่องจากขาดแรงจูงใจในด้านราคาเพราะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้เกิดราคาสินค้าเกษตรลดลง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ
ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.92 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า กู๊ดเยียร์หนึ่งในผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของโลกปรับลดการผลิตตามภาวะชะลอตัวของอุตสาหกรรม-ยานยนต์ ประกอบกับอินโดนีเซียเสนอขายยางในราคาต่ำส่วนผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.29 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 ทั้ง ๆ ที่ผลผลิตลดลง แต่เนื่องจาก ยังมีน้ำมันปาล์มเหลือในสต็อกอีกมาก ส่วนข้าวเปลือกเจ้า 25% เดือนนี้ไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาด
ในภาคการประมง ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ ในเดือนนี้ มีจำนวน 50,226 เมตริกตัน มูลค่า 993.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 และ 18.8 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง และความเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ
ส่วนผลขาดทุนกุ้งกุลาดำยังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ปริมาณกุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ มีปริมาณ 2,882.6 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 ขณะที่ราคากุ้งกุลาดำที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.00 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.2
ภาคปศุสัตว์และสัตว์ปีก ในเดือนนี้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรและไก่เนื้อลดลงเพราะเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ราคาลดลงทั้งสุกรและไก่ ทั้งนี้ราคาสุกรน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.15 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และในขณะเดียวกันนี้ไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.65 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0
เหมืองแร่
ภาวะโดยทั่วไปชะลอตัว ทั้งดีบุกและก๊าซธรรมชาติ โดยสินแร่ดีบุกในเดือนนี้ผลิตได้ 114.2 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50.3 เนื่องจากราคาแร่ดีบุกลดลงมาก โดยในเดือนนี้เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 112.20 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.5 ส่วนผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชมีจำนวน 386,997 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.8
ในส่วนของก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิต ไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 6,113.4 เมตริกตัน มูลค่า 58.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 85.8 และ 89.4 ตามลำดับ ขณะที่น้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 77,321.6 เมตริกตัน มูลค่า 657.8 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.1 และ 9.0 ตามลำดับ ทั้งนี้น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทยส่วนใหญ่ส่งออกไปขายต่างประเทศ เนื่องจากคุณภาพต่ำและสิทธิด้านภาษี
ภาคอุตสาหกรรม
สถานการณ์ด้านการผลิต ในส่วนของยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูป และน้ำมันปาล์มดิบลดลง ขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเล-กระป๋องและถุงมือยางขยายตัวสูง
อุตสาหกรรมยาง อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจใน ภูมิภาคอื่น ๆ ซบเซา และมีผลทำให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวตามและต่อเนื่องถึงการส่งออกยางลดลงตามไปด้วย โดยในเดือนนี้มีการส่งออกรวม 161,537.0 เมตริกตัน มูลค่า 3,359.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 16.3 และ 25.9 ตามลำดับ
เป็นการส่งออกยางแผ่น รมควัน 56,615.9 เมตริกตัน มูลค่า 1,356.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และ 21.8 สำหรับราคา ยางแผ่นรมควันชั้น 3 เดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.54 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0
ขณะเดียวกันยางแท่งมีการส่งออกรวม 49,253.0 เมตริกตัน มูลค่า 1,128.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.7 และ 38.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ราคายางแท่ง STR20 ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.34 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3
สำหรับน้ำยางขนมีการส่งออกรวม 44,881.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.4 ขณะที่มูลค่าส่งออกเท่ากับ 798.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
ด้านการผลิตถุงมือยางของภาคใต้ขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้ผู้ประกอบการสามารถแย่งตลาดจากประเทศมาเลเซีย ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรดแอนแทรกซ์ ทำให้มีการส่งออกรวม 6,319.0 เมตริกตัน มูลค่า 728.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว
ส่วนไม้ยางพาราแปรรูป ส่งออกได้ 22,540.1 เมตริกตัน มูลค่า 249.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.1 และ 30.0 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผลจากตลาดสหรัฐอเมริกา ชะลอตัวเป็นสำคัญ
อุตสาหกรรมนำมันปาล์มดิบ ผลจากสถานการณ์ในอัฟกานิสถานไม่น่าไว้วางใจทำให้มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังอินเดียและปากีสถานได้ลดลง ส่งผลให้สต็อกเพิ่มขน และกดดันให้ราคาในตลาดโลกลดลง โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครในเดือนนี้ปรับลดลงเหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.76 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 โดยในเดือนนี้โรงงานปาล์มผลิตน้ำมัน-ปาล์มดิบได้เพียง 71,321.4 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1
