1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ผลผลิตโลกมีมากคาดว่าจะกระทบราคาภายใน
กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ คาดคะเนผลผลิตข้าวโพดโลก ปี 2543/44 ประจำเดือนสิงหาคม 2543 ว่าจะมีผลผลิตทั้งสิ้น 612.97 ล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 605.35 ล้านตันของผลผลิตปีก่อนร้อยละ 1.26 เนื่องจากสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและคาดว่าจะผลิตได้มากถึง 263.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 239.72 ล้านตัน ของปีก่อนร้อยละ 9.87 ประเทศอื่น ๆ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา ประชาคมยุโรป คาดว่าจะผลิตได้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับสถานการณ์การผลิตในประเทศ ขณะนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่น 1 ปี 2543/44 ซึ่งเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดพร้อม ๆ กันคราวละมาก ๆ และข้าวโพดมักจะมีความชื้นสูงเกษตรกรจึงได้รับราคาต่ำ เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาตกต่ำ รัฐบาลจึงมีมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดด้วยวิธีรับจำนำ 5 แสนตัน ให้หน่วยงานของรัฐ ฯ ได้แก่ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ดำเนินการ โดยราคารับจำนำข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14.5 % ณ หน้าไซโลกิโลกรัมละ 4.10 บาท และที่ไร่นาเกษตรกรกิโลกรัมละ 3.90 บาท ระยะเวลาโครงการเริ่มเดือนสิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544 สำหรับราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นไม่เกิน 14.5 % เดือนสิงหาคมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 3.89 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 7.46
จากการที่สต็อกคงเหลือปีที่แล้วมีมากและเมื่อรวมกับผลผลิตโลกแล้วคาดว่าราคาข้าวโพดในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงจากปีก่อนและจะส่งผลต่อราคาภายในประเทศ ให้ลดต่ำลงอีก เนื่องจากโรงงานอาหารสัตว์จะกำหนดราคารับซื้อจากราคาตลาดโลกเป็นเกณฑ์ แม้ว่ารัฐ ฯ มีมาตรการรับจำนำช่วยเหลือเกษตรกรแล้วก็ตาม แต่ปริมาณที่รับจำนำมีน้อยมากเพียงประมาณร้อยละ 11 ของผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น เพื่อเป็นการพยุงราคาไม่ให้ราคาต่ำลง กระทรวงพาณิชย์ควรเร่งดำเนินการรับจำนำข้าวโพดให้ทันกับความต้องการของเกษตรกรและน่าจะพิจารณาขยายปริมาณรับจำนำข้าวโพดมากขึ้น รวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ในการรักษาระดับราคาในประเทศในขณะเดียวกันเกษตรกรที่สามารถรอราคาได้ควรจะชะลอการเก็บเกี่ยวและปรับปรุงให้ข้าวโพดมีคุณภาพดี 2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ผลไม้พันธุ์ดี : ผลไม้พันธุ์ดีของไทยลักลอบปลูกในเวียดนามจำนวนมาก
จากการศึกษาการตลาดทุเรียนของประเทศเวียดนาม ภายใต้โครงการศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ในช่วงระหว่างวันที่ 13-18 สิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าปัจจุบันประเทศเวียดนามนิยมรับประทานผลไม้ไทยและมีการปลูกผลไม้ไทยพันธุ์ดีชนิดต่าง ๆ กันมาก เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี เงาะพันธุ์โรงเรียน มะม่วงพันธุ์ดีต่าง ๆ ( เช่น น้ำดอกไม้ เขียวเสวย ฟ้าลั่น และแรด ) ลองกองและอื่น ๆ โดยมีการปลูกทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ร้อยละ 75 ของทั้งหมด และมีแนวโน้มปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก
1.สามารถปลูกผลไม้ไทยได้ดี มีรสชาดใกล้เคียงกับผลไม้ที่ปลูกในไทย มีแหล่งปลูกใกล้นครโฮจิมินห์ ได้แก่ จังหวัดเตียงยาง ดองนาย เทนิน โดยเฉพาะตำบลซวนล็อก ในจังหวัดเตียงยาง มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินคล้ายคลึงกับจังหวัดจันทบุรีมาก
2. ในนครโฮจิมินห์ ราคาผลไม้ไทยค่อนข้างสูง ราคาทุเรียนพันธุ์หมอนทองไทยที่ขายในนครโฮจิมินห์ กิโลกรัมละประมาณ 80 บาท มังคุดไทยกิโลกรัมละ 103 บาท มะม่วง (พันธุ์ฟ้าลั่น) กิโลกรัมละ 96 บาท เป็นต้น เกษตรกรเวียดนามนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เงาะโรงเรียน มะม่วงไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการปลูกไม้ผลในนาแทนข้าวกันแล้ว เนื่องจากปัจจุบันรายได้จากปลูกข้าวค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับรายได้จากไม้ผล กล่าวคือ ถ้าทำนา 1 ปี (3 ครั้ง) มีรายได้ไร่ละ 2,624 บาท ในขณะที่ปลูกไม้ผล เช่น ลำไย มีรายได้ไร่ละ 9,840 บาท
3. แนวโน้มการปลูกทุเรียนหมอนทองเพิ่มขึ้นโดยตลอด มีแหล่งปลูกที่จังหวัด เตียงยาง จังหวัดวินลอง ในแม่โขงเดลต้า นอกจากนี้มีการปลูกทางเหนือนครโฮจิมินห์รอบทะเลสาบทริ อาง ในจังหวัดดองนาย รอบทะเลสาบเยาติง ในจังหวัดเทนิน และกำลังขยายไปบุกเบิกพื้นที่ใหม่ในจังหวัดบิน ฟุก ซึ่งอยู่ทางเหนือของจังหวัดดองนาย
แหล่งที่มาของพันธุ์ผลไม้ไทย
1. ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศไทย เช่น ต้นพันธุ์ทุเรียน จะมีการนำเข้าทางด่านต่าง ๆ โดยทางเรือและด้านติดประเทศกัมพูชา เรียงตามลำดับ คือ
1.1 ตำบลฮาติง จังหวัดเตียงยาง ซึ่งมีการนำเข้าด้านนี้มากที่สุด โดยชาวประมงไทยขายให้ชาวประมงเวียดนาม ในทะเลและชาวประมงเวียดนามนำเข้าทางด้านนี้
1.2 ด่านซามัค ตำบล แทนบิน จังหวัดเทนิน นำเข้าโดยรถบรรทุก
1.3 ด่านเบนเกา ตำบล โกเยา จังหวัดเทนิน นำเข้าโดยรถบรรทุก
2. ผลิตต้นพันธุ์เองโดยเนอสเซอรี่ในเวียดนาม ทั้งที่เป็นเนอสเซอรี่ของเอกชน และรัฐบาล เช่น ทุเรียนหมอนทอง มีการติดตา ทาบกิ่ง และเสียบกิ่ง ราคาขายต้นพันธุ์ ประมาณต้นละ 60-90 บาท โดยเนอสเซอรี่รายหนึ่งที่ได้ไปสัมภาษณ์ที่จังหวัดวินลองในแม่โขงเดลต้ามีการจำหน่ายกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองปีละ 20,000 ต้น และเนอสเซอรี่ของรัฐในตำบลวินล๊อก จังหวัดดองนาย สามารถจำหน่ายกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองได้ปีละ 20,000 กิ่ง เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการเปิดขายกิ่งพันธุ์ผลไม้ไทยโดยทั่วไปในแหล่งผลิต
ข้อคิดเห็น จากการที่เวียดนามนิยมปลูกผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน เงาะ มะม่วง ลองกอง ไทยกันมากขึ้น มีการลักลอบนำเข้าและผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลไทยได้เองและขายจำนวนมาก คาดว่าใน 5-6 ปีข้างหน้าจะมีพันธุ์ผลไม้ไทยที่ผลิตได้ในเวียดนามจำนวนมากขึ้น และเป็นไปได้ที่จะขายในตลาดคู่ค้าของไทยกลายเป็นคู่แข่งกับไทยได้ แม้ว่าเวียดนามก็มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ถือครองและเงินลงทุนในการขยายพื้นที่ใหม่ ๆ อยู่บ้าง แต่ประเทศไทยควรตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้างหน้า ขณะที่ปัจจุบันผลผลิตไม้ผลภายในประเทศก็มีปัญหาผลผลิตมากเกินความต้องการ ไม่สามารถระบายส่งออกหรือแปรรูปได้ทันในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ๆ ซึ่งหนทางหนึ่งที่ไทยควรเร่งดำเนินการคือ แปรรูปผลไม้ให้เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาการบรรจุหีบห่อและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ให้มากกว่าการขายในรูปผลไม้สดหรือแช่แข็ง โดยผลไม้สดควรต้องให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21 - 27 ส.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ผลผลิตโลกมีมากคาดว่าจะกระทบราคาภายใน
กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ คาดคะเนผลผลิตข้าวโพดโลก ปี 2543/44 ประจำเดือนสิงหาคม 2543 ว่าจะมีผลผลิตทั้งสิ้น 612.97 ล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 605.35 ล้านตันของผลผลิตปีก่อนร้อยละ 1.26 เนื่องจากสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและคาดว่าจะผลิตได้มากถึง 263.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 239.72 ล้านตัน ของปีก่อนร้อยละ 9.87 ประเทศอื่น ๆ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา ประชาคมยุโรป คาดว่าจะผลิตได้เพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับสถานการณ์การผลิตในประเทศ ขณะนี้เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่น 1 ปี 2543/44 ซึ่งเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดพร้อม ๆ กันคราวละมาก ๆ และข้าวโพดมักจะมีความชื้นสูงเกษตรกรจึงได้รับราคาต่ำ เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาตกต่ำ รัฐบาลจึงมีมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโพดด้วยวิธีรับจำนำ 5 แสนตัน ให้หน่วยงานของรัฐ ฯ ได้แก่ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ดำเนินการ โดยราคารับจำนำข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14.5 % ณ หน้าไซโลกิโลกรัมละ 4.10 บาท และที่ไร่นาเกษตรกรกิโลกรัมละ 3.90 บาท ระยะเวลาโครงการเริ่มเดือนสิงหาคม 2543 - มิถุนายน 2544 สำหรับราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นไม่เกิน 14.5 % เดือนสิงหาคมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 3.89 บาทของเดือนก่อนร้อยละ 7.46
จากการที่สต็อกคงเหลือปีที่แล้วมีมากและเมื่อรวมกับผลผลิตโลกแล้วคาดว่าราคาข้าวโพดในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงจากปีก่อนและจะส่งผลต่อราคาภายในประเทศ ให้ลดต่ำลงอีก เนื่องจากโรงงานอาหารสัตว์จะกำหนดราคารับซื้อจากราคาตลาดโลกเป็นเกณฑ์ แม้ว่ารัฐ ฯ มีมาตรการรับจำนำช่วยเหลือเกษตรกรแล้วก็ตาม แต่ปริมาณที่รับจำนำมีน้อยมากเพียงประมาณร้อยละ 11 ของผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น เพื่อเป็นการพยุงราคาไม่ให้ราคาต่ำลง กระทรวงพาณิชย์ควรเร่งดำเนินการรับจำนำข้าวโพดให้ทันกับความต้องการของเกษตรกรและน่าจะพิจารณาขยายปริมาณรับจำนำข้าวโพดมากขึ้น รวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ในการรักษาระดับราคาในประเทศในขณะเดียวกันเกษตรกรที่สามารถรอราคาได้ควรจะชะลอการเก็บเกี่ยวและปรับปรุงให้ข้าวโพดมีคุณภาพดี 2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ผลไม้พันธุ์ดี : ผลไม้พันธุ์ดีของไทยลักลอบปลูกในเวียดนามจำนวนมาก
จากการศึกษาการตลาดทุเรียนของประเทศเวียดนาม ภายใต้โครงการศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ในช่วงระหว่างวันที่ 13-18 สิงหาคม 2543 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าปัจจุบันประเทศเวียดนามนิยมรับประทานผลไม้ไทยและมีการปลูกผลไม้ไทยพันธุ์ดีชนิดต่าง ๆ กันมาก เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี เงาะพันธุ์โรงเรียน มะม่วงพันธุ์ดีต่าง ๆ ( เช่น น้ำดอกไม้ เขียวเสวย ฟ้าลั่น และแรด ) ลองกองและอื่น ๆ โดยมีการปลูกทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ร้อยละ 75 ของทั้งหมด และมีแนวโน้มปลูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก
