กรุงเทพ--25 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2548 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือกับนาย Gianfranco Fini รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิตาลี และนาง Stefania Prestigiacomo รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงความเท่าเทียมทางโอกาสและกิจการด้านสังคมอิตาลี ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นาย Fini ได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลและประชาชนไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ที่เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์
2. รัฐบาลอิตาลีพร้อมที่จะเข้าร่วมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับคณะทำงานด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของไทย โดยจะส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมอิตาลีเข้ามาร่วมด้วย และรัฐบาลอิตาลีจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสและ/หรือระดับผู้เชี่ยวชาญรวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลีเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ในวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต ด้วย
3. นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียินดีที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้า โดยเป็นการขยายขอบเขตหน้าที่ของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
4. สำหรับการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลอิตาลีต่อพื้นที่ที่ประสบภับพิบัติในประเทศไทยนั้น ฝ่ายอิตาลีแสดงความสนใจในเรื่องการให้ช่วยเหลือโดยการสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล หรือหมู่บ้านที่พักอาศัย ซึ่งเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการแสดงความชอบคุณต่อไมตรีจิตของประชาชนชาวไทยโดยตรงด้วย
5. นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าสำหรับการประชุมรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต นั้น มีประเด็นสำคัญ คือ
5.1 การประชุมดังกล่าว จะต้องมีความเห็นร่วมกันเป็นรูปธรรม และจะมีการพิจารณาในรายละเอียดในเรื่องต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์กลางการเตือนภัยระดับภูมิภาคในประเทศไทย และระดับอนุภูมิภาค เช่น ในเอเชียใต้ และแอฟริกาใต้ รวมถึงศูนย์ในประเทศที่อยู่รอบๆ มหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นต้น
5.2 การจัดตั้ง Voluntary Trust Fund ซึ่งเป็นการจัดตั้งโดยความสมัครใจ ทั้งนี้ ประเทศไทยประกาศจะบริจาคเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 400 ล้านบาท เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยพร้อมที่จะดำเนินการด้านการสร้างความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่คนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
5.3 นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทางโทรศัพท์กับนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการ สหประชาชาติ 2 ครั้ง ซึ่งนายโคฟี่ แจ้งว่าได้ให้ความสำคัญกับการประชุมดังกล่าวในวันที่ 29 มกราคม ศกนี้ เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุมสุดยอดผู้นำแอฟริกา อย่างไรก็ตาม นายโคฟี่ กำลังพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะเข้าร่วมการประชุมทั้งสองการประชุมได้ และเห็นว่าสิ่งที่ไทยกำลังริเริ่มดำเนินการนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเห็นด้วยกับข้อคิดของไทยเรื่องการเชื่อมโยง Voluntary Trust Fund กับสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2548 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการหารือกับนาย Gianfranco Fini รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิตาลี และนาง Stefania Prestigiacomo รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงความเท่าเทียมทางโอกาสและกิจการด้านสังคมอิตาลี ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นาย Fini ได้กล่าวแสดงความขอบคุณรัฐบาลและประชาชนไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ที่เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์
2. รัฐบาลอิตาลีพร้อมที่จะเข้าร่วมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับคณะทำงานด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของไทย โดยจะส่งเจ้าหน้าที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมอิตาลีเข้ามาร่วมด้วย และรัฐบาลอิตาลีจะส่งเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสและ/หรือระดับผู้เชี่ยวชาญรวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลีเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ในวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต ด้วย
3. นอกจากนี้ รัฐบาลอิตาลียินดีที่จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ในเรื่องระบบการเตือนภัยล่วงหน้า โดยเป็นการขยายขอบเขตหน้าที่ของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
4. สำหรับการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลอิตาลีต่อพื้นที่ที่ประสบภับพิบัติในประเทศไทยนั้น ฝ่ายอิตาลีแสดงความสนใจในเรื่องการให้ช่วยเหลือโดยการสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล หรือหมู่บ้านที่พักอาศัย ซึ่งเห็นว่าการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการแสดงความชอบคุณต่อไมตรีจิตของประชาชนชาวไทยโดยตรงด้วย
5. นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าสำหรับการประชุมรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต นั้น มีประเด็นสำคัญ คือ
5.1 การประชุมดังกล่าว จะต้องมีความเห็นร่วมกันเป็นรูปธรรม และจะมีการพิจารณาในรายละเอียดในเรื่องต่างๆ อาทิ การจัดตั้งศูนย์กลางการเตือนภัยระดับภูมิภาคในประเทศไทย และระดับอนุภูมิภาค เช่น ในเอเชียใต้ และแอฟริกาใต้ รวมถึงศูนย์ในประเทศที่อยู่รอบๆ มหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นต้น
5.2 การจัดตั้ง Voluntary Trust Fund ซึ่งเป็นการจัดตั้งโดยความสมัครใจ ทั้งนี้ ประเทศไทยประกาศจะบริจาคเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 400 ล้านบาท เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าไทยพร้อมที่จะดำเนินการด้านการสร้างความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่คนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
5.3 นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทางโทรศัพท์กับนายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการ สหประชาชาติ 2 ครั้ง ซึ่งนายโคฟี่ แจ้งว่าได้ให้ความสำคัญกับการประชุมดังกล่าวในวันที่ 29 มกราคม ศกนี้ เป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุมสุดยอดผู้นำแอฟริกา อย่างไรก็ตาม นายโคฟี่ กำลังพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะเข้าร่วมการประชุมทั้งสองการประชุมได้ และเห็นว่าสิ่งที่ไทยกำลังริเริ่มดำเนินการนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเห็นด้วยกับข้อคิดของไทยเรื่องการเชื่อมโยง Voluntary Trust Fund กับสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-