คาดคะเนผลผลิต : คาดคะเนผลผลิตและสถานการณ์การผลิตข้าว อ้อย และมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวใน เดือนพฤศจิกายน ปี 2543
ข้าว : ผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 จะทะลักในเดือนพฤศจิกายนคาดว่าราคาจะลดต่ำลง
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลผลิตข้าวโลก ปี 2543/44 ณ เดือนตุลาคม 2543 ว่าจะมีผลผลิต 590.80 ล้านตันข้าวเปลือก (397.34 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงจาก 598.30 ล้านตันข้าวเปลือก (402.44 ล้านตันข้าวสาร) ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.25 แต่ผลผลิตข้าวโลกก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับการค้าของโลกในปีที่ผ่านมาค่อนข้างซบเซา ส่งผลให้สต็อกคงเหลือมาก เมื่อรวมกับผลผลิตที่มีอยู่แล้ว ทำให้อุปทานข้าวของโลกในปี 2543/44 สูงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
ส่วนการค้าข้าวโลก ปี 2543/44 คาดว่าจะมี 24.62 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 22.39 ล้านตันข้าวสารของปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.96 แม้การค้าข้าวของโลกจะเพิ่ม แต่เนื่องจากราคาข้าวในปี 2542/43 ยังคงต่ำ อันเนื่องมาจากอุปทานส่วนเกินของข้าวไทยและเวียดนาม ทำให้การซื้อขายยังคงปรับตัวลดลง จึงคาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกปีหน้าจะมีแนวโน้มลดลงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับการผลิตข้าวในประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานผลการสำรวจข้าวนาปรัง ปี 2543 เบื้องต้นว่าจะมี 5.245 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 4.489 ล้านตันข้าวเปลือกที่ได้ประมาณการไว้เมื่อเดือนกันยายน 2543 ร้อยละ 16.84 และได้คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 ลดลงจาก 18.978 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 18.914 ล้านตัน-ข้าวเปลือก เนื่องจากประสบกับพายุดีเปรสชั่น พายุเกย์และหวูคง ในเดือนสิงหาคมทำให้พื้นที่เสียหายเฉพาะพื้นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ แต่จะส่งผลดีต่อพื้นที่นาดอน ทำให้ผลผลิตโดยรวมของประเทศ ยังคงมากใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ผลผลิตกำลังทยอยออกสู่ตลาดแล้ว ประมาณร้อยละ 11.85 (กค. - ตค.) และจะมากสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมประมาณร้อยละ 35.70 และ 39.55 ของผลผลิตทั้งหมด ตามลำดับ
ในขณะที่การส่งออกของไทยตั้งแต่มกราคม-18 ตุลาคม 2543 ส่งออกได้ 4,759,052 ตัน ลดลงจาก 4,998,386 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.79 ส่งผลให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 ซึ่งกำลังทยอยออกสู่ตลาด ขณะนี้ และจะออกมากในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ถ้ายังไม่สามารถระบายข้าวของปี 2542/43 และเตรียมเร่งระบายข้าวนาปี ปี 2543/44 ด้วยแล้ว คาดว่าจะเกิดปัญหาปริมาณข้าวล้นตลาด ก่อให้เกิดราคาข้าวตกต่ำตามมา เพราะขณะนี้ราคาข้าว 5% ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนกันยายน เฉลี่ยเกวียนละ 5,272 บาท ลดลงจากเกวียนละ 5,586 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.62 ซึ่งตามปกติแล้วในช่วงนี้ของทุกปีราคาไม่น่าจะลดลง
ข้อคิดเห็น
รัฐบาลควรเร่งรัดการปฏิบัติงานตามมาตรการข้าว ปี 2543/44 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร็วให้ทันในช่วงผลผลิตออกมาก เพื่อมิให้เกษตรกรเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
อ้อยโรงงาน : ราคาอ้อยเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสสูงกว่าตันละ 600 บาท