อุตสาหกรรมอาหารทะเล ภาวะการผลิตและการตลาดในเดือนนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งอาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็ง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรควัวบ้าและผลจากภาวะสงครามยืดเยื้อ ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภค ทำให้มีการบริโภคและกักตุนอาหารกระป๋องเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้มีการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องจำนวน 13,285.7 เมตริกตัน มูลค่า 1,218.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 และร้อยละ 33.1 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอาหารทะเลแช่แข็งส่งออกได้เท่ากับ 23,764.1 เมตริกตัน มูลค่า 2,199.8 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 0.5 ตามราคากุ้งกุลาดำที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปลาป่น สถานการณ์โดยทั่วไปของการใช้ปลาป่นในเดือนนี้ ความต้องการของตลาดลดลง โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารสัตว์ มีความต้องการปลาป่นลดลง เพราะมีการใช้สต็อกเก่าแทน อย่างไรก็ตาม ราคาปลาป่นยังคงทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยราคาปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.94 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
โลหะดีบุก มีการส่งออกในเดือนนี้ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ 2,368.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่วนมูลค่าที่ส่งออกได้ 379.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 88.8
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากชะลอตัวของการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ขณะที่บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากได้รับผลดีจากการขยายเวลาเปิดด่าน เทศกาลกินเจ และการจัดงานลอยกระทง จูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเลเซีย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัว ชาวญี่ปุ่น ยุโรปและสแกนดิเนเวียเดินทางเข้ามาลดลง ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง และท่าอากาศยานภูเก็ตจำนวน 57,314 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 เนื่องจากผลของการก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาและภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ
สำหรับภาวะการท่องเที่ยว ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัว เพราะในเดือนนี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรม ได้แก่ เทศกาลกินเจ งานลอยกระทง และมีการขยายเวลาเปิดด่านเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั่วโมง ประกอบกับมีการเข้มงวดการเดินทางผ่านเข้าออกประเทศ ทำให้จำนวนชาวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองมากขึ้น โดยมีจำนวน 113,783 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 โดยชาวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย
การลงทุน
การส่งเสริมการลงทุนมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 7 โครงการเงินทุน 1,058.2 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เพราะ ขณะนี้ นักลงทุนมีความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยมากขึ้น กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ ที่น่าสนใจ ได้แก่ โรงงานผลิตถุงมือยาง เงินลงทุน 400 ล้านบาท ในจังหวัดสงขลา
การจดทะเบียนธุรกิจมีนักลงทุนสนใจประกอบธุรกิจและขอ จดทะเบียนใหม่ 217 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 ขณะที่เงินทุนจดทะเบียน 433.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในเดือนนี้ร้อยละ 19.8 เป็นกิจการประเภทการท่องเที่ยว รองลงมาคือ กิจการับ-เหมาก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
พื้นที่ก่อสร้างมีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร และเทศบาลตำบล 90,608 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.6 ตามการเพิ่มของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย การพาณิชย์ โดย ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดภูเก็ต
ภาคการจ้างงาน
ในเดือนนี้ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ 5,057 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ขณะที่ผู้สมัครงานแจ้งความต้องการทำงานทั้งสิ้น 2,863 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.7 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 871 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของตำแหน่งงานวาง
ภาคการค้า
ภาคการค้า สถานการณ์ด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และได้มีการปรับลดพนักงานของธุรกิจ ทำให้ประชากรมี รายได้ลดลงและมีผลทำให้ภาวะการค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ในด้านการค้ารถยนต์รถจักรยานยนต์ยังขยายตัว มีผลทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น โดยจัดเก็บได้ 366.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เนื่องจากมีการน้ำรถยนตร์รุ่นใหม่ออกจำหน่าย พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดาวน์น้อย ผ่อนนาน จึงจูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ทำให้ ในเดือนนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์นั่ง-ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รวม 793 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.2 ส่วนการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล มีจำนวน 1,103 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการซื้อ เพราะต้องการรอดูรถรุ่นใหม่ที่จะออกจำหน่าย ส่วนรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียนใหม่ 14,805 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.5
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ เพราะเป็นช่วงเทศกาล กินเจ และราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การอ่านและการศึกษา ไฟฟ้า เชื้อเพลิงและประปา และการขนส่งสาธารณะ