1.สามารถปลูกผลไม้ไทยได้ดี มีรสชาดใกล้เคียงกับผลไม้ที่ปลูกในไทย มีแหล่งปลูกใกล้นครโฮจิมินห์ ได้แก่ จังหวัดเตียงยาง ดองนาย เทนิน โดยเฉพาะตำบลซวนล็อก ในจังหวัดเตียงยาง มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินคล้ายคลึงกับจังหวัดจันทบุรีมาก
2. ในนครโฮจิมินห์ ราคาผลไม้ไทยค่อนข้างสูง ราคาทุเรียนพันธุ์หมอนทองไทยที่ขายในนครโฮจิมินห์ กิโลกรัมละประมาณ 80 บาท มังคุดไทยกิโลกรัมละ 103 บาท มะม่วง (พันธุ์ฟ้าลั่น) กิโลกรัมละ 96 บาท เป็นต้น เกษตรกรเวียดนามนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เงาะโรงเรียน มะม่วงไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการปลูกไม้ผลในนาแทนข้าวกันแล้ว เนื่องจากปัจจุบันรายได้จากปลูกข้าวค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับรายได้จากไม้ผล กล่าวคือ ถ้าทำนา 1 ปี (3 ครั้ง) มีรายได้ไร่ละ 2,624 บาท ในขณะที่ปลูกไม้ผล เช่น ลำไย มีรายได้ไร่ละ 9,840 บาท
3. แนวโน้มการปลูกทุเรียนหมอนทองเพิ่มขึ้นโดยตลอด มีแหล่งปลูกที่จังหวัด เตียงยาง จังหวัดวินลอง ในแม่โขงเดลต้า นอกจากนี้มีการปลูกทางเหนือนครโฮจิมินห์รอบทะเลสาบทริ อาง ในจังหวัดดองนาย รอบทะเลสาบเยาติง ในจังหวัดเทนิน และกำลังขยายไปบุกเบิกพื้นที่ใหม่ในจังหวัดบิน ฟุก ซึ่งอยู่ทางเหนือของจังหวัดดองนาย
แหล่งที่มาของพันธุ์ผลไม้ไทย
1. ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศไทย เช่น ต้นพันธุ์ทุเรียน จะมีการนำเข้าทางด่านต่าง ๆ โดยทางเรือและด้านติดประเทศกัมพูชา เรียงตามลำดับ คือ
1.1 ตำบลฮาติง จังหวัดเตียงยาง ซึ่งมีการนำเข้าด้านนี้มากที่สุด โดยชาวประมงไทยขายให้ชาวประมงเวียดนาม ในทะเลและชาวประมงเวียดนามนำเข้าทางด้านนี้
1.2 ด่านซามัค ตำบล แทนบิน จังหวัดเทนิน นำเข้าโดยรถบรรทุก
1.3 ด่านเบนเกา ตำบล โกเยา จังหวัดเทนิน นำเข้าโดยรถบรรทุก
2. ผลิตต้นพันธุ์เองโดยเนอสเซอรี่ในเวียดนาม ทั้งที่เป็นเนอสเซอรี่ของเอกชน และรัฐบาล เช่น ทุเรียนหมอนทอง มีการติดตา ทาบกิ่ง และเสียบกิ่ง ราคาขายต้นพันธุ์ ประมาณต้นละ 60-90 บาท โดยเนอสเซอรี่รายหนึ่งที่ได้ไปสัมภาษณ์ที่จังหวัดวินลองในแม่โขงเดลต้ามีการจำหน่ายกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองปีละ 20,000 ต้น และเนอสเซอรี่ของรัฐในตำบลวินล๊อก จังหวัดดองนาย สามารถจำหน่ายกิ่งพันธุ์ทุเรียนหมอนทองได้ปีละ 20,000 กิ่ง เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการเปิดขายกิ่งพันธุ์ผลไม้ไทยโดยทั่วไปในแหล่งผลิต
ข้อคิดเห็น จากการที่เวียดนามนิยมปลูกผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียน เงาะ มะม่วง ลองกอง ไทยกันมากขึ้น มีการลักลอบนำเข้าและผลิตกิ่งพันธุ์ไม้ผลไทยได้เองและขายจำนวนมาก คาดว่าใน 5-6 ปีข้างหน้าจะมีพันธุ์ผลไม้ไทยที่ผลิตได้ในเวียดนามจำนวนมากขึ้น และเป็นไปได้ที่จะขายในตลาดคู่ค้าของไทยกลายเป็นคู่แข่งกับไทยได้ แม้ว่าเวียดนามก็มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ถือครองและเงินลงทุนในการขยายพื้นที่ใหม่ ๆ อยู่บ้าง แต่ประเทศไทยควรตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้างหน้า ขณะที่ปัจจุบันผลผลิตไม้ผลภายในประเทศก็มีปัญหาผลผลิตมากเกินความต้องการ ไม่สามารถระบายส่งออกหรือแปรรูปได้ทันในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ๆ ซึ่งหนทางหนึ่งที่ไทยควรเร่งดำเนินการคือ แปรรูปผลไม้ให้เป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาการบรรจุหีบห่อและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ให้มากกว่าการขายในรูปผลไม้สดหรือแช่แข็ง โดยผลไม้สดควรต้องให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21 - 27 ส.ค. 2543--
-สส-