ผลผลิตอ้อยโรงงานของปี 2543/44 ที่จะเริ่มเก็บเกี่ยวเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 51.21 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.27 และคาดว่าจะผลิตเป็นน้ำตาลได้ประมาณ 5.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปริมาณ 5.51 ล้านตันในปีที่ผ่านมาลดลงประมาณร้อยละ 3.64 สาเหตุที่ผลผลิตอ้อยที่ลดลง เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ปลูกอ้อยและการลดลงของผลผลิตต่อไร่ โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกอ้อยจะลดจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 2.38 เหลือ 5.51 ล้านไร่ ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าจะอยู่ระดับ 9.29 ตันต่อไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.93 เนื่องจากการที่ราคาอ้อยตกต่ำมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกอ้อยและหันไปปลูกพืชไร่อื่นทดแทนและมีการดูแลรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับความเสียหายจากโรคใบขาวและโรคหนอนกออ้อยที่ระบาดรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ รวมถึงบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ราชบุรี และกาญจนบุรี
จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกที่ขยับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดจนอยู่ในระดับ 10 - 11 เซ็นต์ต่อปอนด์หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ กิโลกรัมละ 9 - 10 บาท เนื่องจากได้มีการคาดหมายว่าผลผลิตน้ำตาลของโลกในปี 2543/44 จะต่ำกว่าปริมาณการบริโภคเป็นปีแรกหลังจากที่ผลิตได้มากกว่าการบริโภคมาเป็นระยะเวลา 6 ปี ซึ่งเป็นผลจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายสำคัญของโลกผลิตน้ำตาลได้ลดลง เช่น บราซิล และออสเตรเลียพื้นที่ปลูกได้รับความเสียหายจากสภาวะอากาศ และการลดลงของพื้นที่ปลูกบีทและอ้อย ของสหภาพยุโรปและไทย เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตกต่ำมาในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
จากภาวะราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวและราคายังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ เมื่อประกอบกับค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาที่อ่อนตัวเกินกว่า 40 บาท อยู่ในขณะนี้ จะส่งผลราคาอ้อยขั้นต้น ที่เกษตรกรขายได้ของปี 2543/44 ซึ่งจะมีการประกาศใช้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสที่จะสูงกว่า 600 บาทต่อตันได้ และโรงงานน้ำตาลก็จะได้รับผลตอบแทนจากการผลิตน้ำตาลสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาวะวิกฤติของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่มีภาระหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะต้องชำระคืนถึงกว่า 10,000 ล้านบาทอยู่ในขณะนี้
มันสำปะหลัง : ราคามันสำปะหลังในปีนี้ยังคงตกต่ำ
จากภาวะน้ำท่วมอันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด หนองคาย ศรีสะเกษ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และลพบุรี เป็นต้น ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 จะลดลงจากเดิมที่ได้พยากรณ์ไว้ 18.34 ล้านตัน เหลือ 18.28 ล้านตันหัวมันสด โดยผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป และในเดือนพฤศจิกายนจะออกสู่ตลาดมากขึ้นจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลผลิตมันสำปะหลังของไทยจะลดลง แต่คาดว่าเกษตรกรจะยังประสบกับปัญหาราคาตกต่ำเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากคาดว่าผลผลิตจะมากเกินกว่าความต้องการของตลาดถึง 2.712 ล้านตันหัวมันสด ประกอบกับสภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทย ผลิตธัญพืชได้เพิ่มขึ้น และผลผลิตของข้าวสาลีบางส่วนประสบกับความเสียหาย ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งจะมีการลดราคาประกันธัญพืชลงร้อยละ 7.5 ตามนโยบายเกษตรร่วมตาม Agenda 2000 ส่งผลให้ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้ามันอัดเม็ดที่ตลาดรอตเตอร์ดัม ส่งมอบในเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2544 มีราคาลดลงเหลือตันละ165-170 ดอยซ์มาร์ค เมื่อทอนเป็นราคาส่งออก F.O.B. กรุงเทพฯ ตกราคาตันละ 46-48 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นราคาหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.50-0.55 บาท ณ ลานมันและโรงแป้ง
ช่วยเหลือเกษตรกร : ความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ดีเซลที่สูงขึ้น
ความเดิม
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้อนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอขอใช้เงินจาก คชก. ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในวงเงิน 756 ล้านบาท เป็นค่าชดเชยน้ำมันดีเซลให้กับเกษตรกร และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารให้กับ ธกส. อีก 12.6 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2543 โดยมีวิธีการดังนี้
