ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เศรษฐกิจและการค้าของโลกมีการชะลอตัวลงมามาก สถาบันและหน่วยงานต่างๆ ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกและเศรษฐกิจไทยจากเป้าหมายเดิมลงมามาก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการปรับลดตัวเลขการคาดการณ์ลงมามาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่ภาคการผลิต การลงทุน การค้า และการจ้างงานยังอ่อนแอ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว และถูกซ้ำเติมด้วยผลจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบทันทีต่อธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (สายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร) และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ภาวะการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ของปี 25444 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ในปี 2544 จึงคาดกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวเล็กน้อย และเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะมีการหดตัว เศรษฐกิจกลุ่มสหภาพยุโรป แม้จะมีการพึ่งพาตลาดภายในกลุ่มมากกว่าการส่งออกไปภูมิภาคอื่น แต่ก็ต้องประสบกับภาวะการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก สำหรับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียและอาเซียน เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง ก็ต้องประสบกับปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมทั้งการส่งออกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ IT ลดลงไปมาก ทำให้ส่วนใหญ่ต้องปรับลดการประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจลง
ส่วนเศรษฐกิจไทยหลายฝ่ายได้ปรับลดการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ลง หลังจากได้มีการปรับลดมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ได้ประมาณการว่าในปี 2544 และ 2545 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.5 และ 1.6 ตามลำดับ แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2544 จะมีอัตราที่ต่ำกว่านี้ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานในช่วงกลางดือนกันยายนว่าในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวเท่ากับไตรมาสแรก คือร้อยละ 1.5 และคาดว่าในปี 2544 การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะอยู่ในระดับร้อยละ 2
ในภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังมีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดัชนีมีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีมีการปรับตัวลดลงและยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่ม ส่วนหมวดที่มีการผลิตลดลง คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดสิ่งทอ ในส่วนของดัชนีการผลิตและดัชนีการขนส่งสินค้าของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งคำนวณจากผลการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ดัชนีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการเก็บถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ สำหรับดัชนีการขนส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีการขนส่งสินค้าลดลง โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ
โดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2544 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการขยายตัวมีการชะลอลงไปในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ
สำหรับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีแนวโน้มทรงตัว จากการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้โดยเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 52.2 (55.3 หากไม่รวมสุรา) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (55.1 โดยเฉลี่ย และ 58.8 หากไม่รวมสุรา) โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการใช้กำลังการผลิตลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น
ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยดัชนีการบริโภคที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย แต่มีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้น โดยมีการเพิ่มขึ้นของการใช้กำลังไฟฟ้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์นั่งและมอเตอร์ไซค์ ส่วนการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ และเมื่อพิจารณาปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์พบว่า ยอดการจำหน่ายปรับตัวลดลง ส่วนปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีการสำรวจโดยสำนักต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า ความมั่นใจของผู้บริโภคในภาวะด้านเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสการหางานทำและรายได้ลดน้อยลง และผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น
ทางด้านราคาสินค้า ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทรงตัว ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 และลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลง การชะลอตัวของอุปสงค์ อีกทั้งประชาชนในประเทศไม่มีความตื่นตระหนกในการกักตุนสินค้า
ภาวะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เนื่องจากในไตรมาสนี้เป็นฤดูการเกษตร แต่การสำรวจภาวะการจ้างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราการว่างงานลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนข้อมูลจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแสดงว่าจำนวนผู้ประกันตนมีจำนวนเพิ่มขึ้น และจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างลดลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่คาดว่าปัญหาการว่างงานของผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในช่วง ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่ามีอัตราการส่งออกที่เพิ่มร้อยละ 2.13 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 10.58 ในส่วนดุลการค้าพบว่าในไตรมาสที่ 3 ยังคงมีมูลค่าเกินดุล 914.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่าการเกินดุลการค้ามีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 20 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการเกินดุลการค้าลดลงถึงร้อยละ 55.21 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ 10 อันดับแรกที่มีการขยายตัวของการส่งออกในไตรมาส 3 ของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว มีกุ้งสดแช่แข็งและแช่เย็น ยานพาหนะและอุปกรณ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ใน 10 รายการแรกมูลค่าการส่งออกต่างลดลงทั้งสิ้น โดยสินค้าในกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าลดลงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เม็ดพลาสติก และอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนตลาดการส่งออกหลักของไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกลดลงในทุกๆ ตลาด โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่มีอัตราการส่งออกลดลงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มอาเซียน และประเทศญี่ปุ่น จากสถานการณ์การค้าใน 9 เดือนแรก ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่สหรัฐฯ ถูกวินาศกรรม ทำให้หลายฝ่ายเริ่มปรับตัวเลขคาดการณ์การส่งออกปี 2544 อีกครั้ง ส่วนใหญ่คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 2544 ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 64,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงประมาณร้อยละ 8.1 โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 13 ส่วนซิตี้แบงก์ คาดการณ์ว่าการส่งออกในปีนี้จะลดลงร้อยละ 6-7 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะลดลง ร้อยละ 7-8
การลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2544 มีการลงทุนสุทธิที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และเดือนสิงหาคมมีการลงทุนสุทธิลดลงไปมาก อย่างไรก็ตามจากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82 โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม มีการลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในปริมาณมาก สำหรับในไตรมาสที่ 3 การลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมยังคงมีสัดส่วนในมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมอยู่ในหมวดเครื่องจักรกลและเคมีภัณฑ์ รองลงมาได้แก่ สาขาการค้า อสังหาริมทรัพย์ และบริการ ประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม คือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สิงค์โปร์ โดยการลงทุนจากสหรัฐอเมริกามีการปรับลดลงไปมาก ในส่วนของการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การขอรับการส่งเสริมการลงทุนยังมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทของอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 มากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ พลาสติก อุตสาหกรรมเบา ผลิตภัณฑ์เหล็ก และเครื่องจักรและอุปกรณ์ แต่มีข้อน่าสังเกตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าทุกๆ อุตสาหกรรม ยกเว้นอุตสาหกรรมเบามีการลงทุนที่ปรับตัวลดลง สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 มีการคาดการณ์ว่าจะลดลง เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ ส่วนการลงทุนในปี 2545 ทาง BOI คาดว่าจะมีภาวะการณ์ที่ใกล้เคียงกับปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ส่วนเศรษฐกิจไทยหลายฝ่ายได้ปรับลดการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ลง หลังจากได้มีการปรับลดมาแล้วหลายครั้ง ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ได้ประมาณการว่าในปี 2544 และ 2545 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.5 และ 1.6 ตามลำดับ แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2544 จะมีอัตราที่ต่ำกว่านี้ ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานในช่วงกลางดือนกันยายนว่าในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวเท่ากับไตรมาสแรก คือร้อยละ 1.5 และคาดว่าในปี 2544 การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของไทยจะอยู่ในระดับร้อยละ 2
ในภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังมีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ดัชนีมีค่าสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีมีการปรับตัวลดลงและยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่ม ส่วนหมวดที่มีการผลิตลดลง คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดสิ่งทอ ในส่วนของดัชนีการผลิตและดัชนีการขนส่งสินค้าของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งคำนวณจากผลการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ดัชนีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการเก็บถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ สำหรับดัชนีการขนส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีการขนส่งสินค้าลดลง โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ
โดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2544 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการขยายตัวมีการชะลอลงไปในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ
สำหรับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีแนวโน้มทรงตัว จากการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้โดยเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 52.2 (55.3 หากไม่รวมสุรา) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (55.1 โดยเฉลี่ย และ 58.8 หากไม่รวมสุรา) โดยหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการใช้กำลังการผลิตลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น
ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยดัชนีการบริโภคที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย แต่มีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้น โดยมีการเพิ่มขึ้นของการใช้กำลังไฟฟ้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์นั่งและมอเตอร์ไซค์ ส่วนการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ และเมื่อพิจารณาปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์พบว่า ยอดการจำหน่ายปรับตัวลดลง ส่วนปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีการสำรวจโดยสำนักต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า ความมั่นใจของผู้บริโภคในภาวะด้านเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสการหางานทำและรายได้ลดน้อยลง และผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น
ทางด้านราคาสินค้า ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทรงตัว ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 และลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลง การชะลอตัวของอุปสงค์ อีกทั้งประชาชนในประเทศไม่มีความตื่นตระหนกในการกักตุนสินค้า
ภาวะแรงงานในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เนื่องจากในไตรมาสนี้เป็นฤดูการเกษตร แต่การสำรวจภาวะการจ้างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าอัตราการว่างงานลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนข้อมูลจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแสดงว่าจำนวนผู้ประกันตนมีจำนวนเพิ่มขึ้น และจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างลดลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่คาดว่าปัญหาการว่างงานของผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในช่วง ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่ามีอัตราการส่งออกที่เพิ่มร้อยละ 2.13 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 10.58 ในส่วนดุลการค้าพบว่าในไตรมาสที่ 3 ยังคงมีมูลค่าเกินดุล 914.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่าการเกินดุลการค้ามีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 20 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการเกินดุลการค้าลดลงถึงร้อยละ 55.21 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ 10 อันดับแรกที่มีการขยายตัวของการส่งออกในไตรมาส 3 ของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว มีกุ้งสดแช่แข็งและแช่เย็น ยานพาหนะและอุปกรณ์ และอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ใน 10 รายการแรกมูลค่าการส่งออกต่างลดลงทั้งสิ้น โดยสินค้าในกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า มีมูลค่าลดลงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เม็ดพลาสติก และอุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนตลาดการส่งออกหลักของไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกลดลงในทุกๆ ตลาด โดยสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่มีอัตราการส่งออกลดลงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มอาเซียน และประเทศญี่ปุ่น จากสถานการณ์การค้าใน 9 เดือนแรก ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่สหรัฐฯ ถูกวินาศกรรม ทำให้หลายฝ่ายเริ่มปรับตัวเลขคาดการณ์การส่งออกปี 2544 อีกครั้ง ส่วนใหญ่คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 2544 ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 64,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงประมาณร้อยละ 8.1 โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 13 ส่วนซิตี้แบงก์ คาดการณ์ว่าการส่งออกในปีนี้จะลดลงร้อยละ 6-7 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะลดลง ร้อยละ 7-8
การลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2544 มีการลงทุนสุทธิที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และเดือนสิงหาคมมีการลงทุนสุทธิลดลงไปมาก อย่างไรก็ตามจากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82 โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม มีการลงทุนสุทธิจากต่างประเทศในปริมาณมาก สำหรับในไตรมาสที่ 3 การลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมยังคงมีสัดส่วนในมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด โดยอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมอยู่ในหมวดเครื่องจักรกลและเคมีภัณฑ์ รองลงมาได้แก่ สาขาการค้า อสังหาริมทรัพย์ และบริการ ประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม คือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สิงค์โปร์ โดยการลงทุนจากสหรัฐอเมริกามีการปรับลดลงไปมาก ในส่วนของการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน การขอรับการส่งเสริมการลงทุนยังมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทของอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 มากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี กระดาษ พลาสติก อุตสาหกรรมเบา ผลิตภัณฑ์เหล็ก และเครื่องจักรและอุปกรณ์ แต่มีข้อน่าสังเกตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าทุกๆ อุตสาหกรรม ยกเว้นอุตสาหกรรมเบามีการลงทุนที่ปรับตัวลดลง สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 มีการคาดการณ์ว่าจะลดลง เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ ส่วนการลงทุนในปี 2545 ทาง BOI คาดว่าจะมีภาวะการณ์ที่ใกล้เคียงกับปีนี้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--