นาย Michal Kovac อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวัก เยือนไทยเป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 15-19 มีนาคม 2544 ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศอินเดีย ในระหว่างการเยือนไทย นาย Michal Kovac และ นาง Emilia Kovac ภริยา ได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2544 เวลา 16.00 น. ณ อาคารชัยพัฒนา พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และมีกำหนดเข้าพบ ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันเดียวกัน เวลา 11.15 น. ที่ห้องบัวแก้ว กระทรวงการ ต่างประเทศ
ไทยและสาธารณรัฐสโลวักมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาตั้งแต่สโลวักยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (เชโกสโลวะเกีย) หลังจากสโลวักได้แยกประเทศออกมาไทยและ สโลวักได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 ทั้งสองฝ่ายมีการ แลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันเป็นครั้งคราว การเยือนที่สำคัญคือการเยือนไทยของนาย Vladimir Meciar นายกรัฐมนตรีของสโลวัก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 การเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐสโลวัก อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2539 การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ นาย Jaroslav Chlebo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สโลวัก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งในโอกาสดังกล่าว ได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและสโลวักด้วย
สำหรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้านั้น ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสโลวักมา โดยตลอด ยกเว้นเพียงในปี 2538 ซึ่งไทยขาดดุลการค้า มูลค่าการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยและสโลวัก ในปี 2543 มีจำนวน 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ และผลิตภัณฑ์ยาง ในขณะที่ไทยนำเข้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม แร่ดิบ กุ้งสด และแช่แข็ง เครื่องจักร ใช้ในอุตสาหกรรม และยาปราบศัตรูพืช ขณะนี้มูลค่าการค้ายังน้อย เนื่องจากนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายยัง ไม่ทราบถึงศักยภาพของอีกฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามหาลู่ทางที่จะให้มีการติดต่อร่วมมือทางการค้าให้มากขึ้น และจากการที่สโลวักมีความเชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรม กำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมสูง เนื่องจากในระหว่างที่อยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรม เพื่อผลิตสินค้า เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นเครื่องใช้และสินค้าทางยุทธปัจจัย โรงงานต่างๆ ได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่ ในขณะที่ไทยมีแรงงานฝีมือและสินค้ามีราคาเหมาะสม ดังนั้น นักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย อาจทำธุรกิจร่วมทางการผลิตทางอุตสาหกรรม โดยการนำสินค้าในลักษณะวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป หรือชิ้นส่วน Knock down จากไทยไปประกอบหรือผลิตเป็น สินค้าโดยสมบูรณ์ที่สโลวัก เพื่อส่งไปขายในตลาดยุโรป รวมทั้งไทยพยายามชักชวนให้สโลวักใช้ไทย เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้
นอกจากสาธารณรัฐสโลวักจะเป็นประเทศยุโรปกลางที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมหนักแล้ว ยังมีความก้าวหน้าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถจะ ร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ได้อีก
นาย Michal Kovac ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวักระหว่างปี 2536-2541 โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐสโลวัก และได้เป็นผู้ถวายการต้อนรับสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อย่างสมพระเกียรติในระหว่างการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐ สโลวักอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2539 อดีตประธานาธิบดี Kovac ได้รับการนับถือจากประชาชนชาวสโลวักเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นาย Kovac ได้สร้างประเทศขึ้นมาใหม่ให้เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และพยายามสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ชาวสโลวัก นอกจากนี้ นาย Kovac ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยของรัฐ ช่วยยุติวิกฤตการณ์ทางการเมือง ประชาชนชาว สโลวักถือว่า นาย Kovac เป็นเสมือนเสาหลักของการสร้างประชาธิปไตยแก่สโลวัก ภายหลังการออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2541 นาย Kovac ได้ดำรงตำแหน่งประธานของ Foundation of Vaclav Havel and Michal Kovac
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ไทยและสาธารณรัฐสโลวักมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาตั้งแต่สโลวักยังเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (เชโกสโลวะเกีย) หลังจากสโลวักได้แยกประเทศออกมาไทยและ สโลวักได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 ทั้งสองฝ่ายมีการ แลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันเป็นครั้งคราว การเยือนที่สำคัญคือการเยือนไทยของนาย Vladimir Meciar นายกรัฐมนตรีของสโลวัก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 การเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐสโลวัก อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2539 การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ นาย Jaroslav Chlebo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สโลวัก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งในโอกาสดังกล่าว ได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและสโลวักด้วย
สำหรับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้านั้น ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสโลวักมา โดยตลอด ยกเว้นเพียงในปี 2538 ซึ่งไทยขาดดุลการค้า มูลค่าการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยและสโลวัก ในปี 2543 มีจำนวน 7.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ และผลิตภัณฑ์ยาง ในขณะที่ไทยนำเข้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม แร่ดิบ กุ้งสด และแช่แข็ง เครื่องจักร ใช้ในอุตสาหกรรม และยาปราบศัตรูพืช ขณะนี้มูลค่าการค้ายังน้อย เนื่องจากนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายยัง ไม่ทราบถึงศักยภาพของอีกฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามหาลู่ทางที่จะให้มีการติดต่อร่วมมือทางการค้าให้มากขึ้น และจากการที่สโลวักมีความเชี่ยวชาญทางอุตสาหกรรม กำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมสูง เนื่องจากในระหว่างที่อยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรม เพื่อผลิตสินค้า เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นเครื่องใช้และสินค้าทางยุทธปัจจัย โรงงานต่างๆ ได้รับการออกแบบให้มีขนาดใหญ่ ในขณะที่ไทยมีแรงงานฝีมือและสินค้ามีราคาเหมาะสม ดังนั้น นักธุรกิจของทั้งสองฝ่าย อาจทำธุรกิจร่วมทางการผลิตทางอุตสาหกรรม โดยการนำสินค้าในลักษณะวัตถุดิบ หรือวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป หรือชิ้นส่วน Knock down จากไทยไปประกอบหรือผลิตเป็น สินค้าโดยสมบูรณ์ที่สโลวัก เพื่อส่งไปขายในตลาดยุโรป รวมทั้งไทยพยายามชักชวนให้สโลวักใช้ไทย เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้
นอกจากสาธารณรัฐสโลวักจะเป็นประเทศยุโรปกลางที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรมหนักแล้ว ยังมีความก้าวหน้าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถจะ ร่วมมือกันในสาขาต่างๆ ได้อีก
นาย Michal Kovac ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวักระหว่างปี 2536-2541 โดยเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐสโลวัก และได้เป็นผู้ถวายการต้อนรับสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อย่างสมพระเกียรติในระหว่างการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐ สโลวักอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2539 อดีตประธานาธิบดี Kovac ได้รับการนับถือจากประชาชนชาวสโลวักเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี นาย Kovac ได้สร้างประเทศขึ้นมาใหม่ให้เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และพยายามสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ชาวสโลวัก นอกจากนี้ นาย Kovac ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยของรัฐ ช่วยยุติวิกฤตการณ์ทางการเมือง ประชาชนชาว สโลวักถือว่า นาย Kovac เป็นเสมือนเสาหลักของการสร้างประชาธิปไตยแก่สโลวัก ภายหลังการออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2541 นาย Kovac ได้ดำรงตำแหน่งประธานของ Foundation of Vaclav Havel and Michal Kovac
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-