- เกษตรกรที่ได้รับการชดเชยจะต้องเป็นสมาชิกสถาบัน หรืองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด (สกต.) และกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตด้านพืช ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ยกเว้นสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรด้านประมงทะเล ที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว) ถ้าเกษตรกรไม่เป็นสมาชิกต้องสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลใดก่อน ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2543
- อัตราค่าชดเชยน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท เฉลี่ย 15 ลิตรต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน ถ้าใช้ไม่หมดแต่ละเดือนนำมาสะสมได้สูงสุดไม่เกินครัวเรือนละ 45 ลิตร เป็นเงิน 135 บาท
- ระยะเวลาเริ่มเติมน้ำมันที่สถานีบริการตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2543
- ระยะเวลาเบิกจ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึง 31 มกราคม 2544
ความก้าวหน้า
- การขยายเวลาแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ
เนื่องจากการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในเรื่องนี้มีระยะเวลาสั้น ทำให้เกษตรกรไม่ทราบถึงมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวอย่างทั่วถึง ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน เห็นสมควรที่จะขอขยายเวลาให้เกษตรกรมาแจ้งความจำนงเพื่อเข้าร่วมโครงการไปจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2543 โดย ธ.ก.ส. ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมแจ้งและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว
- การเบิกจ่ายเงินจากกรมบัญชีกลาง
จากมติ คชก. ที่อนุมัติวงเงินตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น จำนวน 756 ล้านบาท ดังกล่าวนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนการใช้เงินและทำข้อตกลงระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ธ.ก.ส. ซึ่งคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายเงินจากกรมบัญชีกลาง และโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส. ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
ข้าวนาปรัง : คาดคะเนปริมาณปุ๋ยที่ควรใช้ในการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2544
จากการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตข้าวของเกษตรกรในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีเพาะปลูก 2539/40 ของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สามารถคาดคะเนและประมาณว่าในช่วงการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2544 เมื่อราคาข้าวอยู่ที่ระดับ 3,700 บาทต่อตัน ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ราคา 6,600 บาทต่อตัน ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ราคา 6,300 บาทต่อตัน ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ราคา 6,600 บาทต่อตัน
ในพื้นที่ภาคกลาง ระดับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมของเกษตรกร คือ ควรใช้ปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 16-20-0 ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าไม่เกิดปัญหาอื่น ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ เกษตรกรควรจะได้ผลผลิตประมาณ 814 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,010 บาทต่อไร่ มีต้นทุนการใช้ปัจจัย ปริมาณ 1,710 บาทต่อไร่ รายได้เหนือต้นทุนการใช้ปัจจัยประมาณ 1,300 บาทต่อไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมของเกษตรกร คือควรใช้ปุ๋ยยูเรียในอัตราประมาณ 14 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 16-16-8 18 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตประมาณ 716 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,650 บาทต่อไร่ มีต้นทุนการใช้ปัจจัย 1,690 บาทต่อไร่ รายได้เหนือต้นทุนการใช้ปัจจัย 960 บาทต่อไร่
