GSP (Generalized System of Preferences) หมายถึง ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วยินดีที่จะยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าให้แก่สินค้าที่ผลิตและนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ แต่เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถส่งสินค้าเข้าไปในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเสียภาษีขาเข้าต่ำกว่าคู่แข่งจากประเทศอื่น
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มให้ GSP สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแก่ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2514 ปัจจุบัน GSP ที่ญี่ปุ่นให้อยู่ในช่วงของโครงการที่ 4 ซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 ในโครงการที่ 4 นี้ญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเงื่อนไขในการให้ GSP บางประการ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญและผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าจากไทยไปญี่ปุ่นได้ดังนี้
1. อัตราภาษีสินค้าภายใต้ GSP
เดิม สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นจะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีขาเข้า ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมมีการกำหนดอัตราภาษีสำหรับสินค้าที่ได้ GSP ไว้ 2 อัตรา คือ 0% (ยกเว้นภาษีขาเข้า) และ 50% ของอัตราภาษีปกติ ซึ่งเป็นอัตราภาษีขาเข้าที่ประเทศสมาชิก WTO (World Trade Organization) ใช้เรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าอื่นที่เป็นสมาชิก WTO โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามหลัก MFN (Most-Favoured Nation Treatment)
ใหม่ สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นยังคงได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีขาเข้าเช่นเดิม ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีการกำหนดอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ได้ GSP เป็น 5 อัตรา คือ 0%, 20%, 40%, 60% และ 80% ของอัตราภาษีปกติ
ผลกระทบต่อไทย สินค้าส่งออกของไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา GSP ที่สำคัญ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเดิมได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า เปลี่ยนเป็นต้องเสียภาษีขาเข้า 40% ของอัตราภาษีปกติ ทำให้ประโยชน์ที่เคยได้รับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งอื่นที่ยังได้รับ GSP ด้วยการยกเว้นภาษี
2. การกำหนด Ceiling หรือเพดานนำเข้ารวมจากทุกประเทศ
เดิม สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นไม่ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมบางรายการถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม เช่น เหล็กและท่อเหล็ก ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม 9.7 พันล้านเยนต่อปี เป็นต้น
ใหม่ สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP ไม่ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวมเหมือนเดิม และได้มีการยกเลิกเพดานนำเข้ารวมของสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการที่เคยกำหนดเพดาน เช่น เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า กระสอบและถุงใช้บรรจุสิ่งของ ผ้าปัก ท่อเหล็ก แผ่นทองเหลือง/บรอนซ์ และลวดที่หุ้มฉนวนไฟฟ้า เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย สินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกยกเลิกเพดานนำเข้ารวมหลายรายการเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปญี่ปุ่น ทำให้คาดว่าผู้ส่งออกไทยจะสามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวเข้าไปในตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น
3. การกำหนดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงของแต่ละประเทศ (Maximun Country Amounts: MCAs)
เดิม ญี่ปุ่นกำหนดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงสำหรับสินค้าบางรายการของแต่ละประเทศไว้ไม่เกิน 25% ของเพดานการนำเข้ารวมจากทุกประเทศ หากสินค้าใดมีการนำเข้าเกินมูลค่าที่กำหนด จะถูกระงับสิทธิ GSP แต่ญี่ปุ่นอาจยืดหยุ่นให้มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต่อไปได้ หากการนำเข้าสินค้านั้นไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของญี่ปุ่น
ใหม่ ญี่ปุ่นปรับลดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงสำหรับสินค้าบางรายการของแต่ละประเทศลงเหลือ 20% ของเพดานการนำเข้ารวมจากทุกประเทศ หากสินค้าใดมีการนำเข้าเกินมูลค่าที่กำหนด จะถูกระงับการให้ GSP แต่ญี่ปุ่นอาจยืดหยุ่นให้มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต่อไปได้ หากการนำเข้าสินค้านั้นไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของญี่ปุ่น
ผลกระทบต่อไทย สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการที่มีมูลค่าใกล้เต็มมูลค่าการนำเข้าที่ญี่ปุ่นกำหนด มีแนวโน้มที่จะถูกตัด GSP ง่ายขึ้น อาทิ แป้งมันสำปะหลังแปรรูป โพลิเอทิลีน สายนาฬิกาทำด้วยโลหะมีค่า ด้ายทำจากเศษไหม เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ของเล่น เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น
4. วิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP
เดิม ญี่ปุ่นกำหนดวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP ไว้ดังนี้
1. ควบคุมแบบรายวัน (Daily Control) กลุ่มสินค้าที่ถูกควบคุมการนำเข้าเป็นรายวันจะถูกระงับการให้ GSP หลังจากวันที่มีการนำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs แล้ว 2 วัน
2. ควบคุมแบบรายเดือน (Monthly Control) กลุ่มสินค้าที่ถูกควบคุมการนำเข้าเป็นรายเดือนจะถูกระงับการให้ GSP ในวันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs
ใหม่ ญี่ปุ่นกำหนดวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP เพียงวิธีเดียว คือ ควบคุมรายเดือน โดยจะมีการระงับการให้สิทธิ GSP ตั้งแต่กลางเดือนถัดจากเดือนที่มีการนำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs
ผลกระทบต่อไทย สินค้าที่จะถูกระงับ GSP จะได้ประโยชน์จากการที่ญี่ปุ่นขยายระยะเวลาการระงับสิทธิ GSP ออกไปอีกราว 15 วัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มให้ GSP สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมแก่ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2514 ปัจจุบัน GSP ที่ญี่ปุ่นให้อยู่ในช่วงของโครงการที่ 4 ซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 ในโครงการที่ 4 นี้ญี่ปุ่นได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเงื่อนไขในการให้ GSP บางประการ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญและผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าจากไทยไปญี่ปุ่นได้ดังนี้
1. อัตราภาษีสินค้าภายใต้ GSP
เดิม สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นจะได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีขาเข้า ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมมีการกำหนดอัตราภาษีสำหรับสินค้าที่ได้ GSP ไว้ 2 อัตรา คือ 0% (ยกเว้นภาษีขาเข้า) และ 50% ของอัตราภาษีปกติ ซึ่งเป็นอัตราภาษีขาเข้าที่ประเทศสมาชิก WTO (World Trade Organization) ใช้เรียกเก็บจากประเทศคู่ค้าอื่นที่เป็นสมาชิก WTO โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามหลัก MFN (Most-Favoured Nation Treatment)
ใหม่ สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นยังคงได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีขาเข้าเช่นเดิม ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีการกำหนดอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ได้ GSP เป็น 5 อัตรา คือ 0%, 20%, 40%, 60% และ 80% ของอัตราภาษีปกติ
ผลกระทบต่อไทย สินค้าส่งออกของไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา GSP ที่สำคัญ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเดิมได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า เปลี่ยนเป็นต้องเสียภาษีขาเข้า 40% ของอัตราภาษีปกติ ทำให้ประโยชน์ที่เคยได้รับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งอื่นที่ยังได้รับ GSP ด้วยการยกเว้นภาษี
2. การกำหนด Ceiling หรือเพดานนำเข้ารวมจากทุกประเทศ
เดิม สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP จากญี่ปุ่นไม่ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมบางรายการถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม เช่น เหล็กและท่อเหล็ก ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวม 9.7 พันล้านเยนต่อปี เป็นต้น
ใหม่ สินค้าเกษตรกรรมที่ได้ GSP ไม่ถูกกำหนดเพดานนำเข้ารวมเหมือนเดิม และได้มีการยกเลิกเพดานนำเข้ารวมของสินค้าอุตสาหกรรมบางรายการที่เคยกำหนดเพดาน เช่น เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า กระสอบและถุงใช้บรรจุสิ่งของ ผ้าปัก ท่อเหล็ก แผ่นทองเหลือง/บรอนซ์ และลวดที่หุ้มฉนวนไฟฟ้า เป็นต้น
ผลกระทบต่อไทย สินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกยกเลิกเพดานนำเข้ารวมหลายรายการเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปญี่ปุ่น ทำให้คาดว่าผู้ส่งออกไทยจะสามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวเข้าไปในตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น
3. การกำหนดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงของแต่ละประเทศ (Maximun Country Amounts: MCAs)
เดิม ญี่ปุ่นกำหนดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงสำหรับสินค้าบางรายการของแต่ละประเทศไว้ไม่เกิน 25% ของเพดานการนำเข้ารวมจากทุกประเทศ หากสินค้าใดมีการนำเข้าเกินมูลค่าที่กำหนด จะถูกระงับสิทธิ GSP แต่ญี่ปุ่นอาจยืดหยุ่นให้มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต่อไปได้ หากการนำเข้าสินค้านั้นไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของญี่ปุ่น
ใหม่ ญี่ปุ่นปรับลดมูลค่าการนำเข้าขั้นสูงสำหรับสินค้าบางรายการของแต่ละประเทศลงเหลือ 20% ของเพดานการนำเข้ารวมจากทุกประเทศ หากสินค้าใดมีการนำเข้าเกินมูลค่าที่กำหนด จะถูกระงับการให้ GSP แต่ญี่ปุ่นอาจยืดหยุ่นให้มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวต่อไปได้ หากการนำเข้าสินค้านั้นไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในของญี่ปุ่น
ผลกระทบต่อไทย สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการที่มีมูลค่าใกล้เต็มมูลค่าการนำเข้าที่ญี่ปุ่นกำหนด มีแนวโน้มที่จะถูกตัด GSP ง่ายขึ้น อาทิ แป้งมันสำปะหลังแปรรูป โพลิเอทิลีน สายนาฬิกาทำด้วยโลหะมีค่า ด้ายทำจากเศษไหม เครื่องรัดทรง ถุงมือ ถุงน่อง ของเล่น เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น
4. วิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP
เดิม ญี่ปุ่นกำหนดวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP ไว้ดังนี้
1. ควบคุมแบบรายวัน (Daily Control) กลุ่มสินค้าที่ถูกควบคุมการนำเข้าเป็นรายวันจะถูกระงับการให้ GSP หลังจากวันที่มีการนำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs แล้ว 2 วัน
2. ควบคุมแบบรายเดือน (Monthly Control) กลุ่มสินค้าที่ถูกควบคุมการนำเข้าเป็นรายเดือนจะถูกระงับการให้ GSP ในวันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs
ใหม่ ญี่ปุ่นกำหนดวิธีควบคุมการใช้สิทธิ GSP เพียงวิธีเดียว คือ ควบคุมรายเดือน โดยจะมีการระงับการให้สิทธิ GSP ตั้งแต่กลางเดือนถัดจากเดือนที่มีการนำเข้าเต็ม Ceiling หรือ MCAs
ผลกระทบต่อไทย สินค้าที่จะถูกระงับ GSP จะได้ประโยชน์จากการที่ญี่ปุ่นขยายระยะเวลาการระงับสิทธิ GSP ออกไปอีกราว 15 วัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-