กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (31 พฤษภาคม 2543 ) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การประชุม ASEAN-US Dialogue ครั้งที่ 15 ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเศรษฐกิจของอาเซียนและเอเชียกำลังฟื้นตัว แต่ยังเห็นความสำคัญของการเร่งปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเงินต่อไป พร้อมทั้งความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวรองรับกับรูปแบบใหม่ของธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มภูมิภาค ซึ่งสหรัฐฯ ได้เน้นว่าจะยังคงเปิดตลาดของตนเพื่อช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียน และอาเซียนได้ขอให้สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ วิชาการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่อาเซียนรวมทั้งการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนด้วย
ภาคเอกชนอาเซียนได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกข้อกีดกันและแก้ไขอุปสรรคที่มีต่อการ ส่งออกสินค้าของอาเซียนไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ กุ้ง ไม้เมืองร้อนถุงมือยางธรรมชาติ ข้อกำหนดเรื่องฉลากสินค้า ต้นกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า พร้อมทั้งขอไม่ให้สหรัฐฯ ส่ง สินค้าที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ไม่ปลอดภัยมายังตลาดอาเซียน และให้ห้ามการจดทะเบียนสิทธิบัตรสินค้าชีวภาพที่ไม่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนขอให้เพิ่มความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่อาเซียนให้มากขึ้น รวมทั้ง การสร้างพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดตั้งกองทุนลงทุนร่วม และการร่วมพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนภาคเอกชนของสหรัฐฯ ได้ขอให้ฝ่ายอาเซียนเร่งดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบรรลุเป้าหมายตามกำหนด โดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ให้ปรับปรุงมาตรฐานและประสิทธิภาพของระบบศุลกากร และเรียกร้องให้อาเซียนเปิดเสรีด้านการบริการด้านอากาศ
2. ความร่วมมือในกรอบ WTO สหรัฐฯ ได้แสดงความหวังว่าจะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้ และเน้นเรื่องความโปร่งใสและความเห็นพ้องต้องกัน อาเซียนได้เน้นถึงท่าทีของอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาต่อประเด็นต่าง ๆ ในกรอบ WTO และสนับสนุนให้จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ตลอดจนขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนการสมัครของกัมพูชา ลาว และเวียดนามด้วย
3. ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ ได้เน้นถึงความช่วยเหลือที่ให้แก่อาเซียนและเอเชียในการพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน การรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง และการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซที่ทำลายโอโซน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้มีความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร ป่าไม้ การพัฒนาชนบท และการขจัดความยากจนระหว่างกัน โดยตกลงที่จะจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนในเรื่องนี้ระหว่างกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ กับสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป
4. ปัญหาข้ามชาติ สหรัฐฯ ยังได้เรียกร้องให้อาเซียนร่วมมือแก้ไขปัญหาข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด การค้า สตรีและเด็ก การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก โจรสลัด การฟอกเงิน โรคเอดส์ ตลอดจนอาชญากรรมอินเตอร์เน็ต และได้กล่าวถึงความสำเร็จของสถาบันอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย (International Law Enforcement Academy - ILEA) ในกรุงเทพฯ ที่สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือจัดตั้งขึ้น ในเรื่องนี้ อาเซียนได้ชี้แจงถึงการดำเนินการที่จะให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด และการออก แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาข้ามชาติ รวมทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติ (ASEAN Centre for Combating Transnational Crime) ที่กรุงมะนิลา ซึ่งสหรัฐฯ ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการวางระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล
5. ความมั่นคงในภูมิภาค สหรัฐฯ ได้แสดงความพอใจต่อการเตรียมเจรจาระหว่างผู้นำเกาหลีสองฝ่าย แต่ก็แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ พอใจที่อาเซียนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือติมอร์ตะวันออก และยินดีต่อการแต่งตั้งนาย Razali Ismail ชาวมาเลเซียเป็นผู้แทนพิเศษของ UN ในการเจรจาติดต่อกับทางการพม่า ซึ่งในเรื่องเหล่านี้อาเซียนชี้ให้เห็นประโยชน์และบทบาทของอาเซียนในที่ประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ARF)