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก ผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในทุกภูมิภาค ประกอบกับภาวะสงครามที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบ ทำให้ในเดือนนี้มีมูลค่า การส่งออกรวม 13,676.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 10.7 โดยสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกลดลงทั้งสิ้น ยกเว้นถุงมือยาง อาหารบรรจุกระป๋อง และน้ำยางข้น ในส่วนของยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้เดือนนี้มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากยางดิบในคลัง สินค้าเอกชนของญี่ปุ่นยังมีมาก ประกอบกับผู้ใช้ยางในตลาดโลกต้องการซื้อยางพาราสต็อกของรัฐบาล ไทยจึงชะลอการสั่งซื้อ ส่วนสัตว์น้ำแช่แข็งมูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำ ลดลงเป็นสำคัญ
การนำเข้า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 5,324.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เนื่องจากมีการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์-ก่อสร้าง สินค้าเคมีและปุ๋ยลดลง นอกจากนี้ไม่มีการนำเข้าถ่านหิน เพราะเทศบาลระงับการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพื่อหลีกเลี่ยงมลภาวะ ทางอากาศ ส่วนการนำเข้าสัตว์น้ำมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้า กุ้งกุลาดำ เพื่อนำมาผลิตและส่งออก
ภาคการคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการในภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 5,246.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลให้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณ และไม่สนับสนุนให้กันงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี ทำให้การเบิกงบกันไว้เบิกเหลื่อมปีน้อยละ นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบลงทุนยังมีจำนวนน้อย เพราะการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ ยังไม่แล้วเสร็จ
การจัดเก็บภาษีอากรเดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 1,015.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 826.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 จัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ 77.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6 เพราะมีการเพิ่มอัตราภาษีสุราและบุหรี่ ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 112.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 20.0 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการที่เจ้าหน้าที่ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตามแนวชายแดนที่มีการเลี่ยงภาษี
ภาคการเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯมีจำนวนรวม 30,019.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 ทั้งนี้แยกเป็นเงินสดรับจำนวน 14,803.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากพื้นที่จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส สงขลา สตูล ขณะเดียวกัน เงินสดจ่ายมีจำนวน 15,215.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 โดยเพิ่มขึ้นมาก ในพื้นที่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส สงขลา สตูล
ทางด้านปริมาณเงิน โอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์กับสำนักงานใหญ่จำนวนรวม 12,881.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวนรวม 8,097.6 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.1 ทั้งนี้แยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 6,825.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 ขณะเดียวกันเงินโอนเข้ามีจำนวน 6,056.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1
ทางด้านปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์กับสำนักงานใหญ่จำนวนรวม 12,881.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวนรวม 8,097.6 ล้านบาท เมื่อระยะเวลาเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.1 ทั้งนี้แยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 6,825.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 ขณะเดียวกันเงินโอนเข้ามีจำนวน 6,056.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1
สถิติการใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 461,903 ฉบับ มูลค่า 35,804.6 ล้านบาท เทียบกับเมื่อระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และ 11.8 ตามลำดับ โดยมูลค่าการใช้เช็คเพิ่มขึ้นมากในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ปัตตานี ตรัง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสถิติมูลค่าเช็คคนต่อเช็ครับเข้าอัตราค่อนข้างสุงในพื้นที่จังหวัดระนอง (เท่ากับ 4.67%) และจังหวัดสตูล (เท่ากับ 3.02%) ขณะที่สถิติโดยเฉลี่ยทั้งหมดภาคใต้เท่ากับ 1.5% เพิ่มขึ้นจากอัตรา 1.3% เมื่อระยะเดียวกันปีก่อน
ทางด้านเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 254,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 ส่วนใหญ่ยังมีเงินไหลเข้ามาจากกลุ่มธุรกิจการส่งออก ทั้งยางพาราและอาหารทะเลเป็นสำคัญ ส่วนอาชีพค้าปลีกและค้าส่งในเมืองนั้น ปริมาณการฝากเงินค่อนข้างทรงตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้สาขาธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับเงินฝากประเภทออมทรัพย์มากกว่าเงินฝากประจำ เพราะเหตุผลด้านต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งมีประโยชน์ในการบริหารการทำกำไรเป็นสำคัญ
ทางด้านเงินฝากของธนาคารออมสิน คาดว่ามีจำนวน 36,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 29,691.2 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.3
