กรุงเทพฯ--14 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (13 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ที่มีเขตอาณาครอบคลุมถึงจอร์แดนว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2543 แรงงานไทยจำนวน 7 คน ที่เดินทางไปทำงานที่บริษัททำเครื่องประดับแห่งหนึ่งที่กรุงอัมมาน จอร์แดน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 ได้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดดว่า นายจ้างชาวจอร์แดนได้ว่าจ้างพวกตน โดยตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะให้ค่าจ้างเดือนละ 800 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับที่พักให้ โดยมีระยะเวลาจ้าง 2 ปี แต่เมื่อทำงานได้ 1 เดือน นายจ้างชาวจอร์แดนกลับไม่ได้ให้ค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้ความเป็นอยู่ก็ลำบาก สภาพการทำงานไม่ดี และเมื่อพวกตนประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย นายจ้างชาวจอร์แดนก็ไม่ยอมคืนหนังสือเดินทางให้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดดจึงได้ประสานงานกับนาย Zuhair Asfour กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำกรุงอัมมานเพื่อให้ความช่วยเหลือในขั้นต้น ซึ่งต่อมาในเดือนสิงหาคม 2543 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่กงสุลเดินทางไปร่วมกับนาย Asfour ประสานงานกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยจอร์แดน และเจรจากับนายจ้างชาวจอร์แดนเป็นผลสำเร็จ โดยแรงงานไทยขอเดินทางกลับจำนวน 2 คน ส่วนอีก 5 คน ได้ประนีประนอมกับนายจ้างเพื่อทำงานและได้รับค่าจ้างตามข้อตกลงใหม่ต่อไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศพบปัญหาว่า แรงงานไทยปัจจุบัน ซึ่งเดินทางไปทำงานในจอร์แดนมักจะไปอย่างไม่ถูกต้องคือ ไม่ผ่านกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของไทย ไม่มีการตรวจสอบสัญญาจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานจอร์แดนก่อน เพียงแต่ตกลงเงื่อนไขต่างๆ ด้วยวาจา แม้จะมีหนังสือรับรองจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยที่กรุงอัมมานเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิใช่สัญญาจ้าง นอกจากนี้เมื่อเดินทางถึงจอร์แดนในฐานะนักท่องเที่ยวก็เริ่มทำงานเลย โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมาย ทำให้มี จุดอ่อนให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบและละเมิดข้อตกลง เช่น จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงไว้ ไม่จัด สวัสดิการให้ ตลอดจนข่มขู่ที่จะแจ้งตำรวจจับฐานทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน แม้นายจ้างจะดำเนินการเปลี่ยนสถานะจากนักท่องเที่ยวให้เป็นแรงงานโดยมีใบอนุญาตทำงาน แต่แรงงานไทยก็จะขาดอำนาจต่อรองในสัญญาจ้างดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศโปรดติดต่อสอบถามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทที่จะไปทำงานในต่างประเทศด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (13 กันยายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด ที่มีเขตอาณาครอบคลุมถึงจอร์แดนว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2543 แรงงานไทยจำนวน 7 คน ที่เดินทางไปทำงานที่บริษัททำเครื่องประดับแห่งหนึ่งที่กรุงอัมมาน จอร์แดน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2543 ได้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดดว่า นายจ้างชาวจอร์แดนได้ว่าจ้างพวกตน โดยตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะให้ค่าจ้างเดือนละ 800 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับที่พักให้ โดยมีระยะเวลาจ้าง 2 ปี แต่เมื่อทำงานได้ 1 เดือน นายจ้างชาวจอร์แดนกลับไม่ได้ให้ค่าจ้างตามที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้ความเป็นอยู่ก็ลำบาก สภาพการทำงานไม่ดี และเมื่อพวกตนประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย นายจ้างชาวจอร์แดนก็ไม่ยอมคืนหนังสือเดินทางให้
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดดจึงได้ประสานงานกับนาย Zuhair Asfour กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำกรุงอัมมานเพื่อให้ความช่วยเหลือในขั้นต้น ซึ่งต่อมาในเดือนสิงหาคม 2543 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่กงสุลเดินทางไปร่วมกับนาย Asfour ประสานงานกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยจอร์แดน และเจรจากับนายจ้างชาวจอร์แดนเป็นผลสำเร็จ โดยแรงงานไทยขอเดินทางกลับจำนวน 2 คน ส่วนอีก 5 คน ได้ประนีประนอมกับนายจ้างเพื่อทำงานและได้รับค่าจ้างตามข้อตกลงใหม่ต่อไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศพบปัญหาว่า แรงงานไทยปัจจุบัน ซึ่งเดินทางไปทำงานในจอร์แดนมักจะไปอย่างไม่ถูกต้องคือ ไม่ผ่านกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของไทย ไม่มีการตรวจสอบสัญญาจ้างให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานจอร์แดนก่อน เพียงแต่ตกลงเงื่อนไขต่างๆ ด้วยวาจา แม้จะมีหนังสือรับรองจากสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยที่กรุงอัมมานเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิใช่สัญญาจ้าง นอกจากนี้เมื่อเดินทางถึงจอร์แดนในฐานะนักท่องเที่ยวก็เริ่มทำงานเลย โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมาย ทำให้มี จุดอ่อนให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบและละเมิดข้อตกลง เช่น จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงไว้ ไม่จัด สวัสดิการให้ ตลอดจนข่มขู่ที่จะแจ้งตำรวจจับฐานทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน แม้นายจ้างจะดำเนินการเปลี่ยนสถานะจากนักท่องเที่ยวให้เป็นแรงงานโดยมีใบอนุญาตทำงาน แต่แรงงานไทยก็จะขาดอำนาจต่อรองในสัญญาจ้างดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศโปรดติดต่อสอบถามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รวมทั้งตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทที่จะไปทำงานในต่างประเทศด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-