6. ความร่วมมือภาคเอกชน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้เสนอให้มีการประชุมระหว่างภาคเอกชนหรือภาควิชาการควบคู่ไปกับการประชุมภาครัฐในช่วงการประชุม ASEAN-US Dialogue และให้พิจารณาจัดประชุมกับผู้แทนระดับมลรัฐของสหรัฐฯ โดยเห็นว่ามีศักยภาพที่จะให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่อาเซียนได้หลายเรื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (31 พฤษภาคม 2543 ) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การประชุม ASEAN-US Dialogue ครั้งที่ 15 ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผลการหารือสรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเศรษฐกิจของอาเซียนและเอเชียกำลังฟื้นตัว แต่ยังเห็นความสำคัญของการเร่งปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเงินต่อไป พร้อมทั้งความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวรองรับกับรูปแบบใหม่ของธุรกิจยุคโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มภูมิภาค ซึ่งสหรัฐฯ ได้เน้นว่าจะยังคงเปิดตลาดของตนเพื่อช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียน และอาเซียนได้ขอให้สหรัฐฯ เพิ่มความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ วิชาการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่อาเซียนรวมทั้งการช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนด้วย
ภาคเอกชนอาเซียนได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกข้อกีดกันและแก้ไขอุปสรรคที่มีต่อการ ส่งออกสินค้าของอาเซียนไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ กุ้ง ไม้เมืองร้อนถุงมือยางธรรมชาติ ข้อกำหนดเรื่องฉลากสินค้า ต้นกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า พร้อมทั้งขอไม่ให้สหรัฐฯ ส่ง สินค้าที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ไม่ปลอดภัยมายังตลาดอาเซียน และให้ห้ามการจดทะเบียนสิทธิบัตรสินค้าชีวภาพที่ไม่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนขอให้เพิ่มความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่อาเซียนให้มากขึ้น รวมทั้ง การสร้างพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดตั้งกองทุนลงทุนร่วม และการร่วมพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนภาคเอกชนของสหรัฐฯ ได้ขอให้ฝ่ายอาเซียนเร่งดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบรรลุเป้าหมายตามกำหนด โดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ให้ปรับปรุงมาตรฐานและประสิทธิภาพของระบบศุลกากร และเรียกร้องให้อาเซียนเปิดเสรีด้านการบริการด้านอากาศ
2. ความร่วมมือในกรอบ WTO สหรัฐฯ ได้แสดงความหวังว่าจะมีการเปิดการเจรจารอบใหม่ขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้ และเน้นเรื่องความโปร่งใสและความเห็นพ้องต้องกัน อาเซียนได้เน้นถึงท่าทีของอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาต่อประเด็นต่าง ๆ ในกรอบ WTO และสนับสนุนให้จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ตลอดจนขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนการสมัครของกัมพูชา ลาว และเวียดนามด้วย
3. ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม สหรัฐฯ ได้เน้นถึงความช่วยเหลือที่ให้แก่อาเซียนและเอเชียในการพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน การรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง และการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซที่ทำลายโอโซน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้มีความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร ป่าไม้ การพัฒนาชนบท และการขจัดความยากจนระหว่างกัน โดยตกลงที่จะจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนในเรื่องนี้ระหว่างกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ กับสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป
4. ปัญหาข้ามชาติ สหรัฐฯ ยังได้เรียกร้องให้อาเซียนร่วมมือแก้ไขปัญหาข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด การค้า สตรีและเด็ก การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก โจรสลัด การฟอกเงิน โรคเอดส์ ตลอดจนอาชญากรรมอินเตอร์เน็ต และได้กล่าวถึงความสำเร็จของสถาบันอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมาย (International Law Enforcement Academy - ILEA) ในกรุงเทพฯ ที่สหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือจัดตั้งขึ้น ในเรื่องนี้ อาเซียนได้ชี้แจงถึงการดำเนินการที่จะให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติด และการออก แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาข้ามชาติ รวมทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านอาชญากรรม ข้ามชาติ (ASEAN Centre for Combating Transnational Crime) ที่กรุงมะนิลา ซึ่งสหรัฐฯ ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการวางระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล
5. ความมั่นคงในภูมิภาค สหรัฐฯ ได้แสดงความพอใจต่อการเตรียมเจรจาระหว่างผู้นำเกาหลีสองฝ่าย แต่ก็แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ สหรัฐฯ พอใจที่อาเซียนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือติมอร์ตะวันออก และยินดีต่อการแต่งตั้งนาย Razali Ismail ชาวมาเลเซียเป็นผู้แทนพิเศษของ UN ในการเจรจาติดต่อกับทางการพม่า ซึ่งในเรื่องเหล่านี้อาเซียนชี้ให้เห็นประโยชน์และบทบาทของอาเซียนในที่ประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ARF)
6. ความร่วมมือภาคเอกชน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังได้เสนอให้มีการประชุมระหว่างภาคเอกชนหรือภาควิชาการควบคู่ไปกับการประชุมภาครัฐในช่วงการประชุม ASEAN-US Dialogue และให้พิจารณาจัดประชุมกับผู้แทนระดับมลรัฐของสหรัฐฯ โดยเห็นว่ามีศักยภาพที่จะให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่อาเซียนได้หลายเรื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-