ส่วนสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 156,000 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 อย่างไรก็ตามปริมาณเงินให้สินเชื่อในแต่ละเดือนนั้นมีทิศทางเริ่มขยับเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 โดยเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200-500 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจที่สาขาธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญในขณะนี้ นอกจากลูกค้าเดิมในกลุ่มผู้ส่งออกธุรกิจโรงแรม และที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้า SME เช่น ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ผู้รับเหมา (รับเหมางานของส่วนราชการ) ธุรกิจเครื่องเขียน ธุรกิจ การขนส่ง ค้าขายในเมืองและผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ให้แรงจูงใจด้วยอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำ คือ อัตราประมาณ 6.5% ในปีแรก และอัตรา MLR-1 ในปีต่อไป
การให้บริการของสำนักงานอำนวยสินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยยอดเงินให้สินเชื่อมีจำนวน 6,077.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 66.2 ทั้งนี้ สอช.ยังเน้นการให้บริการในกลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ ใกล้เคียงได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง เป็นสำคัญ โดยมีแรงจูงใจในด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ ด้วยการทำการตลาดร่วมกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในพื้นที่เป็นสำคัญ
ทางด้านการให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวนรวม 1,026.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 ด้วยเหตุผล ที่สำคัญจากนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร และจากการที่ลูกค้าขอกู้ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจโดยรวมไม่จูงใจในการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการทำนากุ้งและยางพารา เนื่องจากราคา ผลผลิตไม่จูงใจนอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมีนโยบายให้มีการทบทวนมูลค่าของหลักประกันเดิม ทำให้ลูกค้าหลายรายมีมูลค่าของหลักประกันลดลง จึงทำให้สิทธิในการขอกู้ลดลงตามไปด้วย
ส่วนการอนุมัติสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีทั้งสิ้น 386.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 178.0 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 1 เท่าตัว โดยขณะนี้ IFCT มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้น และเน้นทำการตลาดพบปะลูกค้า มากขึ้น เพื่อเสนอข้อจูงใจในการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะเน้นไปในกลุ่ม ลูกค้า SME เช่นผู้ประกอบการยางพารา น้ำยางข้น โรงพิมพ์ ไม้ยางพาราแปรรูป ก่อสร้างโรงซีอิ๊ว ทั้งนี้ IFCT คิดอัตราดอกเบี้ยระดับ MLR-1 เป็นสำคัญ
สำหรับการให้บริการ สินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นั้น ยอดเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกคงค้างเท่ากับ 1,779.8 ล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 57.0 เพราะลูกค้าหันไปใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์แทน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ธสน. ประมาณ 0.5-1% นอกจากนี้ ยังมีแรงจูงใจจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าประมาณ 3-5 สตางค์ต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เป็นสำคัญ
แนวโต้มภาวะเศรษฐกิจในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
* ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ยางพารายังคงมีแนวโน้ม ลดลงตามความต้องการใช้ยางในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมี มาตรการแทรกแซงตลาดยางต่อไป ทำให้ราคาลดลงไม่มากนัก
* ราคากุ้งกุลาดำ คาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ ตามปริมาณผลผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้น ทั้งในและต่างประเทส ประกอบกับมีการนำเข้ากุ้งจากแหล่งผลิตราคาถูกได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ และเวียดนาม มาแปรรูปและส่งออกต่อ และได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
* อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องและ ถุงมือยางยังมีแนวโน้มขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการย้ายฐานการผลิตถุงมือยางจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในไทย
* ภาวะการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีมีแนวโน้มคึกคัก ตลอดจนถึงต้นปีใหม่ ทั้งที่ภูเก็ตและหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
* การก่อสร้างและการค้ายังคงขยายตัวดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำประกอบกับสถาบันการเงินให้สินเชื่อด้านนี้มากขึ้น และมาตรการของทางการที่ออกมากระตุนอย่างต่อเนื่อง
* ระดับราคาสินค้าไม่น่าจะขยายตัวสูงนัก เนื่องจากราคาน้ำมัน ในตลาดโลกลดลง
* การส่งออกยังคงชะลอตัว เนื่องจากาภาวะเศรษฐกิจโลกยังคง ซบเซา ประกอบกับสหรัฐอเมริกาได้ ยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้ากับประเทศอินเดีย และปากีสถานซึ่งเป็น คู่แข่งทางการค้าของไทย
* สินเชื่อมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ในธุรกิจ ส่งออก ท่องเที่ยวอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ SMEs
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ราคาสินค้าเกษตรลดลง * การส่งออกชะลอตัว
* การท่องเที่ยวชะลอตัว * ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลง
* การประมงชะลอตัว * สินเชื่อเพิ่มขึ้น
* การเบิกจ่ายงบประมาณลดลง * อัตราดอกเบี้ยต่ำ
* การค้าและการลงทุนอยู่ในเกณฑ์ดี * งบประมาณขาดดุล
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภาคใต้เดือนตุลาคม ปี 2544
