สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 (ตค.2543-กย.2544) คาดว่าจะมีปริมาณค่อนข้างมากซึ่งใกล้เคียงกับปีนี้ คือประมาณ 18-19 ล้านตันหัวมันสด และคาดว่าราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ในปี 2544 จะตกต่ำเช่นเดียวกับปีนี้ อันเป็นผลสืบเนื่องจาก นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรปตาม Agenda 2000 ที่จะลดราคาประกันธัญพืชทุกชนิดลงในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ระหว่างปี 2543/44-2544/45 ส่งผลให้ราคาส่งออกมันอัดเม็ดมีแนวโน้มลดลงเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับธัญพืชภายในของ สหภาพยุโรปได้
จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามการใช้มันสำปะหลังจากเกษตรกรและโรงงานอาหารสัตว์ พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำลงได้ รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ผลการติดตามพอสรุปได้ดังนี้
1.คุณภาพมันเส้น มันอัดเม็ด มันเส้นที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ต้องมีคุณภาพดี มีแป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2. โครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ โดย รศ.อุทัย คันโธ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการติดตามข้อมูลในโครงการฯ ดังกล่าวปรากฎว่า
1) การใช้มันเส้นเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เมื่อปรับโปรตีนโดยการเพิ่มกากถั่วเหลืองหรืออื่น ๆ ให้สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มโปรตีนสังเคราะห์ให้เหมาะสมในแต่ละชนิดของสัตว์ ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และคุณภาพของซากไม่แตกต่างจากการใช้ข้าวโพดและปลายข้าว
2) ทัศนคติของบุคคลบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้าสัตว์ ฯลฯ ยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้มันสำปะหลังว่าจะทำให้คุณภาพของซากต่ำ เป็นต้น แนวทางการดำเนินงาน
เพื่อเร่งให้มีการขยายการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น ควรดำเนินการดังนี้
1) เผยแพร่ผลการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
2) เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้กว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น
3) ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ รวมทั้งเอกชน ได้แก่ ลานมันเส้น จัดทำโครงการส่งเสริมการทำมันเส้นให้สะอาด
4) ปรับปรุงประกาศมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อ ส่งออกให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งเปอร์เซ็นต์ แป้ง เส้นใย และสิ่งเจือปนผลประโยชน์ที่จะได้รับ
1. การใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 0.4-0.5 ล้านตันมันเส้น เป็นปีละ 1-2 ล้านตันมันเส้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศลงได้
2. การส่งออกมันเส้นที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดจะขยายปริมาณได้มากขึ้น
3. การใช้มันเส้นที่มีคุณภาพเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะช่วยลดปัญหาการเกิดอัลฟาทอกซินในอาหารสัตว์ ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 0.68บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 1.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.40 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคาขายส่งมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งมันอัดเม็ด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.08 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชนิดดี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ โอ บี ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ ดังนี้
ราคามันอัดเม็ด เฉลี่ยตันละ 58.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 2,271.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30.00 บาท
ราคาแป้งมันสำปะหลัง เฉลี่ยตันละ 165.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,406.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาท ตันละ 85.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค. 2543--
-สส-
จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการติดตามการใช้มันสำปะหลังจากเกษตรกรและโรงงานอาหารสัตว์ พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำลงได้ รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ผลการติดตามพอสรุปได้ดังนี้
1.คุณภาพมันเส้น มันอัดเม็ด มันเส้นที่จะใช้เลี้ยงสัตว์ต้องมีคุณภาพดี มีแป้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2. โครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ โดย รศ.อุทัย คันโธ หัวหน้าศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการติดตามข้อมูลในโครงการฯ ดังกล่าวปรากฎว่า
1) การใช้มันเส้นเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์เมื่อปรับโปรตีนโดยการเพิ่มกากถั่วเหลืองหรืออื่น ๆ ให้สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มโปรตีนสังเคราะห์ให้เหมาะสมในแต่ละชนิดของสัตว์ ซึ่งจะทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และคุณภาพของซากไม่แตกต่างจากการใช้ข้าวโพดและปลายข้าว
2) ทัศนคติของบุคคลบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้าสัตว์ ฯลฯ ยังคงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้มันสำปะหลังว่าจะทำให้คุณภาพของซากต่ำ เป็นต้น แนวทางการดำเนินงาน
เพื่อเร่งให้มีการขยายการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น ควรดำเนินการดังนี้
1) เผยแพร่ผลการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ
2) เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้กว้างขวางและแพร่หลายยิ่งขึ้น
3) ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ รวมทั้งเอกชน ได้แก่ ลานมันเส้น จัดทำโครงการส่งเสริมการทำมันเส้นให้สะอาด
4) ปรับปรุงประกาศมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเพื่อ ส่งออกให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งเปอร์เซ็นต์ แป้ง เส้นใย และสิ่งเจือปนผลประโยชน์ที่จะได้รับ
1. การใช้มันสำปะหลังในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มมากขึ้นจากปีละ 0.4-0.5 ล้านตันมันเส้น เป็นปีละ 1-2 ล้านตันมันเส้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศลงได้
2. การส่งออกมันเส้นที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดจะขยายปริมาณได้มากขึ้น
3. การใช้มันเส้นที่มีคุณภาพเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะช่วยลดปัญหาการเกิดอัลฟาทอกซินในอาหารสัตว์ ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 0.68บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ราคากิโลกรัมละ 1.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.40 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ดังนี้
ราคาขายส่งมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งมันอัดเม็ด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.08 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชนิดดี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ โอ บี ประจำสัปดาห์นี้ สรุปได้ ดังนี้
ราคามันอัดเม็ด เฉลี่ยตันละ 58.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 2,271.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30.00 บาท
ราคาแป้งมันสำปะหลัง เฉลี่ยตันละ 165.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 6,406.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาท ตันละ 85.00 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค. 2543--
-สส-