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 16-22 ต.ค. 2543--
-สส-
ข้าว : ผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 จะทะลักในเดือนพฤศจิกายนคาดว่าราคาจะลดต่ำลง
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนผลผลผลิตข้าวโลก ปี 2543/44 ณ เดือนตุลาคม 2543 ว่าจะมีผลผลิต 590.80 ล้านตันข้าวเปลือก (397.34 ล้านตันข้าวสาร) ลดลงจาก 598.30 ล้านตันข้าวเปลือก (402.44 ล้านตันข้าวสาร) ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.25 แต่ผลผลิตข้าวโลกก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับการค้าของโลกในปีที่ผ่านมาค่อนข้างซบเซา ส่งผลให้สต็อกคงเหลือมาก เมื่อรวมกับผลผลิตที่มีอยู่แล้ว ทำให้อุปทานข้าวของโลกในปี 2543/44 สูงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
ส่วนการค้าข้าวโลก ปี 2543/44 คาดว่าจะมี 24.62 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 22.39 ล้านตันข้าวสารของปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.96 แม้การค้าข้าวของโลกจะเพิ่ม แต่เนื่องจากราคาข้าวในปี 2542/43 ยังคงต่ำ อันเนื่องมาจากอุปทานส่วนเกินของข้าวไทยและเวียดนาม ทำให้การซื้อขายยังคงปรับตัวลดลง จึงคาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกปีหน้าจะมีแนวโน้มลดลงใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับการผลิตข้าวในประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานผลการสำรวจข้าวนาปรัง ปี 2543 เบื้องต้นว่าจะมี 5.245 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจาก 4.489 ล้านตันข้าวเปลือกที่ได้ประมาณการไว้เมื่อเดือนกันยายน 2543 ร้อยละ 16.84 และได้คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 ลดลงจาก 18.978 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 18.914 ล้านตัน-ข้าวเปลือก เนื่องจากประสบกับพายุดีเปรสชั่น พายุเกย์และหวูคง ในเดือนสิงหาคมทำให้พื้นที่เสียหายเฉพาะพื้นที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ แต่จะส่งผลดีต่อพื้นที่นาดอน ทำให้ผลผลิตโดยรวมของประเทศ ยังคงมากใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ผลผลิตกำลังทยอยออกสู่ตลาดแล้ว ประมาณร้อยละ 11.85 (กค. - ตค.) และจะมากสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมประมาณร้อยละ 35.70 และ 39.55 ของผลผลิตทั้งหมด ตามลำดับ
ในขณะที่การส่งออกของไทยตั้งแต่มกราคม-18 ตุลาคม 2543 ส่งออกได้ 4,759,052 ตัน ลดลงจาก 4,998,386 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.79 ส่งผลให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับผลผลิตข้าวนาปี ปี 2543/44 ซึ่งกำลังทยอยออกสู่ตลาด ขณะนี้ และจะออกมากในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ถ้ายังไม่สามารถระบายข้าวของปี 2542/43 และเตรียมเร่งระบายข้าวนาปี ปี 2543/44 ด้วยแล้ว คาดว่าจะเกิดปัญหาปริมาณข้าวล้นตลาด ก่อให้เกิดราคาข้าวตกต่ำตามมา เพราะขณะนี้ราคาข้าว 5% ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนกันยายน เฉลี่ยเกวียนละ 5,272 บาท ลดลงจากเกวียนละ 5,586 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.62 ซึ่งตามปกติแล้วในช่วงนี้ของทุกปีราคาไม่น่าจะลดลง
ข้อคิดเห็น
รัฐบาลควรเร่งรัดการปฏิบัติงานตามมาตรการข้าว ปี 2543/44 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร็วให้ทันในช่วงผลผลิตออกมาก เพื่อมิให้เกษตรกรเดือดร้อนจากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
อ้อยโรงงาน : ราคาอ้อยเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสสูงกว่าตันละ 600 บาท
ผลผลิตอ้อยโรงงานของปี 2543/44 ที่จะเริ่มเก็บเกี่ยวเข้าหีบในโรงงานน้ำตาลประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 51.21 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.27 และคาดว่าจะผลิตเป็นน้ำตาลได้ประมาณ 5.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปริมาณ 5.51 ล้านตันในปีที่ผ่านมาลดลงประมาณร้อยละ 3.64 สาเหตุที่ผลผลิตอ้อยที่ลดลง เป็นผลมาจากการลดลงของพื้นที่ปลูกอ้อยและการลดลงของผลผลิตต่อไร่ โดยคาดว่าพื้นที่ปลูกอ้อยจะลดจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 2.38 เหลือ 5.51 ล้านไร่ ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าจะอยู่ระดับ 9.29 ตันต่อไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.93 เนื่องจากการที่ราคาอ้อยตกต่ำมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกอ้อยและหันไปปลูกพืชไร่อื่นทดแทนและมีการดูแลรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับความเสียหายจากโรคใบขาวและโรคหนอนกออ้อยที่ระบาดรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ รวมถึงบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น นครสวรรค์ ราชบุรี และกาญจนบุรี
จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกที่ขยับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอดจนอยู่ในระดับ 10 - 11 เซ็นต์ต่อปอนด์หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ กิโลกรัมละ 9 - 10 บาท เนื่องจากได้มีการคาดหมายว่าผลผลิตน้ำตาลของโลกในปี 2543/44 จะต่ำกว่าปริมาณการบริโภคเป็นปีแรกหลังจากที่ผลิตได้มากกว่าการบริโภคมาเป็นระยะเวลา 6 ปี ซึ่งเป็นผลจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายสำคัญของโลกผลิตน้ำตาลได้ลดลง เช่น บราซิล และออสเตรเลียพื้นที่ปลูกได้รับความเสียหายจากสภาวะอากาศ และการลดลงของพื้นที่ปลูกบีทและอ้อย ของสหภาพยุโรปและไทย เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตกต่ำมาในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
จากภาวะราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวและราคายังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ เมื่อประกอบกับค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐอเมริกาที่อ่อนตัวเกินกว่า 40 บาท อยู่ในขณะนี้ จะส่งผลราคาอ้อยขั้นต้น ที่เกษตรกรขายได้ของปี 2543/44 ซึ่งจะมีการประกาศใช้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ มีโอกาสที่จะสูงกว่า 600 บาทต่อตันได้ และโรงงานน้ำตาลก็จะได้รับผลตอบแทนจากการผลิตน้ำตาลสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาวะวิกฤติของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่มีภาระหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะต้องชำระคืนถึงกว่า 10,000 ล้านบาทอยู่ในขณะนี้
มันสำปะหลัง : ราคามันสำปะหลังในปีนี้ยังคงตกต่ำ
จากภาวะน้ำท่วมอันเนื่องมาจากอิทธิพลของพายุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัด หนองคาย ศรีสะเกษ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และลพบุรี เป็นต้น ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 จะลดลงจากเดิมที่ได้พยากรณ์ไว้ 18.34 ล้านตัน เหลือ 18.28 ล้านตันหัวมันสด โดยผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป และในเดือนพฤศจิกายนจะออกสู่ตลาดมากขึ้นจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลผลิตมันสำปะหลังของไทยจะลดลง แต่คาดว่าเกษตรกรจะยังประสบกับปัญหาราคาตกต่ำเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากคาดว่าผลผลิตจะมากเกินกว่าความต้องการของตลาดถึง 2.712 ล้านตันหัวมันสด ประกอบกับสภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทย ผลิตธัญพืชได้เพิ่มขึ้น และผลผลิตของข้าวสาลีบางส่วนประสบกับความเสียหาย ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งจะมีการลดราคาประกันธัญพืชลงร้อยละ 7.5 ตามนโยบายเกษตรร่วมตาม Agenda 2000 ส่งผลให้ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้ามันอัดเม็ดที่ตลาดรอตเตอร์ดัม ส่งมอบในเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2544 มีราคาลดลงเหลือตันละ165-170 ดอยซ์มาร์ค เมื่อทอนเป็นราคาส่งออก F.O.B. กรุงเทพฯ ตกราคาตันละ 46-48 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นราคาหัวมันสดกิโลกรัมละ 0.50-0.55 บาท ณ ลานมันและโรงแป้ง
ช่วยเหลือเกษตรกร : ความก้าวหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ดีเซลที่สูงขึ้น
ความเดิม
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 ได้อนุมัติมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอขอใช้เงินจาก คชก. ซึ่งที่ประชุมได้อนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ในวงเงิน 756 ล้านบาท เป็นค่าชดเชยน้ำมันดีเซลให้กับเกษตรกร และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารให้กับ ธกส. อีก 12.6 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2543 โดยมีวิธีการดังนี้