ในเดือนนี้เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ชะลอตัวลงตามการลดลงของราคา สินค้าเกษตร ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ นอกจากนี้ภาวะชะลอตัวของการประมง การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามในภาคการค้าและการลงทุนซึ่งพิจารณาจากการจดทะเบียนรถใหม่ และการก่อสร้างยังอยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ ปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ตามการปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ เพราะเป็นช่วง เทศกาลกินเจ
ภาคการเกษตร
ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนลดลง เนื่องจากขาดแรงจูงใจในด้านราคาเพราะได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้เกิดราคาสินค้าเกษตรลดลง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมันและกุ้งกุลาดำ
ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.92 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า กู๊ดเยียร์หนึ่งในผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของโลกปรับลดการผลิตตามภาวะชะลอตัวของอุตสาหกรรม-ยานยนต์ ประกอบกับอินโดนีเซียเสนอขายยางในราคาต่ำส่วนผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.29 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 ทั้ง ๆ ที่ผลผลิตลดลง แต่เนื่องจาก ยังมีน้ำมันปาล์มเหลือในสต็อกอีกมาก ส่วนข้าวเปลือกเจ้า 25% เดือนนี้ไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาด
ในภาคการประมง ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ ในเดือนนี้ มีจำนวน 50,226 เมตริกตัน มูลค่า 993.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 และ 18.8 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง และความเข้มงวดของประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ
ส่วนผลขาดทุนกุ้งกุลาดำยังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ปริมาณกุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ มีปริมาณ 2,882.6 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 ขณะที่ราคากุ้งกุลาดำที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.00 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.2
ภาคปศุสัตว์และสัตว์ปีก ในเดือนนี้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรและไก่เนื้อลดลงเพราะเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ราคาลดลงทั้งสุกรและไก่ ทั้งนี้ราคาสุกรน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.15 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และในขณะเดียวกันนี้ไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.65 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0
เหมืองแร่
ภาวะโดยทั่วไปชะลอตัว ทั้งดีบุกและก๊าซธรรมชาติ โดยสินแร่ดีบุกในเดือนนี้ผลิตได้ 114.2 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50.3 เนื่องจากราคาแร่ดีบุกลดลงมาก โดยในเดือนนี้เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 112.20 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.5 ส่วนผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชมีจำนวน 386,997 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.8
ในส่วนของก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิต ไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 6,113.4 เมตริกตัน มูลค่า 58.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 85.8 และ 89.4 ตามลำดับ ขณะที่น้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 77,321.6 เมตริกตัน มูลค่า 657.8 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.1 และ 9.0 ตามลำดับ ทั้งนี้น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทยส่วนใหญ่ส่งออกไปขายต่างประเทศ เนื่องจากคุณภาพต่ำและสิทธิด้านภาษี
ภาคอุตสาหกรรม
สถานการณ์ด้านการผลิต ในส่วนของยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูป และน้ำมันปาล์มดิบลดลง ขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเล-กระป๋องและถุงมือยางขยายตัวสูง
อุตสาหกรรมยาง อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจใน ภูมิภาคอื่น ๆ ซบเซา และมีผลทำให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวตามและต่อเนื่องถึงการส่งออกยางลดลงตามไปด้วย โดยในเดือนนี้มีการส่งออกรวม 161,537.0 เมตริกตัน มูลค่า 3,359.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 16.3 และ 25.9 ตามลำดับ
เป็นการส่งออกยางแผ่น รมควัน 56,615.9 เมตริกตัน มูลค่า 1,356.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และ 21.8 สำหรับราคา ยางแผ่นรมควันชั้น 3 เดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.54 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0
ขณะเดียวกันยางแท่งมีการส่งออกรวม 49,253.0 เมตริกตัน มูลค่า 1,128.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.7 และ 38.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ราคายางแท่ง STR20 ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.34 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3
สำหรับน้ำยางขนมีการส่งออกรวม 44,881.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.4 ขณะที่มูลค่าส่งออกเท่ากับ 798.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
ด้านการผลิตถุงมือยางของภาคใต้ขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้ผู้ประกอบการสามารถแย่งตลาดจากประเทศมาเลเซีย ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรดแอนแทรกซ์ ทำให้มีการส่งออกรวม 6,319.0 เมตริกตัน มูลค่า 728.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว
ส่วนไม้ยางพาราแปรรูป ส่งออกได้ 22,540.1 เมตริกตัน มูลค่า 249.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.1 และ 30.0 ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผลจากตลาดสหรัฐอเมริกา ชะลอตัวเป็นสำคัญ
