บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จ
ากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รัฐสภาไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมรัฐสภาเอเชียเพื่อสันติภาพ (AAPP)
ครั้งที่ ๖ ในระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เรื่อง
ให้นายฮอชาลี ม่าเหร็ม ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนนายธานินทร์ ใจสมุทร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้กล่าวนำนายฮอชาลี
ม่าเหร็ม ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๐๘ วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๐๙ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๑๐ วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๑๑ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการตำรวจ
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้มีมติเลือก นายวิรัช ร่มเย็น เป็นกรรมาธิการแทน นายธานินทร์ ใจสมุทร
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนถึงมาตรา ๓๒ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอถอน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน
คือ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และ
คนโดยสารต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทน ราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทอง ๐๒. พลตำรวจตรี วัจนนท์ ถิระวัฒน์
๐๓. พันตำรวจเอก สมศักดิ์ ปทุมารักษ์ ๐๔. พันตำรวจเอก ยงยุทธ ภักดีมงคล
๐๕. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ๐๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๐๗. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๐๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๐๙. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ๑๐. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๑๑. นางฐิติมา ฉายแสง ๑๒. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๓. นายนิยม ช่างพินิจ ๑๔. นายปัญญา จีนาคำ
๑๕. นายเอี่ยม ทองใจสด ๑๖. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๗. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๑๘. นายรณฤทธิชัย คานเขต
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๒๑. นายไชยา พรหมา ๒๒. นายสุรชัย ชินชัย
๒๓. นายประทีป กรีฑาเวช ๒๔. นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ
๒๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒๖. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๒๗. นายธนะวัตร วัฒนวงษ์ภิญโญ ๒๘. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายสินิตย์ เลิศไกร
๓๑. นายณรงค์ ดูดิง ๓๒. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๓๓. นางสาวณิรัฐกานต์ ศรีลาภ ๓๔. นายนิกร จำนง
๓๕. นายประสาท ตันประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ค่าลดหย่อนเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย)
*************************
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ณ ตึกรัฐสภา
-------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จ
ากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รัฐสภาไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาใหญ่สมาคมรัฐสภาเอเชียเพื่อสันติภาพ (AAPP)
ครั้งที่ ๖ ในระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ
๒. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เรื่อง
ให้นายฮอชาลี ม่าเหร็ม ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทนนายธานินทร์ ใจสมุทร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้กล่าวนำนายฮอชาลี
ม่าเหร็ม ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๐๘ วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๐๙ วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๑๐ วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ครั้งที่ ๑๑ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการตำรวจ
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้มีมติเลือก นายวิรัช ร่มเย็น เป็นกรรมาธิการแทน นายธานินทร์ ใจสมุทร
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ....
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนถึงมาตรา ๓๒ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอถอน
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงใหม่
๓. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. (ค่าลดหย่อนเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง) ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสนอ
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน
คือ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และ
คนโดยสารต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ได้แถลงหลักการและเหตุผล
มีสมาชิกฯ อภิปราย ต่อมา รองประธานสภาผู้แทน ราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๐๑. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทอง ๐๒. พลตำรวจตรี วัจนนท์ ถิระวัฒน์
๐๓. พันตำรวจเอก สมศักดิ์ ปทุมารักษ์ ๐๔. พันตำรวจเอก ยงยุทธ ภักดีมงคล
๐๕. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ๐๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๐๗. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๐๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๐๙. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ๑๐. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร
๑๑. นางฐิติมา ฉายแสง ๑๒. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
๑๓. นายนิยม ช่างพินิจ ๑๔. นายปัญญา จีนาคำ
๑๕. นายเอี่ยม ทองใจสด ๑๖. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๗. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๑๘. นายรณฤทธิชัย คานเขต
๑๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๐. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๒๑. นายไชยา พรหมา ๒๒. นายสุรชัย ชินชัย
๒๓. นายประทีป กรีฑาเวช ๒๔. นายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ
๒๕. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๒๖. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๒๗. นายธนะวัตร วัฒนวงษ์ภิญโญ ๒๘. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์
๒๙. นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๓๐. นายสินิตย์ เลิศไกร
๓๑. นายณรงค์ ดูดิง ๓๒. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๓๓. นางสาวณิรัฐกานต์ ศรีลาภ ๓๔. นายนิกร จำนง
๓๕. นายประสาท ตันประเสริฐ
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๒ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ค่าลดหย่อนเงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง)
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(กำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย)
*************************