- เกษตรกรที่ได้รับการชดเชยจะต้องเป็นสมาชิกสถาบัน หรืองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด ลูกค้า ธ.ก.ส. จำกัด (สกต.) และกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิตด้านพืช ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ยกเว้นสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรด้านประมงทะเล ที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว) ถ้าเกษตรกรไม่เป็นสมาชิกต้องสมัครเป็นสมาชิกของสถาบันหรือองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลใดก่อน ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2543
- อัตราค่าชดเชยน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท เฉลี่ย 15 ลิตรต่อเดือน ระยะเวลา 3 เดือน ถ้าใช้ไม่หมดแต่ละเดือนนำมาสะสมได้สูงสุดไม่เกินครัวเรือนละ 45 ลิตร เป็นเงิน 135 บาท
- ระยะเวลาเริ่มเติมน้ำมันที่สถานีบริการตั้งแต่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2543
- ระยะเวลาเบิกจ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึง 31 มกราคม 2544
ความก้าวหน้า
- การขยายเวลาแจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ
เนื่องจากการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในเรื่องนี้มีระยะเวลาสั้น ทำให้เกษตรกรไม่ทราบถึงมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวอย่างทั่วถึง ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน เห็นสมควรที่จะขอขยายเวลาให้เกษตรกรมาแจ้งความจำนงเพื่อเข้าร่วมโครงการไปจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2543 โดย ธ.ก.ส. ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมแจ้งและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคแล้ว
- การเบิกจ่ายเงินจากกรมบัญชีกลาง
จากมติ คชก. ที่อนุมัติวงเงินตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น จำนวน 756 ล้านบาท ดังกล่าวนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนการใช้เงินและทำข้อตกลงระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ธ.ก.ส. ซึ่งคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายเงินจากกรมบัญชีกลาง และโอนเข้าบัญชี ธ.ก.ส. ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
ข้าวนาปรัง : คาดคะเนปริมาณปุ๋ยที่ควรใช้ในการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2544
จากการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตข้าวของเกษตรกรในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีเพาะปลูก 2539/40 ของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สามารถคาดคะเนและประมาณว่าในช่วงการผลิตข้าวนาปรัง ปี 2544 เมื่อราคาข้าวอยู่ที่ระดับ 3,700 บาทต่อตัน ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ราคา 6,600 บาทต่อตัน ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ราคา 6,300 บาทต่อตัน ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ราคา 6,600 บาทต่อตัน
ในพื้นที่ภาคกลาง ระดับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมของเกษตรกร คือ ควรใช้ปุ๋ยยูเรีย ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 16-20-0 ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าไม่เกิดปัญหาอื่น ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ เกษตรกรควรจะได้ผลผลิตประมาณ 814 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,010 บาทต่อไร่ มีต้นทุนการใช้ปัจจัย ปริมาณ 1,710 บาทต่อไร่ รายได้เหนือต้นทุนการใช้ปัจจัยประมาณ 1,300 บาทต่อไร่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมของเกษตรกร คือควรใช้ปุ๋ยยูเรียในอัตราประมาณ 14 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 16-16-8 18 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตประมาณ 716 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,650 บาทต่อไร่ มีต้นทุนการใช้ปัจจัย 1,690 บาทต่อไร่ รายได้เหนือต้นทุนการใช้ปัจจัย 960 บาทต่อไร่
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 41 ประจำวันที่ 16-22 ต.ค. 2543--
-สส-