อุตสาหกรรมนำมันปาล์มดิบ ผลจากสถานการณ์ในอัฟกานิสถานไม่น่าไว้วางใจทำให้มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังอินเดียและปากีสถานได้ลดลง ส่งผลให้สต็อกเพิ่มขน และกดดันให้ราคาในตลาดโลกลดลง โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครในเดือนนี้ปรับลดลงเหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.76 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.7 โดยในเดือนนี้โรงงานปาล์มผลิตน้ำมัน-ปาล์มดิบได้เพียง 71,321.4 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1
อุตสาหกรรมอาหารทะเล ภาวะการผลิตและการตลาดในเดือนนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งอาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็ง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรควัวบ้าและผลจากภาวะสงครามยืดเยื้อ ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภค ทำให้มีการบริโภคและกักตุนอาหารกระป๋องเพิ่มขึ้น โดยในเดือนนี้มีการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องจำนวน 13,285.7 เมตริกตัน มูลค่า 1,218.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 และร้อยละ 33.1 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอาหารทะเลแช่แข็งส่งออกได้เท่ากับ 23,764.1 เมตริกตัน มูลค่า 2,199.8 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 0.5 ตามราคากุ้งกุลาดำที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปลาป่น สถานการณ์โดยทั่วไปของการใช้ปลาป่นในเดือนนี้ ความต้องการของตลาดลดลง โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารสัตว์ มีความต้องการปลาป่นลดลง เพราะมีการใช้สต็อกเก่าแทน อย่างไรก็ตาม ราคาปลาป่นยังคงทรงตัวอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยราคาปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.94 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
โลหะดีบุก มีการส่งออกในเดือนนี้ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ 2,368.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่วนมูลค่าที่ส่งออกได้ 379.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 88.8
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากชะลอตัวของการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต ขณะที่บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากได้รับผลดีจากการขยายเวลาเปิดด่าน เทศกาลกินเจ และการจัดงานลอยกระทง จูงใจให้นักท่องเที่ยวมาเลเซีย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัว ชาวญี่ปุ่น ยุโรปและสแกนดิเนเวียเดินทางเข้ามาลดลง ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง และท่าอากาศยานภูเก็ตจำนวน 57,314 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 เนื่องจากผลของการก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาและภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ
สำหรับภาวะการท่องเที่ยว ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขยายตัว เพราะในเดือนนี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรม ได้แก่ เทศกาลกินเจ งานลอยกระทง และมีการขยายเวลาเปิดด่านเพิ่มขึ้นอีก 2 ชั่วโมง ประกอบกับมีการเข้มงวดการเดินทางผ่านเข้าออกประเทศ ทำให้จำนวนชาวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองมากขึ้น โดยมีจำนวน 113,783 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.0 โดยชาวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย
การลงทุน
การส่งเสริมการลงทุนมีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 7 โครงการเงินทุน 1,058.2 ล้านบาท เงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เพราะ ขณะนี้ นักลงทุนมีความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยมากขึ้น กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ ที่น่าสนใจ ได้แก่ โรงงานผลิตถุงมือยาง เงินลงทุน 400 ล้านบาท ในจังหวัดสงขลา
การจดทะเบียนธุรกิจมีนักลงทุนสนใจประกอบธุรกิจและขอ จดทะเบียนใหม่ 217 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 ขณะที่เงินทุนจดทะเบียน 433.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ในเดือนนี้ร้อยละ 19.8 เป็นกิจการประเภทการท่องเที่ยว รองลงมาคือ กิจการับ-เหมาก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
พื้นที่ก่อสร้างมีพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง เทศบาลนคร และเทศบาลตำบล 90,608 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.6 ตามการเพิ่มของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย การพาณิชย์ โดย ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดภูเก็ต
ภาคการจ้างงาน
ในเดือนนี้ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ 5,057 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ขณะที่ผู้สมัครงานแจ้งความต้องการทำงานทั้งสิ้น 2,863 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.7 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 871 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของตำแหน่งงานวาง
ภาคการค้า
ภาคการค้า สถานการณ์ด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และได้มีการปรับลดพนักงานของธุรกิจ ทำให้ประชากรมี รายได้ลดลงและมีผลทำให้ภาวะการค้าอุปโภคบริโภคอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตาม ในด้านการค้ารถยนต์รถจักรยานยนต์ยังขยายตัว มีผลทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น โดยจัดเก็บได้ 366.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เนื่องจากมีการน้ำรถยนตร์รุ่นใหม่ออกจำหน่าย พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดาวน์น้อย ผ่อนนาน จึงจูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น ทำให้ ในเดือนนี้มีการจดทะเบียนรถยนต์นั่ง-ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รวม 793 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.2 ส่วนการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล มีจำนวน 1,103 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการซื้อ เพราะต้องการรอดูรถรุ่นใหม่ที่จะออกจำหน่าย ส่วนรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียนใหม่ 14,805 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.5
