กรุงเทพ--27 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยวันที่ 25 มกราคม 2543 เวลา 16.30 น. นายวศิน ธีรเวชญาณ อธิบดี กรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงกรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนสัญชาติจีนให้แก่สาธารณประชาชนจีนตามคำร้องขอของรัฐบาลจีน ซึ่งหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2543 ได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายว่าดำเนินการล่าช้า นั้น สรุปดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตประชาธิปไตยประชาชนจีน ได้มีหนังสือที่ TCE/PU 001 (00) ลงวันที่ 6 มกราคม 2543 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2543 ขอให้ส่งตัวนาย Zheng Fuxuan และนาง Zeng Guifeng บุคคลสัญชาติจีน เป็นผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อไปดำเนินคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงเงินจำนวน 28 ล้านหยวน ขณะนี้บุคคลทั้งสองถูกควบคุมตัวอยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องขอดังกล่าวเป็นไปตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-จีน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2542
2. ในการพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวข้างต้นพบว่า ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่สมบูรณ์ เนื่องจากยังขาดเอกสารหลักฐานบางอย่าง ซึ่งเป็นเงื่อนไขภายใต้สนธิสัญญาฯ ระหว่างไทย-จีน และเป็นหลักฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน นอกจากนั้นเอกสารที่ทางการจีนส่งมาให้ก็เป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ซึ่งตามทางปฏิบัติทางการจีนควรแปลเอกสารเหล่านั้นเป็นภาษาไทยมาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการแสดงต่อศาล อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้อนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ โดยจัดทำคำแปลภาษไทยเอกสารต่างๆ ให้ ได้แก่ หนังสือสถานทูต หมายจับ หนังสือรับรองสัญชาติ รายงานสรุปคดี ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องมีคำแปลภาษาไทยเพราะจำเป็นที่ต้องใช้ในการพิจารณาของศาล และได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานอัยการสูงสุด ขอให้จับกุมตัวบุคคลทั้งสองเพื่อดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป โดยพิจารณาอนุโลมตีความว่าหนังสือของสถานทูตจีนถือเป็นคำร้องขอจับกุมตัวผู้กระทำผิด
3. การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของจีนถือว่าเป็นความอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ทางการจีน เพราะในช่วงนั้น เจ้าหน้าที่โต๊ะกองสนธิสัญญาที่รับผิดชอบเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพียงคนเดียว มีภารกิจเร่งด่วนหลายอย่าง เช่น กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนายซก เยือน และกรณีที่สหรัฐอเมริกาขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ เป็นต้น
4. สำหรับคำกล่าวว่ากรมสนธิสัญญาฯ ดำเนินการเกือบไม่ทันกำหนดที่ตำรวจจะปล่อยตัวบุคคลทั้งสองนั้น ในวันที่ 25 มกราคม 2543 นั้น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะขณะนั้นชาวจีนทั้งสองถูกตำรวจสันติบาลจับกุมในความผิดข้อหาอื่นอยู่ และครบกำหนดที่จะขอผัดฟ้องต่อศาลในวันที่ 28 มกราคม 2543 นอกจากนั้น ก่อนที่จะส่งหนังสือเพื่อขอจับกุมให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ กรมสนธิสัญญาฯ ก็ได้ประสานไปเป็นการล่วงหน้ากับกองการต่างประเทศ กรมตำรวจแห่งชาติแล้ว ซึ่งเป็นทางปฏิบัติปกติระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ--จบ--
ด้วยวันที่ 25 มกราคม 2543 เวลา 16.30 น. นายวศิน ธีรเวชญาณ อธิบดี กรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงกรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนสัญชาติจีนให้แก่สาธารณประชาชนจีนตามคำร้องขอของรัฐบาลจีน ซึ่งหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 23 มกราคม 2543 ได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายว่าดำเนินการล่าช้า นั้น สรุปดังนี้
1. สถานเอกอัครราชทูตประชาธิปไตยประชาชนจีน ได้มีหนังสือที่ TCE/PU 001 (00) ลงวันที่ 6 มกราคม 2543 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2543 ขอให้ส่งตัวนาย Zheng Fuxuan และนาง Zeng Guifeng บุคคลสัญชาติจีน เป็นผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อไปดำเนินคดีสำหรับความผิดฐานฉ้อโกงเงินจำนวน 28 ล้านหยวน ขณะนี้บุคคลทั้งสองถูกควบคุมตัวอยู่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องขอดังกล่าวเป็นไปตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-จีน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2542
2. ในการพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวข้างต้นพบว่า ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่สมบูรณ์ เนื่องจากยังขาดเอกสารหลักฐานบางอย่าง ซึ่งเป็นเงื่อนไขภายใต้สนธิสัญญาฯ ระหว่างไทย-จีน และเป็นหลักฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน นอกจากนั้นเอกสารที่ทางการจีนส่งมาให้ก็เป็นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ซึ่งตามทางปฏิบัติทางการจีนควรแปลเอกสารเหล่านั้นเป็นภาษาไทยมาให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการแสดงต่อศาล อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศตระหนักดีถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้อนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ โดยจัดทำคำแปลภาษไทยเอกสารต่างๆ ให้ ได้แก่ หนังสือสถานทูต หมายจับ หนังสือรับรองสัญชาติ รายงานสรุปคดี ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเอกสารดังกล่าวต้องมีคำแปลภาษาไทยเพราะจำเป็นที่ต้องใช้ในการพิจารณาของศาล และได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานอัยการสูงสุด ขอให้จับกุมตัวบุคคลทั้งสองเพื่อดำเนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป โดยพิจารณาอนุโลมตีความว่าหนังสือของสถานทูตจีนถือเป็นคำร้องขอจับกุมตัวผู้กระทำผิด
3. การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของจีนถือว่าเป็นความอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่ทางการจีน เพราะในช่วงนั้น เจ้าหน้าที่โต๊ะกองสนธิสัญญาที่รับผิดชอบเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพียงคนเดียว มีภารกิจเร่งด่วนหลายอย่าง เช่น กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนายซก เยือน และกรณีที่สหรัฐอเมริกาขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ เป็นต้น
4. สำหรับคำกล่าวว่ากรมสนธิสัญญาฯ ดำเนินการเกือบไม่ทันกำหนดที่ตำรวจจะปล่อยตัวบุคคลทั้งสองนั้น ในวันที่ 25 มกราคม 2543 นั้น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะขณะนั้นชาวจีนทั้งสองถูกตำรวจสันติบาลจับกุมในความผิดข้อหาอื่นอยู่ และครบกำหนดที่จะขอผัดฟ้องต่อศาลในวันที่ 28 มกราคม 2543 นอกจากนั้น ก่อนที่จะส่งหนังสือเพื่อขอจับกุมให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ กรมสนธิสัญญาฯ ก็ได้ประสานไปเป็นการล่วงหน้ากับกองการต่างประเทศ กรมตำรวจแห่งชาติแล้ว ซึ่งเป็นทางปฏิบัติปกติระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ--จบ--