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ เพราะเป็นช่วงเทศกาล กินเจ และราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การอ่านและการศึกษา ไฟฟ้า เชื้อเพลิงและประปา และการขนส่งสาธารณะ
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก ผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในทุกภูมิภาค ประกอบกับภาวะสงครามที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบ ทำให้ในเดือนนี้มีมูลค่า การส่งออกรวม 13,676.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 10.7 โดยสินค้าสำคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกลดลงทั้งสิ้น ยกเว้นถุงมือยาง อาหารบรรจุกระป๋อง และน้ำยางข้น ในส่วนของยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้เดือนนี้มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากยางดิบในคลัง สินค้าเอกชนของญี่ปุ่นยังมีมาก ประกอบกับผู้ใช้ยางในตลาดโลกต้องการซื้อยางพาราสต็อกของรัฐบาล ไทยจึงชะลอการสั่งซื้อ ส่วนสัตว์น้ำแช่แข็งมูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำ ลดลงเป็นสำคัญ
การนำเข้า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 5,324.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6 เนื่องจากมีการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์-ก่อสร้าง สินค้าเคมีและปุ๋ยลดลง นอกจากนี้ไม่มีการนำเข้าถ่านหิน เพราะเทศบาลระงับการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพื่อหลีกเลี่ยงมลภาวะ ทางอากาศ ส่วนการนำเข้าสัตว์น้ำมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้า กุ้งกุลาดำ เพื่อนำมาผลิตและส่งออก
ภาคการคลัง
การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการในภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 5,246.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลให้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณ และไม่สนับสนุนให้กันงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี ทำให้การเบิกงบกันไว้เบิกเหลื่อมปีน้อยละ นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบลงทุนยังมีจำนวนน้อย เพราะการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการต่าง ๆ ยังไม่แล้วเสร็จ
การจัดเก็บภาษีอากรเดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 1,015.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยภาษีสรรพากรจัดเก็บได้ 826.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 จัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้ 77.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.6 เพราะมีการเพิ่มอัตราภาษีสุราและบุหรี่ ส่วนภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 112.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 20.0 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการที่เจ้าหน้าที่ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตามแนวชายแดนที่มีการเลี่ยงภาษี
ภาคการเงิน
การรับ-จ่ายเงินสดผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯมีจำนวนรวม 30,019.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 ทั้งนี้แยกเป็นเงินสดรับจำนวน 14,803.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากพื้นที่จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส สงขลา สตูล ขณะเดียวกัน เงินสดจ่ายมีจำนวน 15,215.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 โดยเพิ่มขึ้นมาก ในพื้นที่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง นราธิวาส สงขลา สตูล
ทางด้านปริมาณเงิน โอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์กับสำนักงานใหญ่จำนวนรวม 12,881.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวนรวม 8,097.6 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.1 ทั้งนี้แยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 6,825.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 ขณะเดียวกันเงินโอนเข้ามีจำนวน 6,056.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1
ทางด้านปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์กับสำนักงานใหญ่จำนวนรวม 12,881.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวนรวม 8,097.6 ล้านบาท เมื่อระยะเวลาเดียวกันปีก่อนร้อยละ 59.1 ทั้งนี้แยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 6,825.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 ขณะเดียวกันเงินโอนเข้ามีจำนวน 6,056.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1
สถิติการใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีทั้งสิ้น 461,903 ฉบับ มูลค่า 35,804.6 ล้านบาท เทียบกับเมื่อระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และ 11.8 ตามลำดับ โดยมูลค่าการใช้เช็คเพิ่มขึ้นมากในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ปัตตานี ตรัง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสถิติมูลค่าเช็คคนต่อเช็ครับเข้าอัตราค่อนข้างสุงในพื้นที่จังหวัดระนอง (เท่ากับ 4.67%) และจังหวัดสตูล (เท่ากับ 3.02%) ขณะที่สถิติโดยเฉลี่ยทั้งหมดภาคใต้เท่ากับ 1.5% เพิ่มขึ้นจากอัตรา 1.3% เมื่อระยะเดียวกันปีก่อน
ทางด้านเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 254,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 ส่วนใหญ่ยังมีเงินไหลเข้ามาจากกลุ่มธุรกิจการส่งออก ทั้งยางพาราและอาหารทะเลเป็นสำคัญ ส่วนอาชีพค้าปลีกและค้าส่งในเมืองนั้น ปริมาณการฝากเงินค่อนข้างทรงตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้สาขาธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับเงินฝากประเภทออมทรัพย์มากกว่าเงินฝากประจำ เพราะเหตุผลด้านต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งมีประโยชน์ในการบริหารการทำกำไรเป็นสำคัญ
ทางด้านเงินฝากของธนาคารออมสิน คาดว่ามีจำนวน 36,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 29,691.2 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.3
ส่วนสินเชื่อคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 156,000 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 อย่างไรก็ตามปริมาณเงินให้สินเชื่อในแต่ละเดือนนั้นมีทิศทางเริ่มขยับเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 โดยเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200-500 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจที่สาขาธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญในขณะนี้ นอกจากลูกค้าเดิมในกลุ่มผู้ส่งออกธุรกิจโรงแรม และที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้า SME เช่น ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ผู้รับเหมา (รับเหมางานของส่วนราชการ) ธุรกิจเครื่องเขียน ธุรกิจ การขนส่ง ค้าขายในเมืองและผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ให้แรงจูงใจด้วยอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำ คือ อัตราประมาณ 6.5% ในปีแรก และอัตรา MLR-1 ในปีต่อไป
การให้บริการของสำนักงานอำนวยสินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยยอดเงินให้สินเชื่อมีจำนวน 6,077.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 66.2 ทั้งนี้ สอช.ยังเน้นการให้บริการในกลุ่มลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ ทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ ใกล้เคียงได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง เป็นสำคัญ โดยมีแรงจูงใจในด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ ด้วยการทำการตลาดร่วมกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในพื้นที่เป็นสำคัญ
ทางด้านการให้ความอนุเคราะห์สินเชื่อของ ธ.ก.ส. มีจำนวนรวม 1,026.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 ด้วยเหตุผล ที่สำคัญจากนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร และจากการที่ลูกค้าขอกู้ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจโดยรวมไม่จูงใจในการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการทำนากุ้งและยางพารา เนื่องจากราคา ผลผลิตไม่จูงใจนอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมีนโยบายให้มีการทบทวนมูลค่าของหลักประกันเดิม ทำให้ลูกค้าหลายรายมีมูลค่าของหลักประกันลดลง จึงทำให้สิทธิในการขอกู้ลดลงตามไปด้วย
ส่วนการอนุมัติสินเชื่อของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีทั้งสิ้น 386.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 178.0 ล้านบาท เมื่อระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 1 เท่าตัว โดยขณะนี้ IFCT มีนโยบายขยายพื้นที่การให้บริการมากขึ้น และเน้นทำการตลาดพบปะลูกค้า มากขึ้น เพื่อเสนอข้อจูงใจในการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะเน้นไปในกลุ่ม ลูกค้า SME เช่นผู้ประกอบการยางพารา น้ำยางข้น โรงพิมพ์ ไม้ยางพาราแปรรูป ก่อสร้างโรงซีอิ๊ว ทั้งนี้ IFCT คิดอัตราดอกเบี้ยระดับ MLR-1 เป็นสำคัญ
สำหรับการให้บริการ สินเชื่อของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นั้น ยอดเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกคงค้างเท่ากับ 1,779.8 ล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 57.0 เพราะลูกค้าหันไปใช้บริการจากธนาคารพาณิชย์แทน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า ธสน. ประมาณ 0.5-1% นอกจากนี้ ยังมีแรงจูงใจจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าประมาณ 3-5 สตางค์ต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เป็นสำคัญ
แนวโต้มภาวะเศรษฐกิจในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า
* ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ยางพารายังคงมีแนวโน้ม ลดลงตามความต้องการใช้ยางในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมี มาตรการแทรกแซงตลาดยางต่อไป ทำให้ราคาลดลงไม่มากนัก
* ราคากุ้งกุลาดำ คาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำ ตามปริมาณผลผลิตกุ้งที่เพิ่มขึ้น ทั้งในและต่างประเทส ประกอบกับมีการนำเข้ากุ้งจากแหล่งผลิตราคาถูกได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ และเวียดนาม มาแปรรูปและส่งออกต่อ และได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
* อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องและ ถุงมือยางยังมีแนวโน้มขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการย้ายฐานการผลิตถุงมือยางจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในไทย
* ภาวะการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีมีแนวโน้มคึกคัก ตลอดจนถึงต้นปีใหม่ ทั้งที่ภูเก็ตและหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
* การก่อสร้างและการค้ายังคงขยายตัวดี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำประกอบกับสถาบันการเงินให้สินเชื่อด้านนี้มากขึ้น และมาตรการของทางการที่ออกมากระตุนอย่างต่อเนื่อง
* ระดับราคาสินค้าไม่น่าจะขยายตัวสูงนัก เนื่องจากราคาน้ำมัน ในตลาดโลกลดลง
* การส่งออกยังคงชะลอตัว เนื่องจากาภาวะเศรษฐกิจโลกยังคง ซบเซา ประกอบกับสหรัฐอเมริกาได้ ยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้ากับประเทศอินเดีย และปากีสถานซึ่งเป็น คู่แข่งทางการค้าของไทย
* สินเชื่อมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ในธุรกิจ ส่งออก ท่องเที่ยวอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ SMEs
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-